ธรรมะรอบตัวเรา

บังเอิญว่าไปค้นหา เรืื่องการใช้เงินแบบพุทธวิธี เลยไปพบบทความแปลชิ้นหนึ่งของ ร.ศ.ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และคณะ ได้แปลไว้ในหนังสือที่ชื่อ พระพุทธเจ้าสอนอะไร (แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย จัดพิมพ์โดย โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2547)

รู้สึกว่าเป็นบทความที่ดี และเน้นไปในเรื่องของธรรมะกับปุถุชนทั่วไป ว่าจะหาความสุขได้อย่างไร โดยตอนแรกพูดถึงเรื่องของ หัวใจเศรษฐี จนไปถึง สงครามกับสันติภาพ จะเน้นไปเรื่องของสันติภาพ และการอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติ

—————————————————————–

หัวใจเศรษฐี

ครั้งหนึ่ง ชายผู้หนึ่งชื่อ ทีฆชานุ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ธรรมดา ดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือน มีภรรยาและบุตรธิดา ขอพระผู้มีพระภาคได้ทรงสอนหลักธรรมบางอย่างที่จะช่วยให้พวกข้าพระองค์ได้มีค วามสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ”

พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกทีฆชานุว่า มีธรรมอยู่ 4 ประการ ที่จะเอื้ออำนวยให้มนุษย์มีความสุขในโลกนี้ คือ

  1. เป็นคนมีทักษะ มีประสิทธิผล เอาจริงเอาจัง ขยันขันแข็งในอาชีพใด ๆ ที่ตนประกอบอยู่ และเข้าใจงานในอาชีพนั้น ๆ เป็นอย่างดี (อุฏฐานสัมปทา)
  2. รักษาทรัพย์สินเงินทองที่ตนหามาได้ในทางสุจริต และด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของตนเอง (อารักขสัมปทา) (ข้อนี้มุ่งป้องกันทรัพย์สินจากโจร ผู้ร้าย ฯลฯ แนวความคิดเหล่านี้จะต้องพิจารณาถึงภูมิหลังของยุคนั้นประกอบด้วย)
  3. มีเพื่อนดี (กัลยาณมิตตตา) คือ มิตรที่ซื่อสัตย์ มีการศึกษา มีคุณธรรม มีใจกว้างและมีปัญญา ซึ่งเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือให้ดำเนินตามทางที่ถูก ห่างจากทางชั่ว
  4. ใช้จ่ายทรัพย์อย่างมีเหตุผล ให้ได้สัดส่วนกับรายได้ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป กล่าวคือ ไม่สั่งสมทรัพย์ด้วยความตระหนี่ หรือไม่เป็นคนใจกว้างเกินขอบเขต กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือดำรงชีวิตอย่างพอเหมาะพอควร (สมชีวิตา)

(ทั้งหมดนี้เรียกว่า “ทิฏฐธัมมิกัตถะ ๔” จากพระไตรปิฎก เล่ม ๒๓ ข้อ ๑๔๔ หรือที่เราๆ ท่านๆ เคยได้ยินว่า อุ อา กะ สะ ก็ย่อมาจาก 4 ข้อนี่เองครับ ซึ่งผมใช้ข้อความอ้างอิงจาก ชีวิตนี้มีปัญหา 1 ของเครือข่ายอโศก ซึ่งจะพูดในรายละเอียดของการประกอบอาชีพของปุถุชนทั่วไป และก็อีกบทความหนึ่งคือ วิธีดับทุกข์เพราะ..จน ที่ได้พูดถึงวิธีการแก้จนครับ – www.wuttanan.com)

ความสุขในโลกหน้า

ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงคุณธรรม 4 ประการ อันจะเอื้ออำนวยให้คฤหัสถ์มีความสุขในโลกหน้า คือ

  1. ศรัทธา คือ มีศรัทธาและความเชื่อมั่นในคุณค่าของศีล สมาธิ ปัญญา
  2. ศีล คือ เว้นจากการทำลายและทรมานสิ่งมีชีวิต เว้นจากการลักทรัพย์และหลอกลวง เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา
  3. จาคะ คือ รู้จักเสียสละ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ยึดมั่นและทะยานอยากในทรัพย์ของตน
  4. ปัญญา คือ พัฒนาปัญญาอันจะนำไปสู่การทำลายความทุกข์โดยสิ้นเชิง และการรู้แจ้งเห็นจริงในพระนิพพาน

