เอี่ยเถ่งโพ่ว (หยางเฉิงฟู่) ……………ผู้ถ่ายทอด
ตั่งหมุ่ยเม้ง (เฉินเวยหมิง) ……………… ผู้บันทึก
เรียบเรียงโดย อ.เซียวหลิบงั้ง (webmaster http://www.thaitaiji.com)
1. ฮือเล้งเตงแก่ (ซวีหลิงติ่งจิ้ง) คือ ศรีษะตั้งตรงจิตแล่นขึ้นบนกระหม่อม อย่าใช้กำลัง ถ้าใช้กำลังคอจะเกร็งแข็ง เลือดลมจะเดินไม่สะดวก ต้องใช้จิตที่เบาและคล่อง ถ้าไม่มีฮือเล้งเตงแก่ ย่อมไม่สามารถยกจิตให้มีสติได้
2. ห่ำเฮงปวกป่วย (หันเซียงป๋าเป้ย) ห่ำเฮง คือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าอก ทำให้ขี่ (ชี่) จมลงสู่ตังชั้ง (ตันเถียน) ห้ามการเบ่งอก เบ่งอกทำให้ขี่กักอยู่บริเวณหน้าอกมีผลให้ร่างกายส่วนบนหนักส่วนล่างเบา เมื่อยกเท้าขึ้นเตะร่างกายก็เบาลอย ปวกป่วย คือ การที่ขี่แล่นแนบติดกระดูกสันหลัง ถ้าสามารถทำห่ำเฮงได้ก็จะทำปวกป่วยได้โดยอัตโนมัติ สามารถปวกป่วยได้ก็จะสามารถส่งพลังออกจากหลังได้ทำให้ไร้คู่ต่อสู้
3. ซงเอีย (ซงเอียว) คือการผ่อนคลายเอว เอวเป็นส่วนที่ควบคุมร่างกายเป็นอันดับแรก สามารถผ่อนคลายเอวภายหลังสองขาจึงจะมีกำลัง รากฐานมั่นคง ฮือซิก (ว่างและเต็ม) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอาศัยเอวเป็นตัวจักรสำคัญ ดั่งคำว่า “จิตสั่งงานเริ่มต้นที่เอว” มีส่วนใดของร่างกายไม่ถูกต้องให้ปรับที่เอวและขาก่อน
4. ฮุงฮือซิก (เฟินซวีสือ) คือการแบ่งเต็มและว่าง ซึ่งเป็นหลักใหญ่อันดับแรกของมวยไท่เก๊ก ตัวอย่างเช่น หากน้ำหนักของร่างกายทั้งหมดอยู่บนขาขวา เช่นนั้น ขาขวาคือเต็ม ขาซ้ายคือว่าง น้ำหนักของร่างกายทั้งหมดอยู่บนขาซ้าย เช่นนั้นแล้วขาซ้ายคือเต็ม ขาขวาคือว่าง เมื่อสามารถแบ่งเต็มและว่าง เมื่อนั้นการเคลื่อนไหวและการหมุนตัวย่อมคล่องแคล่วไม่ต้องเสียกำลังแม้แต่น ้อย ถ้าไม่สามารถแบ่งแยกได้ เมื่อนั้นการก้าวเท้าก็จะหนักและฝืด ยืนไม่มั่นคงง่ายต่อการถูกผู้อื่นทำให้เซได้
5. ติ่มโกยตุ่ยอิ้ว (เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว) ติ่มโกย คือ การลดและผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่ หากไม่สามารถผ่อนคลายได้ สองไหล่ก็จะยกขึ้น เมื่อนั้นขี่ก็จะแล่นตามขึ้นข้างบน ทั้งร่างกายจะไม่มีพลัง ตุ่ยอิ้ว คือ การผ่อนคลายข้อศอกและให้ปลายข้อศอกคล้ายกับมีน้ำหนักถ่วงลงพื้น หากศอกยกขึ้นก็จะทำให้ไม่สามารถลดหัวไหล่ลงได้ ไม่สามารถตีคนให้กระเด็นออกไปไกลได้
6. เอ่งอี่ปุกเอ่งลัก (ย่งอี้ปู๋ย่งลี่) คือ การใช้จิตมาสั่งการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ใช้กำลังมาเคลื่อนไหว ในคัมภีร์ไท่เก๊ก มีตอนหนึ่งกล่าวว่า “ ทั้งหมดนี้ คือ ใช้จิตไม่ใช้กำลัง” การฝึกมวยไท่เก๊ก ต้องผ่อนคลายทั้งร่างกาย ไม่ใช้กำลัง (ที่กระด้าง) แม้แต่น้อยนิด ซึ่งจะขัดขวางการเดินของเลือดลม ถ้าสามารถไม่ใช้กำลังได้เมื่อฝึกนานวันเข้าก็จะบรรลุถึความเบาคล่องสามารถหม ุนและเปลี่ยนแปลงได้ดั่งใจต้องการ มีคำถามว่าหากไม่ใช้กำลังไฉนพลัง(ภายใน)จะก่อเกิดได้ คำตอบคือ ในร่างกายของคนเรามีเส้นลมปราณอยู่ทั้งร่าง เฉกเช่นสายน้ำ สายน้ำไม่ถูกอุดตันน้ำย่อมไหลไปได้ ฉันนั้นเมื่อร่างกายกล้ามเนื้อแข็งเกร็งขึ้นย่อมไปบีบรัดเส้นลมปราณทำให้เลื อดลมไหวเวียนไม่คล่อง การเคลื่อนไหวย่อมไม่คล่องไปด้วย ถูกดึงแม้เพียงเส้นผมย่อมกระเทือนไปทั่วร่าง แต่หากว่าใช้จิตไม่ใช้กำลัง จิตถึงที่ใดลมปราณย่อมถึงที่นั้นด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเมื่อฝึกทุกวันลมปราณเคลื่อนไปทั่วร่างกายไม่มีหยุดไหล ฝึก นานวันเข้าย่อมบรรลุถึงกำลังภายในอันแท้จริง ดั่งคัมภีร์มวยไท่เก๊กกล่าวไว้ว่า “อ่อนหยุ่นถึงที่สุด ภายหลัง(ย่อม)แข็งแกร่งถึงที่สุด” ผู้ที่ฝึกมวยไท่เก๊กจนบรรลุฝีมือแล้ว แขนคล้ายดังปุยนุ่นที่หุ้มเหล็กไว้ภายในและมีน้ำหนักมาก ผู้ที่ฝึกฝนมวยภายนอก เมื่อใช้กำลังย่อมปรากฎกำลังออกมาแต่ยามไม่ได้ใช้กำลังจะเบาลอยอย่างมาก สามารถเห็นกำลังนั้นเป็นกำลังที่อยู่ภายนอกอย่างชัดเจนไม่ใช้จิตแต่ใช้กำลัง ง่ายต่อการถูกชักนำให้เคลื่อน
7. เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย (ซ่างเซี่ยเซียงสุย) หมายถึง ส่วนบน(ของร่างกาย) และส่วนล่างเคลื่อนตามกัน คัมภีร์มวยไท่เก๊กกล่าวว่า “รากนั้นอยู่ที่เท้า เคลื่อน(พลัง)จากขา ควบคุมด้วยเอว รูปลักษณ์ที่นิ้วมือจากเท้าไปยังขาสู่เอวทั้งหมดนี้ต้องสมบูรณ์ด้วยพลังเดีย ว(กัน) “ มือเคลื่อน , เอวเคลื่อน , ขาเคลื่อน สายตามองตามการเคลื่อนไหว เรียกว่า เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย มีส่วนใดไม่เคลื่อนย่อมสับสนไม่เป็นระเบียบ
8. ไหล่หงั่วเซียงฮะ (เน่ยไห้วเซียงเหอ) หมายถึงภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน มวยไท่เก๊กเน้นที่การฝึกจิตและสติ ดังคำกล่าว “สติคือแม่ทัพ ร่างกายคือทหาร”สามารถยกสติให้ตั้งอยู่ได้ การเคลื่อนไหวย่อมเบาคล่องเป็นธรรมชาติ ท่วงท่าไม่ทิ้ง(หลัก) เต็มว่างและแยกรวม(ไคฮะ) ไค (แยก) นั้นไม่เพียงแต่มือเท้าเปิดจิตก็ต้องเปิดด้วย ฮะ(รวม) ไม่เพียงมือเท้ารวม จิตก็ยังต้องรวมด้วย
9. เซียงเลี้ยงปุกต๋วง (เซียงเหลียนปู๋ต้วน) คือการต่อเนื่องไม่ขาดสาย วิชาของมวยภายนอก พลังนั้นเป็นพลังหลังฟ้าที่กระด้าง คือมีขึ้นมีหยุด มีขาดมีต่อ แรงเก่าหมดไปแล้วแรงใหม่ยังไม่ก่อเกิด ในขณะนั้นเป็นการง่ายอย่างมากต่อผู้อื่นที่จะเข้ากระทำ มวยไท่เก๊กใช้จิตไม่ใช้กำลัง ตั้งแต่ต้นจนจบ ต่อเนื่องไม่ขาดสายวนครบรอบก็ขึ้นต้นใหม่หมุนวนไม่รู้จบ คัมภีร์กล่าวว่า “ดุจดั่งแม่น้ำสายใหญ่ไหลไม่มีวันหมด “
10. ต๋งตังขิ่วแจ๋ (ต้งจงฉิวจิ้ง) คือความสงบในความเคลื่อนไหว วิชามวยภายนอก เวลาฝึกฝนเมื่อใช้พลังเต็มที่กระโดดโลดเต้นหลังฝึกฝนเสร็จย่อมเกิดอาการเหนื ่อยหอบ มวยไท่เก๊กสงบในความเคลื่อนไหว แม้ว่าเคลื่อนไหวแต่ว่าสงบ ดังนั้นการฝึกจึงยิ่งช้ายิ่งดี ช้าทำให้ลมหายใจยาวลึก ขี่จมสู่ตังซั้ง
สนใจกับเรื่องศิลปะป้องกันตัว แบบมวยไทเก๊กมานานแล้ว
และอยากจะศึกษา ถึงจะใช้เวลาฝึกฝนนาน แต่ก็อยากจะฝึก
เพื่อสติปัญญา ความแข็งแรง และปราศจากโรคภัย