HYPOGLYCEMIA ปัญหาเรื่องระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การป้องกัน

HYPOGLYCEMIA หรือ น้ำตาลในเลือดต่ำ

HYPO แปลว่าต่ำ GLYCEMIA หมายถึงน้ำตาล คำแปลตรงๆ ก็คือ น้ำตาลในเลือดต่ำ

มันเป็นโรคซึ่งหาสาเหตุไม่ได้ และมันไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เมื่อคุณป่วยด้วยโรคนี้ มันจะเป็นสาเหตุ ที่
ทำให้คุณป่วยเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ ต่อไปได้
เป็นโรคซึ่งเกิดขึ้นใหม่ เกิดขึ้นในยุคของคนสมัยใหม่ ในอเมริกาและยุโรป และขณะนี้ก็เกิดขึ้นกับคนไทย
ยุคใหม่ของเราแทบทุกคน

อาการของมันก็คือ อาการเพลียโดยหาสาเหตุไม่ได้ ผสมกับการนอนไม่หลับ ปวดเนื้อปวดตัว และระบบ
ขับถ่ายผิดเพี้ยนไปหมดนี่เป็นอาการรวมอย่างกว้างๆ นะครับ

ขอพูดถึงอาการเพลียโดยหาสาเหตุไม่ได้เสียก่อน การเพลียโดยปรกตินั้นเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน คุณตื่นเช้า
ขึ้นมีเรี่ยวมีแรง พอตอนสายคุณต้องไปทำงานหนัก เป็นต้นว่าต้องเดินขึ้นเขา แบกของหนักเหงื่อไคลไหลย้อย
พอแบกของไปถึงที่ คุณก็หมดแรง นั่งพักนอนพักทั้งคืน รุ่งขึ้นจึงจะมีเรี่ยวแรงทำงานต่อไปได้

นี่คือการเหนื่อยการเพลียตามปรกติ คือ ข้อที่หนึ่ง คุณตื่นขึ้นมามีเรี่ยวมีแรง ข้อที่สอง คุณออกแรงทำงาน
หนักเหงื่อไหลไคลย้อย ข้อที่สาม คุณเหนื่อยแล้วคุณก็พัก ข้อที่สี่ เมื่อคุณได้นั่งพัก หรือนอนพักแล้วรุ่งขึ้น
คุณก็มีแรงตามปรกติ

แต่การเหนื่อยเพลีย แบบ HYPOGLYCEMIA ไม่เป็นอย่างนั้นคุณนอนตื่นขึ้นมา คุณก็เพลียเสียก่อนแล้ว
คุณรู้สึกว่าคุณนอนไม่หลับสนิท ตอนเช้าตื่นขึ้นมารู้สึกเหมือนโงหัวไม่ขึ้น อยากลุกขึ้นมา แต่ก็ลุกไม่ไหว
อยากนอนต่อ

พอลุกขึ้นมาได้ แล้วล้างหน้าล้างตาอาบน้ำแล้ว ก็ยังรู้สึกเพลียอีกนั่นแหละ รู้สึกจิตใจมัวซัวไปทำงาน หรือ
จะทำอะไรก็ไม่มีชีวิตชีวา มิหนำซ้ำยังปวดเมื่อยไปหมดทั้งตัว และอาการเพลียไม่มีแรงของคุณ จะเป็นซ้ำๆ
ซากๆ อย่างนี้ทุกๆ วัน

นี่คือการเหนื่อยเพลียแบบ HYPOGLYCEMIA ซึ่งเป็นการเหนื่อยเพลียโดยหาสาเหตุไม่ได้ และก็จะ
หาสาเหตุไม่ได้แน่นอน ถ้าเผื่อผู้ที่ป่วยจะไปหาหมอตามโรงพยาบาล หรือคลินิก เมื่อใช้เครื่อง มือตรวจ
ทุกอย่าง ตรวจเลือด เอกซเรย์ หรือทำสะแกนจนครบถ้วน ผลลัพธ์ก็จะออกมาเป็นปรกติ เครื่องมือต่างๆ
ก็จะไม่พบอะไรที่มันผิดปรกติ และแพทย์หลายคนก็อาจจะลงความเห็นว่า ผู้ป่วยนั้นเป็นโรคอุปาทาน
หรือโรคประสาทไปเลย

เมื่อประมาณ 40 ปีก่อนโน้น นายแพทย์ผู้หนึ่งของอเมริกา คือ สตีเฟน ไกแลนด์ ได้พบว่า เขาป่วยเป็นโรค
อ่อนเพลียโดยหาสาเหตุไม่ได้ นอกจากนั้น เขานอนไม่หลับ และปวดเนื้อปวดตัวอยู่ตลอดเวลา อาการป่วยของเขานั้น ทำให้เขารู้สึกเบื่อไปหมดทุกอย่าง เบื่อจนกระทั่งคิดอยากจะฆ่าตัวตาย

เขาไปหาแพทย์หลายคน เป็นเพื่อนกันก็มี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางสมอง และเชี่ยวชาญโรคอื่นๆ หลายโรค
แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าเขาเป็นอะไร บางคนบอกว่าอาจจะเป็นเนื้องอกในสมอง แนะนำให้ผ่าตัดสมอง
บางคนบอกว่า เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมบางอย่างไม่ทำงาน แต่หลายๆ คนบอกว่าเขาเป็นโรคอุปาทาน และเป็น
โรคประสาท และไม่มีใครรักษาเขาได้เลย

เขาตกลงใจว่า เขาจะต้องรักษาตัวเองให้ได้ ขั้นแรกที่สุด เขาพยายามไปค้นคว้ารายงานแพทย์ต่างๆ ที่
รายงานถึงเรื่องโรคต่างๆ ซึ่งยังไม่มีใครค้นพบ เขาค้นรายงานใหม่ๆ ไม่พบว่ามีรายงานอันไหน ที่ตรง
กับอาการของเขาเลย

เขาจึงค้นย้อนต้นกลับไปอีกประมาณ 30 ปี ก็ได้พบรายงานของนายแพทย์รุ่นอาจารย์คนหนึ่ง คือ
นายแพทย์ซีล ฮาริส ได้พูดถึงอาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ HYPOGLYCEMIA จากการค้นคว้า
และรวบรวมอาการ จากคนไข้หลายๆ คน นายแพทย์ฮาริสได้สรุปว่า เป็นอาการของน้ำตาลในเลือดต่ำ

และอาการที่นายแพทย์ฮาริสรายงานไว้ทุกอาการนั้น ตรงกับอาการของนายแพทย์ไกแลนด์ทุกอย่าง
เขาสรุปได้ทันทีว่า ที่เขาป่วยอยู่ขณะนั้นก็คือ HYPOGLYCEMIA

และเขาก็เริ่มรักษาตัวเอง ด้วยการตรวจดูอาหารซึ่งเขาได้กิน ตามแฟชั่นสมัยนิยมขณะนั้น คืออาหารที่
หวาน ด้วยน้ำตาลขาวมากเกินไป และมีแต่แป้งขาวมากเกินไป (เช่น ขนมปังทำด้วยแป้งขาว และอาหาร
แทบทุกอย่าง ที่ทำจากแป้งขาวและน้ำตาลขาว)

เขาแก้ในเรื่องอาหารก่อน คือเลิกพวกแป้งขาวและน้ำตาลขาว แล้วหันมากินอาหารทุกอย่าง ที่เป็นอาหาร
ไม่ได้ขัดสีออก และกินอาหารประเภทผัก ผักสด และหลังจากนั้นก็แก้ในเรื่องชีวิตประจำวัน และในเรื่อง
ความเครียด

เขาได้ปรับปรุงเรื่องชีวิตประจำวัน ให้พ้นจากวิถีของชีวิตคนสมัยใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดมากมาย และใน
ไม่ช้าเขาก็หายขาดจากโรค ซึ่งป่วยมากว่าสิบปี

ต่อจากนั้นนายแพทย์ไกแลนด์ ได้ทำรายงานเสนอในวารสารการแพทย์หลายแห่ง ปรากฏว่ามีผู้ป่วยเช่น
เดียวกันมากมาย รวมทั้งผู้ที่เป็นแพทย์ด้วย

