สิ่งที่ควรสละ

ช่วงสาย ขณะที่ผมและเพื่อนๆ นั่งทำงานตามปกติ
มีโทรศัพท์สายหนึ่งโทรเข้ามา

หลังจากวางสาย.. ก็มีเสียงตะโกนบอกว่า
“พ่อของอดีตพนักงานคนหนึ่งจะผ่าตัด ต้องการเลือดภายใน 4 โมงเย็น! ที่รามา”

ไม่เกิน 10 นาที บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง
กลายเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศลทันที เพราะมีผู้ร่วมบริจาคนับสิบคน รวมถึงผมด้วย

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริจาคเลือด แต่เป็นครั้งแรกที่ตั้งใจบริจาคเพื่อช่วยเหลือใครสักคน

ผมนั่งฟังญาติผู้ป่วยเล่าว่า จ่ายค่ารักษาวันละ 8000 บาท
“โอ้ว อะไรจะแพงขนาดนั้น”

และระหว่างรอการเจาะเลือด ก็เห็นว่าใช้อุปกณ์การแพทย์ต่อการเจาะหนึ่งคนหลายชิ้นมาก
ก็ไม่รู้ว่าถ้าซื้อมาเจาะเองได้จะต้องเสียเท่าไร

แต่คิดไปคิดมาส่วนได้กับส่วนเสีย ต่างกันราวฟ้ากับดิน
ระหว่าง “เลือด” กับ “อุปกรณ์ 4-5 ชิ้น”
ระหว่าง ชีวิตคน กับ เงินไม่กี่สิบกี่ร้อยบาท

ก่อนหน้านี้หาข้อมูล เหตุต้น ผลกรรม ก็บังเอิญไปเจอพุทธสุภาษิตอยู่ท่อนหนึ่ง

จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ
องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ
สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.

แปลว่า

พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง.

ซึ่งตอนที่เจอ ก็จะนำมาเขียนถึง แต่ก็ยังไม่มีแรงจูงใจพอ
วันนี้เจอเหตุการแบบนี้ก็เลยนึกถึงและนำมาประกอบเรื่องเล่าได้อย่างพอดี

ถึงแม้จะไม่ได้สละเงิน หรืออวัยวะ แต่ทำให้คนหนึ่งมีชีวิตยืดต่อไปก็รู้สึกดี

.. ไม่เสียสละ ชัยชนะไม่เกิด
(ฮ่่าๆ เกี่ยวไหมหนอ)

Share

3 thoughts on “สิ่งที่ควรสละ

  1. คนชอบบริจาคโลหิต

    อนากสนับสนุนเรื่องการบริจาคโลหิต เพราะเป็นการทำบุญที่วิเศษอย่างหนึ่ง เนื่องจากเราสละเลือดเพื่อต่อชีวิตให้คนอื่น และที่สำคัญเราได้ถ่ายเทหมุนเวียนเลือดเราด้วย แต่ที่สำคัญกว่านั้น เพิ่งได้รับความรู้จากคุณหมอว่า ยา(ธาตุเหล็ก) ที่เขาแจกกลับมาให้ทานวันละเม็ดหลังจากบริจาคโลหิต ให้เรากินให้หมด เพื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณื เพื่อเราจะได้มีโอกาสบริจาคโลหิตครั้งต่อไปอีกด้วย

    Reply
  2. คนชอบบริจาคโลหิต

    รู้สึกภูมิใจตัวเองที่สามารถให้กำลังใจคนที่กลัวการบริจาคโลหิตหลาย ๆ คน บางคนบอกว่าเห็นเลือด
    แล้วจะเป็นลม แต่ขณะนี้กลับเป็นคนที่ชอบบริจาคโลหิต ไปบริจาคบ่อยกว่าเราเสียอีก พอครบ 3 เดือน
    เขาจะรีบไปบริจาคทันที สำหรับตัวเราบริจาคแล้วประมาณ 20 ครั้ง สุขภาพแข็งแรงดีไม่เป็นเบาหวาน
    ความดันปกติ ไขมันในเลือดปกติไม่เกินมาตรฐาน การบริจาคครั้งต่อไปคือวันที่ 5 ธันวาคม 2550
    อยากเชิญชวนทุกท่านที่น้ำหนัก 45 กก. ขึ้นไปที่สุขภาพแข็งแรง ร่วมกันบริจาคโลหิตซึ่งถือว่าเป็นการทำความดีเพื่อในหลวง หากท่านใดมีโครงการจะไปบริจาคโลหิตในวันดังกล่าว โพสต์เข้ามาบอกกันบ้าง เผื่อเราตั้งชมรมผู้บริจาคโลหิต (ทำดีเพื่อในหลวง) แล้วถ้ามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตช่วยบอกกันบ้าง

    Reply
  3. คนชอบบริจาคโลหิต

    ค้นคว้ามาเพิ่มเติมให้เรื่องความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต
    การบริจาคโลหิตเป็นการเอาโลหิตออกจากร่างกายประมาณ 300-400 ซีซี ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่จะช่วยกระตุ้นให้ไขกระดูกทำงานได้ดีขึ้น สามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน และรักษาสมดุลให้อัตราการสร้างใหม่ทดแทนเท่ากับที่เสียไป โดยเฉพาะวัตถุดิบคือธาตุเหล็ก มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้ อาหารที่ทานในแต่ละวันอาจไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอที่จะเป็นผู้บริจาคโลหิตที่มีคุณภาพได้
    ธาตุเหล็กที่มีอยู่ในอาหารแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือชนิดที่มีอยู่ในอาหารที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อ เลือด เครื่องใน และชนิดที่พบในพืช ผัก ผลไม้ ธัญพืช (ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวฟ่างฯลฯ) และถั่วต่าง ๆ สารอาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ ผักใบเขียว มะเขือพวง งาขาว งาดำ ซึ่งพืชผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายได้ดีขึ้น
    ยาธาตุเหล็กสำหรับผู้บริจาคโลหิต หน่วยงานที่รับบริจาคโลหิตจะจัดยาเม็ดธาตุเหล็กให้ผู้บริจาคโลหิต ผู้หญิงรับประทาน 30 วัน วันละ 1 เม็ด ผู้ชายรับประทาน 15 วัน วันละ 1 เม็ด หลังอาหารเย็น เน้นว่า ผู้บริจาคโลหิตทุกท่านควรกินยาเม็ดธาตุเหล็กให้หมด (ต้องเตือนตัวเองเหมือนกัน เพราะไม่เคยกินหมดเลย เอาไปแจกคนอื่นมากกว่า) การกินยานี้ อาจมีอุจจาระสีดำเพราะธาตุเหล็กส่วนใหญ่ไม่ถูกดูดซึมและทำปฏิกิริยากับก๊าซอ๊อกซิเจนและกรดในกระเพาะอาหารและลำไส้ หากปฏิบัติตามคำแนะนำจะทำให้โลหิตของท่านมีความเข้มข้นเพียงพอทุกครั้งที่มาบริจาคโลหิต ระบบโลหิตในร่างกายมีโลหิตใหม่ที่มีคุณภาพหมุนเวียนทดแทนโลหิตเก่าที่ออกไป ส่งผลให้เป็นผู้มีผิวพรรณสดใส ไม่อ่อนเพลีย มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงดีตลอดไป

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.