ในบางคราว พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับการประหยัดและการใช้จ่ายเงิน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทรงบอกชายหนุ่มชื่อ สิงคาละ ให้จ่ายเงินหนึ่งในสี่ส่วนของรายได้เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน อีกครึ่งหนึ่งของรายได้ใช้จ่ายเพื่อการดำเนินธุรกิจกับเก็บหนึ่งในสี่ของราย ได้ไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน

ความสุขแบบคฤหัสถ์

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หนึ่งในบรรดาอุบาสกผู้มีความเลื่อมใสในพระองค์มากที่สุด ผู้สร้างวัดเชตวันอันลือชื่อที่เมืองสาวัตถีถวายพระองค์ว่า คฤหัสถ์ที่ดำเนินชีวิตเป็นผู้ครองเรือนเป็นปกติ มีความสุขอยู่ 4 อย่าง คือ

  1. สุขเกิดจากมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือมีทรัพย์สมบัติเพียงพอที่ตนหามาได้ด้วยวิธีสุจริต (อัตถิสุข)
  2. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ได้อย่างอิสระ เพื่อตนเอง เพื่อครอบครัว เพื่อเพื่อนฝูง เพื่อญาติ ๆ และเพื่อทำบุญกุศล (โภคสุข)
  3. สุขเกิดจากการไม่มีหนี้สิน (อนณสุข)
  4. สุขเกิดจากการดำรงชีวิตที่ปราศจากโทษ มีชีวิตบริสุทธิ์ไม่ประกอบความชั่วทั้งทางความคิด ทางวาจา และทางกาย (อนวัชชสุข)

(ทั้งหมดนี้ใน พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เรียกว่า สุขของคฤหัสถ์ หรือ คิหิสุข หรือ กามโภคีสุข 4 (สุขของชาวบ้าน, สุขที่ชาวบ้านควรพยายามเข้าถึงให้ได้สม่ำเสมอ, สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี – house-life happiness; deserved bliss of a layman) – www.wuttanan.com)

ณ ที่นี้ควรสังเกตไว้ด้วยว่า ในความสุขทั้ง 4 ข้อนี้ มี 3 ข้อที่ เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ และในที่สุด พระพุทธเจ้าได้ทรงเตือนอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า ความสุขทางเศรษฐกิจและด้านวัตถุนั้น “ ไม่มีค่าเท่าเสี้ยวที่ 16 ” ของความสุขทางจิตใจ อันเกิดจากชีวิตที่ดีงามปราศจากโทษ

จาก 2-3 ตัวอย่างที่นำมาแสดงข้างต้นนั้น ก็พอจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้า ทรงถือว่าสวัสดิภาพทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขให้มนุษย์มีความสุขได้ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงยอมรับว่าเป็นความก้าวหน้าที่จริงแท้ ถ้าเป็นเพียงความก้าวหน้าทางด้านวัตถุที่ปราศจากรากฐานทางด้านจิตใจและศีลธร รม ขณะที่กระตุ้นให้ความก้าวหน้าทางวัตถุนั้นพระพุทธศาสนาก็ย้ำเน้นในด้านพัฒนา คุณลักษณะทางด้านศีลธรรมและจิตใจ เพื่อให้สังคมมีความสุข มีความสงบและเป็นที่พอใจของคนในสังคม

สงครามและสันติภาพ

พระพุทธเจ้าทรงมีความกระจ่างชัดในเรื่องการเมือง สงรามและสันติภาพ เรื่องที่รู้กันดีที่ควรย้ำไว้ที่นี่ว่า พระพุทธศาสนาประกาศและเผยแพร่อหิงสธรรมและสันติภาพ ในฐานะเป็นสาส์นสากล และเป็นศาสนาที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง หรือการทำลายล้างชีวิต ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาไม่มีสงครามใดที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น “ สงครามฝ่ายธรรม ” ซึ่งเป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นอย่างผิด ๆ และเผยแพร่ออกไป เพียงเพื่อหาความชอบธรรมและข้อแก้ตัวให้แก่ความโกรธ ความโหดร้าย ความรุนแรง และการสังหารหมู่ ใครจะเป็นผู้ตัดสินได้ว่าฝ่ายใดเป็น “ ธรรม ” ฝ่ายใดเป็น “ อธรรม ” ? ผู้ที่เข้มแข็งและเป็นฝ่ายชนะ คือ ฝ่าย “ ธรรม ” ส่วนที่ผู้ที่อ่อนแอและเป็นฝ่ายแพ้ คือฝ่าย “ อธรรม ” สงครามของเรา เป็นสงครามฝ่าย “ ธรรม ” เสมอ ส่วนสงครามของเจ้า เป็นสงครามฝ่าย “ อธรรม ” เสมอ พระพุทธศาสนาจึงไม่ยอมรับจุดยืนแบบนี้