นายแพทย์ไกแลนด์ และกลุ่มแพทย์อีกหลายคนได้ศึกษา HYPOGLYCEMIA อย่างจริงจัง ได้ทำ
รายงานและได้ร่างสูตรของ HYPOGLYCEMIA ไว้อย่างถูกต้อง ตามหลักการแพทย์ทุกประการ
จนเป็นที่ยอมรับของวงการแพทย์อเมริกัน และได้มีการศึกษาเรื่องผู้ป่วยด้วยโรคนี้

ปรากฏว่าในสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้วมามีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ถึง 20 ล้านคน และแพทย์กลุ่มนี้
ได้ระบุอาการละเอียดต่างๆ ของโรคนี้ มีอยู่ด้วยกัน 40 อาการ (ท่านผู้อ่าน กรุณาเก็บอาการที่จะพูดถึง
นี้ไว้ด้วย เพราะเราจะพูดถึงกันโดยละเอียดในตอนต่อไป)

อาการโดยละเอียดคือ

1. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 2. รู้สึกเบื่อหน่าย -ซึมเศร้า 3. นอนไม่หลับ
4. มีอาการทางประสาท 5. เวียนหัว-ปวดหัว 6. เหงื่อแตกบ่อยๆ
7. มือสั่น 8. หัวใจเต้นผิดปรกติ 9. ปวดกล้ามเนื้อปวดหลัง
10. เบื่ออาหาร 11. จิตใจฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ 12. เนื้อตัวชาเป็นบางครั้ง
13. ท้องอืด ท้องขึ้น 14. มือเย็น เท้าเย็น 15. รู้สึกสับสนปั่นป่วน
16. เป็นตะคริวบ่อย 17. เบื่อการพบปะผู้คน 18. อ้วน น้ำหนักเกิน
19. การทรงตัวไม่ดี 20. อยากฆ่าตัวตาย 21. เกิดการชักกระตุก
22. เป็นลมบ่อยๆ 23. ความจำเสื่อม 24. วิตกกังวลง่าย
25. หิวอย่างรุนแรง ก่อนถึงเวลา 26. ลังเลตัดสินใจไม่ได้ 27. อยากกินของหวานๆ
28. กามตายด้าน 29. มีอาการภูมิแพ้ 30. การประสานงาน ส่วนต่างๆ ของร่างกายเลวลง
31. คันตามผิวหนัง 32. หายใจไม่ออกบ่อยๆ 33. ฝันร้ายบ่อยๆ
34. ปากแห้ง-คอแห้ง 35. ลมหายใจ และปากมีกลิ่นแปลกๆ 36. โมโหร้าย
37. ถ่ายอุจจาระผิดปรกติ 38. ถ่ายปัสสาวะผิดปรกติ 39. หน้าร้อนผ่าวบ่อยๆ
40. ทนเสียงอึกทึก-แสงจ้าๆ ไม่ได้.

นายแพทย์เจคอบ ไตเทิ้ลบอม จากแอนนาโปลีส มารี่แลนด์ เป็นแพทย์อีกคนหนึ่งที่ป่วยด้วยอาการ
HYPOGLYCEMIA หรือนํ้าตาลในเลือดตํ่า เขาโชคดีกว่านายแพทย์ไกแลนด์ เพราะขณะที่เขาป่วย
นั้นโรคนี้เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว แต่กระนั้นก็ตามที แม้จะรู้วิธีรักษา แต่ก็ต้องใช้เวลานานถึงหนึ่งปีกว่าจะ
รักษาโรคของเขาให้หายได้

นั่นก็เพราะเขาเกิดในสมัยหลัง นายแพทย์ไกแลนด์ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนรุ่นหลังอย่างไตเทิ้ลบอม
กลายเป็นชีวิตของคนสมัยใหม่เต็มตัว วัตถุนิยมกลายเป็นเป้าหมายในการดำรงชีวิตการแก่งแย่งชิงดี
ความรีบร้อน และยุ่งเหยิงในชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตเต็มไปด้วยความเครียดและบีบคั้นโรคนํ้าตาล
ในเลือดตํ่า จากการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ และปวดเนื้อปวดตัว ได้กลายเป็นโรคที่สลับซับซ้อนและมีอาการ
แปลกๆ มากมายถึง 40 อาการ ดังที่ได้ระบุไว้แล้วตามหัวข้อข้างต้น

