กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลงลดปัญหาโลกร้อน

นักวิจัยเมืองผู้ดีแนะประชากรโลกกินเนื้อสัต ว์ให้น้อยลง เพื่อลดการปศุสัตว์อันเป็นต้นกำเนิดของก๊าซมีเทน สาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน แถมยังดีต่อสุขภาพ ชี้คนในประเทศพัฒนาแล้ว กินเนื้อคนละกว่า 2 ขีดต่อวัน

วารสารด้านการแพทย์แลนเซท (The Lancet) ตีพิมพ์ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นำเสนอบทวิจัยแง่มุมใหม่ที่อาจปรับเปลี่ยนนิสัยการกินของผู้อ่านได้ โ ดยเชิญชวนให้ผู้คนทั่วไปลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ลงอย่างน้อย 10% อาทิ อาหารจำพวกสเต็กและแฮมเบอร์เกอร์ จุดประสงค์เพื่อลดการทำฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งของการผลิตก๊าซมีเทน สาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน

เ รากำลังอยู่ในจุดวิกฤติ หากผู้คนรู้ว่าการบริโภคเนื้อจำนวนมากของเขามีผลต่อการเกิดภัยพิบัติตามมา เขาก็อาจจะคิดอีกรอบในการบริโภคเบอร์เกอร์สักชิ้นหนึ่ง” เกรี บริวสเตอร์ (Geri Brewster) นักโภชนาการจาก รพ.นอร์ธเทิร์น เวสต์เชสเตอร์ นิวยอร์ก (Northern Westchester Hospital) สหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยกล่าว

อย่างไรก็ดี หลายคนคงคิดว่าวิธีนี้อาจไม่ใช่หนทางที่เหมาะสมนัก โดยงานวิจัยได้เสนอเพิ่มว่า วิธีอื่นๆ ที่อาจเลือกใช้ได้เช่น การปรับปรุงคุณภาพฟาร์มปศุสัตว์ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา ซึ่งคงยากเพราะแค่มื้อเย็นเพียงมื้อเดียว ก็ต้องเป็นสาเหตุให้เกิดก๊าซเรือนกระจกไปเกือบ 1 ใน 4 ของทั้งโลกแล้ว

การจำกัดอาหารเนื้อสัตว์ลงเป็นเพียงหนทางเดียวที่ช่วยได้” ดร.จอห์น พาวส์ (John Powles) ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) หนึ่งในนักวิจัยกล่าว โดยเขายังเผยถึงความเหลื่อมล้ำของการบริโภคเนื้อสัตว์ด้วยว่า ในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ละคนจะกินเนื้อสัตว์ 224 กรัมต่อคนต่อวัน ขณะที่คนแอฟริกันกินเนื้อสัตว์เพียง วันละ 31 กรัมเท่านั้น

อย่างไรก็ดี งานวิจัยก็ยังพบว่าแนวโน้มการบริโภคเนื้อสัตว์ของประชากรโลกในปัจจุบันเพิ่ม สูงขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่ปริมาณก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ ที่จะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

ย กตัวอย่างประเทศจีนเพียงประเทศเดียวที่มีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มข ึ้นถึง 2 เท่าในเวลา 1 ทศวรรษ ซึ่งหากจะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อนแล้ว ปริมาณเนื้อสัตว์ที่ควรบริโภคเพียง 90 กรัมต่อคนต่อวันก็พอแล้ว

ทั้งนี้ พาวส์ ยังบอกด้วยว่า นอกจากจะช่วยลดปัญหาโลกร้อนแล้ว การบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลงยังเป็นมาตรการรักษาสุขภาพชั้นเยี่ยมด้วย อาทิ โรคหัวใจ อีกทั้งมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งประมาณการว่า หากลดการบริโภคเนื้อแดงลงทุกๆ 100 กรัมจะลดอัตราเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ลง 1 ใน 3 อีกทั้งคนในปัจจุบันก็ยังบริโภคโปรตีนมากเกินจำเป็นอยู่แล้ว อันจะไปสู่โรคอ้วนตามมาอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ ดร.มาเรีย ไนรา (Maria Neira) ผอ.แผนกสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ง านวิจัยชิ้นนี้น่าสนใจ และจะต้องตรวจสอบให้ได้ว่าการลดบริโภคเนื้อสัตว์จะเป็นหนึ่งหนทางสำคัญที่ช่ วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง อีกทั้งหากจะเผยแพร่ให้สาธารณชนลดการบริโภคเนื้อสัตว์คงต้องอาศัยเวลานานนับ ศตวรรษ

Share

2 thoughts on “กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลงลดปัญหาโลกร้อน

  1. คนอยากลดเนื้อสัตว์

    เคยสังเกตหลายครั้งว่าถ้าทานเอาหารที่มีเนื้อสัตว์ตอนเย็น ตอนเช้าจะรู้สึกปวดเมื่อยเนื้อตัว บางทีก็ปวดตามข้อ แล้วยังมีอีกหลายโรคที่เกิดจากการทานเนื้อสัตว์ แล้ววันหลังจะค้นคว้ามาให้เพิ่มเติม

    Reply
  2. คนอยากลดเนื้อสัตว์

    ได้ความรู้เพิ่มเติมจากหลาย ๆ แห่ง เกี่ยวกับสารพัดพิษที่มากับเนื้อสัตว์
    1. คอเลสเตอรอลมีมากที่สุดในไขมันสัตว์ และไม่สามารถละลายได้ในร่างกายมนุษย์ มันจะสะสมอยู่ตามผนังของเส้นเลือด ก่อให้เกิดภาวะอุดตันในเส้นเลือดหรือเส้นเลือดตีบ เมื่อเลือดไหลผ่านได้น้อย หัวใจต้องทำงานหนักในการสูบฉีด เป็นเหตุให้ความดันสูงและเป็นโรคหัวใจ
    2. คนที่ทานเนื้อสัตว์เป็นประจำทำให้แบคทีเรียในลำไส้เล็กทำปฏิกริยากับน้ำย่อยทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในลำไส้
    3. ในเนื้อสัตว์มีโปรตีนอยู่ในระดับสูง ทำให้ไตทำงานหนักเพื่อขับแคลเซียมออกจากร่างกาย จนกระทั่งป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนและไตเสื่อม
    4. เนื้อสัตว์ไม่มีกากใยและเคลื่อนตัวในระบบทางเดินอาหารช้ามาก กากอาหารจะถูกดูดเอาน้ำไปมาก
    จึงทำให้อุจจาระแข็ง แห้งและถ่ายลำบาก เป็นสาเหตุของโรคท้องผูกเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร และมะเร็งที่ปลายลำไส้ใหญ่
    จึงทำให้อุจจาระแข็ง แห้งและถ่ายลำบาก เป็นสาเหตุของโรคทอ้งผูกเรื้อรัง

    Reply

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.