พระพุทธเจ้าไม่เพียงแต่ทรงสอนอหิงสธรรมและสันติธรรมเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงเคยแม้กระทั่งเสด็จเข้าสู่สนามรบ ทรงเข้าแทรกแซงด้วยพระองค์เอง และทรงป้องกันไม่ให้เกิดสงครามอย่างเช่น ในกรณีข้อพิพาทระหว่างฝ่ายศากยะกับฝ่ายโกลิยะ ซึ่งกำลังเตรียมตัวรบกัน เนื่องจากเกิดปัญหาแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณี และครั้งหนึ่ง พระดำรัสของพระองค์ได้ช่วยป้องกันไม่ให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงใช้กำลังเข้าโจม ตีแคว้นวัชชี (อ่านรายละเอียดเรื่องนี้ได้ต่อใน ความวิวาทเกิดเพราะแย่งน้ำ ซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่แปลจากพระไตรปิฏก แต่ถ้าอยากอ่านง่ายๆ ให้ลองไปอ่านที่นี่ครับ สันติวิธี ศึกษาจากชีวิตของศาสดา 3ศาสนา (4) – www.wuttanan.com)

ในสมัยพุทธกาลก็เช่นเดียวกับทุกวันนี้ คือ มีผู้ปกครองปกครองประเทศโดยขาดความยุติธรรม ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกทรมาน ถูกกลั่นแกล้งถึงตาย ถูกบังคับเก็บภาษีมากจนเกินขอบเขต และถูกลงโทษด้วยวิธีการลงโทษที่โหดเหี้ยมทารุณ พระพุทธเจ้าทรงสลดพระทัยต่อการกระทำอันไร้มนุษยธรรมเหล่านี้ ในอรรกถาธรรมบท (ธัมมปัฏฐกภา) บันทึกไว้ว่า ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงมุ่งพระทัยสู่ปัญหาว่าทำอย่างไรถึงจะมีรัฐบาลดี ๆ ได้ ทัศนะต่าง ๆ ของพระองค์จะเป็นที่เข้าใจได้ก็ต่อเมื่อได้พิจารณาถึงภูมิหลังของด้านสังคมเ ศรษฐกิจและการเมืองของยุคพุทธกาลประกอบไปด้วย พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่าทั่วทั้งประเทศจะเกิดความฟอนเฟะ เสื่อมโทรม และไร้สุข เมื่อหัวหน้ารัฐบาล คือ กษัตริย์ เสนาบดี และข้าราชการ มีแต่ความฟอนเฟะ และขากความยุติธรรม เพราะว่าการที่ประเทศจะมีความสงบสุขได้นั้น จะต้องมีรัฐบาลที่ปกครองด้วยความยุติธรรม วิธีการที่จะก่อให้เกิดมีรัฐบาลเช่นนี้ได้นั้น พระพุทธองค์ตรัสอธิบายไว้ในคำสอนว่า “ กิจวัตรของพระราชา 10 ประการ ” (ทศพิธราชธรรม) ดังที่มีคำอธิบายอยู่ในคัมภีร์ชาดก

แน่นอน คำว่า “ ราชา ” ในสมัยอดีต ควรใช้คำสมัยปัจจุบันว่า “ รัฐบาล ” แทน ดังนั้น “ ทศพิธราชธรรม ” จึงประยุกต์ใช้ในปัจจุบันกับบรรดาผู้ประกอบเป็นรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ บรรดารัฐมนตรีผู้นำทางการเมือง ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร (สำหรับผมแล้ว จำกัดความง่ายๆ คือ บุคคลทุกคนที่อยู่ในสถานะที่เป็นผู้นำทั้งหลาย ตั้งแต่กลุ่มเล็กๆ ไปจนถึงระดับประเทศชาติ – www.wuttanan.com)