แต่ความแตกต่างระหว่างอาการของโรคอื่นๆ และจาก HYPOGLYCEMIA นี้มีต่างกันอยู่อย่างหนึ่ง
คืออาการจากโรคอื่นๆ นั้นเรารู้สาเหตุ แต่อาการอย่างเดียวกันซึ่งเกิดจาก HYPOGLYCEMIAนั้น
เราจะหาสาเหตุไม่ได้

อย่างเช่น อาการหัวใจเต้นผิดปรกติของบางคนนั้น เมื่อตรวจดูอย่างละเอียดแล้วเราจะรู้ว่าสาเหตุมาจาก
โรคหัวใจ แต่หัวใจเต้นผิดปรกติของ HYPOGLYCEMIA ตรวจดูเท่าไหร่ ละเอียดเท่าไหร่ก็จะหา
สาเหตุไม่ได้
โดยเหตุนี้แหละ เมื่อไปหาแพทย์หลายคน ซึ่งมักจะได้รับคำตอบว่า “ตรวจร่างกายละเอียดแล้วคุณสมบูรณ์
ทุกอย่างคุณคงจะเป็นโรคอุปาทานมากกว่า” นายแพทย์ไตเทิ้ลบอม คงจะเข้าใจความรู้สึกของคนไข้เป็น
อย่างดี เขาจึงเตือนเพื่อนนายแพทย์ด้วยกันว่าอย่าด่วนตัดสินใจว่าคนไข้เป็นโรคอุปาทาน จนกว่าคุณจะได้
ทดสอบคนไข้ด้วย G.T.T.หรือ GLUCOSE TOLERANCE TEST เพราะการตรวจเช่นนี้ ถ้าพบว่า
นํ้าตาลในเลือดขึ้นๆลงๆ อยู่ตลอดเวลา เมื่อทำเป็นกราฟก็จะเห็นว่า เส้นกราฟของนํ้าตาลในเลือดขึ้นลง
เป็นรูปภูเขาแล้วคนไข้ก็เป็นโรค HYPOGLYCEMIA แน่

แสดงว่าจะรู้แน่นอนว่าเป็น HYPOGLYCEMIA แน่นอนก็ต้องเจาะเลือดดูติดต่อกันเกือบทั้งวันจึงจะ
รู้แน่ว่าเป็น HYPOGLYCEMIA หรือจะเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า CHRONIC
FATIGUESYNDROME หรือ CFS ก็ได้

การเหนื่อย เพลียแบบ HYPOGLYCEMIA นี้ ไม่มีสาเหตุ คุณไม่ได้ไปออกแรงไม่ได้วิ่ง ไม่ได้ทำงานหนัก
แต่คุณก็เหนื่อยเปลี้ยเพลียแรงอยู่ตลอดเวลา ตื่นเช้าขึ้นมาทั้งๆ ที่ได้นอนมาแล้ว 7-8 ชั่วโมง แต่คุณก็ไม่มีแรง
ลุกไม่ได้ คุณกินอาหารบำรุงก็แล้วฉีดยาบำรุงกี่เข็มต่อกี่เข็มก็แล้ว แต่คุณก็ยังไม่มีแรงอยู่นั่นเอง

นี่คือความแตกต่างของการเหนื่อย การเพลียอย่างมีสาเหตุ และอย่างไม่มีสาเหตุซึ่งเป็นเพราะ
HYPOGLYCEMIA

มาถึงการนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นอาการสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ HYPOGLYCEMIA ซึ่งถ้าพยายาม
หาสาเหตุเพียงไร ก็จะหาไม่พบและทำให้งงงันอยู่ตลอดเวลา
ปรกติถ้าคนที่ไม่เป็นอะไร ทำงานหนักๆ หรือออกแรงมากๆ เขาก็จะง่วงนอน เมื่อนอนก็หลับทันทีและ
เมื่อตื่นขึ้นมาก็จะมีแรง

แต่การนอนไม่หลับของ HYPOGLYCEMIA นั้น แรกๆ
เจ้าตัวอาจจะนึกว่าตัวนอนหลับสนิทแต่ในไม่ช้าเขาจะรู้ตัวว่า เขาตื่นขึ้นคืนหนึ่งๆ หลายครั้ง และบางครั้ง
เขาจะต้องเข้าห้องนํ้าถ่ายปัสสาวะคืนหนึ่งหลายๆ ครั้ง เมื่อเขานอนต่อไปจนถึงรุ่งเช้า ถึงเวลาไปทำงาน
เขาจะลุกไม่ไหวยิ่งแข็งใจตื่นมากเท่าไหร่ เขาก็จะงัวเงีย และหมดแรงมากเท่านั้น

ไปหาหมอเพื่อหาสาเหตุว่า เขานอนไม่หลับเพราะอะไร ก็จะหาสาเหตุไม่เจอ และเมื่อแพทย์พยายามช่วย
เขาด้วยการจ่ายยานอนหลับให้ เขาก็จะพบว่าอาการของเขากลับเลวร้ายไปใหญ่ เขาจะนอนหลับเหมือน
คนเมาคือ สมองของเขาจะมึนซึมเหมือนคนเมาเหล้า และถึงแม้จะหลับไปได้ แต่จะตื่นไม่ได้และอาการ
ของเขาก็จะเป็นมากขึ้น จนกลายเป็นโรคประสาทเรื้อรังไปเลย

อาการต่างๆ เหล่านี้ ผสมกันหลายอย่างก็จะต่อๆ ไปให้เกิดอาการแปลกๆ มากขึ้นอาการตอนแรกๆ ก็คือ
อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดตัว ปวดศีรษะ ระบบขับถ่ายทั้งหนักทั้งเบารวนเรไปหมด

และอาการต่างๆ ก็จะมากขึ้นจนถึง 40 อาการดังกล่าวมาแล้ว ที่สำคัญก็คือ ไม่ใช่อาการทางกายแต่อย่าง
เดียวแต่จะมีอาการทางจิตด้วย เขาจะรู้สึกเบื่อหน่าย ซึมเศร้า อาจจะถึงคิดฆ่าตัวตายก็มี

และนี่แหละ คือโรคที่นายแพทย์ฮาร์เวย์ รอสส์ เพื่อนคนหนึ่งของนายแพทย์ไกแลนด์กล่าวไว้ว่า “โรคนี้ไม่
ทำให้คุณตายหรอก แต่มันจะทำให้คุณอยากตาย”.

การรักษา
อาการ 40 อาการนั้น ค่อนข้างจะหนักหนาสาหัส เพราะดูๆ ไปแล้ว ไม่ว่าจะป่วยเป็นอะไรก็ตาม ดูเหมือน
อาการจะมาตรงกับ HYPOGLYCEMIA หรือ CFS. ไปเสียหมดสิ้น แล้วทำไมไม่บอกเสียสักทีว่า
รักษาอย่างไร

ผมบอกแล้วว่า ต้นเหตุเกิดจากการกินอาหารผิดๆ ก็ต้องแก้เรื่องอาหารเสียก่อน เรื่องการกินผิดๆ นั้น
ให้คำจำกัดความง่ายๆ ว่า เรากินตามใจปากมากเกินไป กินอาหารด้วยการติดความอร่อยมากเกินไป
กินอาหารเนื้อสัตว์มากเกินไป กินอาหารประเภทแป้งขาวมากเกินไป กินหวานเกินไป กินมันเกินไป
กินอาหารรสจัดมากเกินไป เหล่านี้เป็นต้น

วิธีแก้ง่ายๆ จึงได้แนะให้กินอาหารตามสูตรชีวจิต ซึ่งเป็นสูตรกลางๆ อย่างที่สุด และเมื่อลองกินอาหาร
ตามสูตรแล้ว ก็ต้องแก้อาการอื่นๆ ซึ่งยังหลงเหลืออยู่ต่อไป เรียกว่าต้องแก้ทั้งอาการภายนอก และอาการ
ภายในร่วมกันนั่นเอง