ทศพิธราชธรรม

  1. ทศพิธราชธรรมข้อแรก คือ ความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักแบ่งปัน (ทาน) กล่าวคือ ผู้ปกครองจะต้องไม่มีความละโมบติดยึดในทรัพย์สมบัติ ควรสละทรัพย์สมบัตินั้น ๆ เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชน
  2. ทศพิธราชธรรมข้อที่ 2 คือ มีศีลธรรมสูงส่ง (ศีล) ผู้ปกครองจะต้องไม่ทำลายสิ่งที่มีชีวิต ไม่หลอกลวง ไม่ลักขโมย ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าวเท็จ และไม่ดื่มเครื่องดองของเมา คือ อย่างน้อยต้องรักษาศีล 5 ข้อ ของคฤหัสถ์ให้ได้
  3. ทศพิธราชธรรมข้อที่ 3 คือ เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประโยชน์สุดของประชาชน (ปริจจาค) ได้แก่ ผู้ปกครอง จะต้องเตรียมตัวสละความสุขสำราญส่วนตัว ทั้งชื่อเสียง เกียรติยศ และแม้แต่ชีวิตของตน เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
  4. ทศพิธราชธรรมข้อที่ 4 คือ ซื่อตรง ทรงสัตย์ (อาชวะ) ผู้ปกครองจะต้องไม่กลัวหรือถือฝักถือฝ่ายในเวลาปฏิบัติหน้าที่มีความจริงใจใ นความตั้งใจ และไม่หลอกลวงสาธารณชน
  5. ทศพิธราชธรรมข้อที่ 5 คือ มีความกรุณาหรืออ่อนโยน (มัททวะ) มีอัทธยาศัยนุ่มนวลละมุนละไม
  6. ทศพิธราชธรรมข้อที่ 6 คือ มีนิสัยเคร่งครัด (ตปะ) จะต้องดำเนินชีวิตเรียบง่าย ไม่หมกหมุ่นอยู่ในชีวิตฟุ่มเฟือยระงับยับยั้งข่มใจได้
  7. ทศพิธราชธรรมข้อที่ 7 คือ ปลอดพ้นจากโกรธ พยาบาท จองเวร (อโกธ) เป็นผู้ไม่มีความรู้สึกขุ่นเคืองต่อใคร ๆ
  8. ทศพิธราชธรรมข้อที่ 8 คือ ไม่เบียดเบียนใคร (อวิหิงสา) ซึ่งไม่เพียงแต่หมายถึง การไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อนเท่านั้น แต่ยังหมายถึง การพยายามส่งเสริมสันติภาพด้วยการงดเว้นและป้องกันสงครามรวมทั้งทุกสิ่งที่เ กี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงและการทำลายล้างชีวิต
  9. ทศพิธราชธรรมข้อที่ 9 คือ ความอดทน อดกลั้น ข่มใจ เข้าใจผู้อื่น (ขันติ) สามารถอดทนต่องานหนัก ความตรากตรำ และคำเสียดสีถากถาง โดยไม่เกิดอารมณ์เสีย
  10. ทศพิธราชธรรมข้อที่ 10 คือ ไม่เป็นปฏิปักษ์ ไม่ขัดขวาง (อวิโรธนะ) กล่าวคือ ไม่ขัดต่อเจตจำนงของประชาชน ไม่ขัดขวางมาตรการใด ๆ อันจะเอื้ออำนวยต่อสวัสดิภาพของประชาชน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ปกครองประเทศโดยสมัครสมานน้ำใจกับประชาชน

ถ้าประเทศใดปกครองโดยบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ก็ไม่จำเป็นต้องพูดเลยว่า ประเทศนั้น ๆ จะต้องมีความสุขเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นความฝันที่เลื่อนลอย เพราะว่ากษัตริย์ในอดีตเช่น พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ได้ทรงเคยสถาปนาพระราชอาณาจักร โดยอาศัยพื้นฐานจากแนวคิดเหล่านี้มาแล้ว

ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่

โลกเราทุกวันนี้ อยู่กันอย่างหวาดกลัว ระแวง และตึงเครียดตลอดเวลา วิทยาศาสตร์ได้ผลิตอาวุธ ซึ่งมีศักยภาพในการทำลายล้างได้อย่างคาดไม่ถึง ชาติมหาอำนาจทั้งหลายกำลังกวัดแกว่งเครื่องมือสังหารใหม่ ๆ เหล่านี้ ทำการคุกคามและท้าทายซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งคุยโวโอ้อวดอย่างไร้ความอายว่า ฝ่ายตนสามารถสร้างความวอดวายและทุกข์ระทมให้แก่โลกได้มากกว่าฝ่ายอื่น

บัดนี้ มหาอำนาจทั้งหลายได้ดำเนินไปตามเส้นทางแห่งความบ้าคลั่งนี้จนถึงจุดที่ว่า ถ้าก้าวต่อไปในทิศทางนั้นแม้แต่เพียงก้าวเดียวผลลัพธ์ก็ไม่มีอะไรอื่น นอกจากความสูญสิ้นของทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กับการทำลายล้างมวลมนุษยชาติเท่านั้น

เพราะความกลัวสถานการณ์ที่ตนเองได้สร้างขึ้นมา มนุษยชาติจึงต้องการหาทางออก และหาวิธีการบางอย่างมาแก้ไข แต่ก็ไม่มีวิธีการใดนอกจากธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเสนอไว้ คือ สาส์นแห่งอหิงสธรรม สันติธรรม ความเมตตากรุณา ขันติธรรม และความเข้าอกเข้าใจกัน สัจะรรมและปัญญา ความเคารพนับถือชีวิตทุกชีวิตความมีอิสระจากความเห็นแก่ตัว ความโกรธและการเบียดเบียนกัน