และก็อย่าลืมเรื่องชีวิตประจำวัน คือการปรับชีวิตประจำวันให้สมดุล พร้อมกันไปด้วย กิน นอน ทำงาน
พักผ่อน ออกกำลังกาย ต้องมีกิจกรรมให้ครบถ้วน จัดให้พอดีกับวิถีชีวิต จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้

และเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องของการคิดหรือวิธีคิด รู้จักคิดในทางบวก คิดในทางที่จะทำตัวเอง
ให้สบายใจ มีความรัก ความเมตตาให้แก่ตัวเอง แก่คนอื่น และเพื่อนร่วมโลก

ฟังดูแล้วเหมือนกับเอาเทศน์ หรือเทปของวัดวาอารามต่างๆ มาเปิดให้ฟัง แต่จริงๆ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่บ้าง
ชีวิตคนเราถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ หรือการแพทย์โดยตรง ก็ต้องมีเรื่องคุณธรรม หรือศีลธรรมเป็น
พื้นฐาน ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่บ้าน จะไปคลินิก ไปโรงพยาบาล ไปหาหมอวิเศษที่ไหน ถ้าแห่งนั้นหรือหมอคนนั้น
ขาดคุณธรรมหรือศีลธรรม โรคของคุณและอาการป่วยของคุณ ไม่มีวันหายหรอกครับ

เอาละครับ ก่อนที่จะลืมพูดส่วนสำคัญของอาหาร อีกส่วนหนึ่งคือ เรื่องแร่ธาตุ ผมขอพูดถึงความสำคัญ
ของแร่ธาตุ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวกับ HYPOGLYCEMIA โดยตรง และก็มีความสำคัญต่อการรักษา
HYPOGLYCEMIA หรือ Chronic Fatigue Syndrome (CFS). เป็นพิเศษด้วย

แร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมีอยู่ 18 อย่าง คือ แคลเซียม คลอรีน โครเมียม โคบอลท์ ทองแดง ฟลูออรีน
ไอโอดีน แมกนีเซียม แมงกานีส โมลิบดีนัม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ซีเลเนียม โซเดียม กำมะถัน วานาเดียม
และสังกะสี

ในจำนวน 18 ตัวนี้ มีอยู่ 4 ตัว ซึ่งมีความสำคัญกับ Chronic Fatigue Syndrome (CFS). เป็นพิเศษ
คือ โซเดียม แคลเซียม โปแตสเซียม และแมกนีเซียม สี่ตัวนี้เราเรียกว่า กลุ่มเกลือคาร์บอนิค (CARBONIC
SALTS)

ขอย้อนกลับพูดถึงความสำคัญของ อาหารที่มีต่อชีวิตของเราว่า อาหารสร้างชีวิตของเรา และทำให้เรา
มีชีวิตเจริญเติบโตต่อไปได้ก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน อาหารก็สามารถเป็นเพชฌฆาตทำให้เราตายได้

โทษของอาหารก็คือ ถ้าเรากินอาหารผิดๆ อาหารนั้นก็จะกลายเป็นท็อกซิน (TOXIN) ทำลายสุขภาพและ
ชีวิตของเราได้

ท็อกซินเป็นพิษก็จริง แต่ไม่ใช่ยาพิษ มันเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งแล้วแต่การผสมหรือการบูด
(FERMENTATION) จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงไร และตกค้างอยู่ในร่างกายมากน้อยเพียงไรด้วย

ขอพูดถึงกระบวนการของการกิน ซึ่งก่อนที่เราจะกินมัน ก็เป็นอาหารปรกติธรรมดา เช่น หมู เห็ด เป็ด ไก่
ก่อนจะส่งเข้าปากเรา มันก็จะเป็นหมู เห็ด เป็ด ไก่ อยู่

แต่พอเข้าปากเราแล้ว มันก็จะเปลี่ยนแปลงทันที มันจะถูกเคี้ยวให้ละเอียดก่อน อาหารบางอย่างเมื่อถูกเคี้ยว
คลุกเคล้ากับน้ำลาย เช่น ข้าวจะเปลี่ยนเป็นแป้ง และน้ำตาลกลูโคส และอาหารอย่างอื่นเมื่อผ่านลงกระเพาะ
จะถูกย่อย และผ่านจากกระเพาะสู่ลำไส้เล็ก ก็จะถูกย่อยละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะโปรตีนและไขมัน

ต่อจากนั้น มันจึงจะถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิต และโลหิตก็จะไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย
ส่วนที่เหลือเป็นกากอาหาร ก็จะกลายเป็นอุจจาระ ขับถ่ายออกจากร่างกาย เป็นอันจบกระบวนการ
กระบวนการนี้เรียกว่า METABOLISM

ในระหว่างกลางของกระบวนการ METABOLISM นี้เอง ที่จะเกิดการสร้างท็อกซินหรือพิษขึ้นมา โดย
เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาหาร ซึ่งเราแยกออกเป็น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เมื่อย่อยครบถ้วน
กระบวนความแล้ว กลุ่มโปรตีนและไขมัน จะกลายเป็นกรดซิลเฟอริค และกรดฟอสฟอรัส กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
จะกลายเป็นกรดอาซติค และกรดแลคติค

กรดซัลเฟอริค และกรดฟอสฟอริค เป็นกรดร้ายแรง ขนาดกัดเหล็กให้กร่อนได้ ส่วนกรดอาซติค หรือ
กรดน้ำส้ม และกรดแลคติค ก็มีความร้ายแรงเกือบจะพอๆ กัน

ความรุนแรงเช่นนี้ ถ้ายังคงอยู่ในร่างกายเรา อวัยวะสำคัญๆ ก็จะพังพินาศไม่มีชิ้นดี และเราก็คงตายไป
เสียนานแล้ว

เหตุการณ์เช่นนี้ ว่าที่จริงก็เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ธรรมชาติก็คงไม่ต้องการให้เราตายง่ายๆ
เช่นนั้น จึงได้เตรียมแก้ความเป็นพิษไว้ให้เรา การแก้พิษนี้ ก็คือกลุ่มเกลือคาร์บอนิคนี้เอง

กลุ่มเกลือคาร์บอนิค จะเปลี่ยนกรดที่ร้ายแรงต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ให้กลายเป็นกลางได้ และสารอาหารต่างๆ
ซึ่งจะกลายเป็นพิษร้ายแรงนั้น ก็กลับกลายเป็นสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์ไปเลี้ยงร่างกายได้
นั่นคือการทำลายท็อกซินขั้นแรก

แต่การทำลายท็อกซิน ด้วยวิธีธรรมชาติของร่างกายนั้น ไม่สามารถจะทำร้ายท็อกซิน ได้หมดร้อยเปอร์เซ็นต์
ถ้ากลุ่มเกลือคาร์บอนิคซอลท์ของเรา ไม่เพียงพอ และจะยิ่งร้ายแรงมากยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าเรากินผิดๆ เช่น แป้ง
ขาวมากเกินไป เนื้อสัตว์มากเกินไป หวานมากเกินไป มันมากเกินไป เหล่านี้เป็นต้น

ด้วยเหตุการแก้อาการ Chronic Fatigue Syndrome (CFS). ประการหนึ่งในหลายประการก็คือ
เติมกลุ่มเกลือคาร์บอนิคเข้าไปให้มากขึ้น
การเติมนี้ ผมเคยอธิบายให้ฟังไว้หลายครั้งแล้วว่า กลุ่มวิตามินและแร่ธาตุนั้น ก็คืออาหารและมีอยู่ใน
อาหารแล้ว แต่ในกรณีที่เราป่วย การจะกินอาหารที่มีแร่ธาตุอย่างนี้ แต่เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ทันกาล
จึงควรกินชนิดอย่าง ที่สกัดออกมาอย่างเข้มข้น ทำเป็นเม็ดหรือแคปซูล จะช่วยทำให้อาการป่วยหายเร็วขึ้น

กลุ่มเกือบคาร์บอนิค ที่มีในอาหารนั้น มีดังนี้
โซเดียม มีอยู่ใน เกลือ หอย แครอท หัวบีท อาร์ติโช้ค เนื้อสัตว์
ประโยชน์ ของโซเดียม ช่วยขับถ่ายทางผิวหนัง (เหงื่อ) ช่วยให้การทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ

แคลเซียม อาหารจากนม และผลิตผลจากนม ปลา และกระดูกปลา ถั่วต่างๆ วอลนัท เมล็ดทานตะวัน
ถั่วเหลือง ถั่วแดง ผักใบเขียว
ประโยชน์ สร้างกระดูก ฟัน เล็บ ช่วยการเต้นของหัวใจ ทำให้นอนหลับ ช่วยให้ธาตุเหล็กทำงานดีขึ้น
(สร้างเลือด) ช่วยระบบประสาท

โปแตสเซียม มีในพวกส้ม และผลไม้เปรี้ยว แคนตาลูป มะเขือเทศ แห้ว ผักใบเขียว เมล็ดทานตะวัน กล้วย
มัน (หัว)
ประโยชน์ ช่วยให้สมองทำงานดีขึ้น ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยแก้ภูมิแพ้ ช่วย
รักษาระดับน้ำตาลในเลือด

แมกนีเซียม มีในมะนาว ส้มโอ ข้าวโพด อัลมอนด์ ถั่วต่างๆ ผักเขียวแก่ แอปเปิ้ล
ประโยชน์ ช่วยแก้รู้สึกซึมเศร้า ช่วยระบบเลือดหัวใจ ช่วยฟันแข็งแรง ช่วยละลายแคลเซียมสะสม ช่วย
ในการย่อย

ถ้าหากมีอาการ Chronic Fatigue Syndrome (CFS). เมื่อใด ก็แสดงว่า กลุ่มเกลือคาร์บอนิค
ในอาหารของเรา มีไม่พอเพียง จะเพิ่มอาหารอีกก็จะแก้ไม่ทัน จึงแนะนำให้ใช้อย่างสกัดเป็นเม็ด หรือ
เป็น อาหารเสริมดังนี้ แคลเซียม 500 มก. โปแตสเซียม 100 มก. แมกนีเซียม 300 มก. (กินทุกวัน ประมาณ 2-3 อาทิตย์) โซเดียมไม่ต้องเติม เพราะคนไทยกินเค็มมากอยู่แล้ว.

ที่มา http://www.krabong.com/sara/m3-016.html

Share

2 thoughts on “HYPOGLYCEMIA ปัญหาเรื่องระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การป้องกัน

  1. ผกามาศ

    ดีฉันต้องการคำแนะนำและปรึกษาค่ะ
    เนื่องจากคุณพ่ออายุ 82 ปีแล้วอยู่ดีดี ก็เป็นลมหมดสติไปตรวจน้ำตาลในเลือดได้ 40 อยู่รพ.5 วันกลับบ้านได้ 1 อาทิตย์เป็นลมอีกครั้งที่ 2 ตรวจวัดน้ำตาลเหลือ 18 ไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อนและหมอก็ตรวจแล้วก็ไม่เป็น ขณะนี้ยังอยู่รพ.น้ำตาลไม่นิ่งขึ้น ๆ ลง ๆ เร็วมากกว่าปกติ หมอบอกว่าหาสาเหตุไม่พบ ดีฉันมาอ่านเรื่องนี้น่าสนใจมาก
    แต่ก็แปลกมาก โดยปกติคุณพ่อไม่รับประทารสจัด เช่นหวานมาก เค็มมาก เผ็ดไม่รับประทานเลย ส่วนใหญ่รับประทานผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์(หมู ปลา) บ้าง ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตอนเช้า ก่อนเกิดอาการนี้ ทานบอกว่าปวดเอว ปวดมาก แล้วหลังจากนั้นก็ปวดไปที่ตระโพก และก้นกบ จนกระทั่งเดินแทบไม่ได้ ไม่มีแรง แล้วต่อมาก็เป็นลมหมดสติไป

    จากที่อ่านเรื่องนี้ ท่านน่าจะเป็นโรคHYPOGLYCEMIAหรื่อไม่ แล้วท่านควรใช้ชีวิตอย่างไรจึงสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ให้ต่ำเกินไปได้
    ขอบคุณค่ะ ขอพระเจ้าอวยพรค่ะ
    ผกามาศ

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.