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

“ ความโกรธไม่เคยระงับด้วยความโกรธ แต่ความโกรธระงับได้ด้วยความเมตตา นี่คือสัจธรรมอันเป็นอมตะ ”

“ บุคคลพึงชนะความโกรธด้วยความเมตตา พึงชนะความชั่วร้ายด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่เห็นแก่ตัวด้วยการให้ พึงชนะความเหลาะแหละด้วยคำสัตย์จริง ”

สันติภาพหรือความสุขจะมีขึ้นไม่ได้ตราบเท่าที่คนเรายังมีความอยากและความกระห ายที่จะเอาชนะและปราบปรามเพื่อนบ้านของตนอยู่ สมดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนระทมทุกข์ ผู้ที่ละได้ทั้งการชนะและการแพ้ ย่อมเป็นผู้มีความสุขและสงบ ” ชัยชนะที่จะนำสันติสุขมาให้มีเพียงอย่างเดียว คือ การชนะตนเอง “ บุคคลอาจจะชนะข้าศึกเป็นล้าน ๆ คนในสมรภูมิ แต่ผู้ที่ชนะตนเองได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ”

อกเขาอกเรา

ท่านอาจจะพูดว่า ข้อความเหล่านี้ สวยหรู ประเสริฐ และสูงส่งแต่คงนำไปปฏิบัติไม่ได้ แต่ควรละหรือที่จะเกลียดคนอื่น ? ควรละหรือที่จะฆ่าคนอื่น ๆ เหมาะแล้วหรือที่จะอยู่กันอย่างหวาดกลัวและระแวงกันอย่างไม่มีวันสิ้นสุดอย่างกับสัตว์ป่าในดงดิบ ? นี่เป็นสิ่งที่ควรทำและสบายกว่านักหรือ ? ความโกรธเคยระงับได้ด้วยความโกรธหรือ ? ความชั่วเคยชนะได้ด้วยความชั่วหรือ ? แต่มีหลายตัวอย่าง อย่างน้อยก็ในกรณีส่วนบุคคลที่ความโกรธระงับได้ด้วยความรักและความเมตตา และความชั่วชนะได้ด้วยความดีท่านอาจจะพูดว่า ข้อนี้อาจจะเป็นจริงและปฏิบัติได้ผลในกรณีส่วนบุคคล แต่ไม่เคยใช้ได้ผลในกิจการระดับชาติและกิจการระดับนานาชาติ คนเราถูกสะกดจิตจนเกิดความงงงวย ตามืดบอดและถูกหลอกจากการใช้ศัพท์ทางการเมืองและทางการโฆษณาชวนเชื่อเช่น “ ประชาชาติ ” “ นานาชาติ ” หรือ “ รัฐ ” สิ่งที่ประกอบกันเป็นประชาชาตินั้น เป็นเพียงการรวมตัวกันของปัจเจกบุคคลมิใช่หรือ ? ประชาชาติหรือรัฐ ทำอะไรเองไม่ได้ ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ทำ สิ่งที่ปัจเจกบุคคลคิดและทำนั้น คือ สิ่งที่ประชาชาติหรือรัฐคิดและทำสิ่งที่ประยุกต์ใช้ได้กับปัจเจกบุคคล ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้กับประชาชาติ หรือรัฐได้เช่นกัน ถ้าความโกรธสามารถระงับได้ด้วยความรักและความเมตตาในระดับปัจเจกบุคคลแล้วไซ ร้ ก็เป็นที่แน่นอนว่ามันสามารถเป็นจริงมาได้เช่นเดียวกัน ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ แม้แต่ในกรณีของบุคคลเดียวนั้น การที่จะเผชิญความโกรธด้วยความเมตตานั้นได้ ยังต้องมีความหนักแน่นอาจหาญศรัทธา และความเชื่อมั่นในพลังทางศีลธรรมอย่างมากมาย ยิ่งในกรณีของกิจการ ระดับนานาชาติด้วยแล้ว ก็จะมิต้องใช้ความหนักแน่น อาจหาญ ศรัทธา และความเชื่อมั่นในพลังทางศีลธรรมมากยิ่งขึ้นไปอีกหรือ ? ถ้าถ้อยคำที่พูดว่า “ ไม่สามารถปฏิบัติได้ ” ท่านหมายถึงว่า “ ไม่ง่าย ” ละก็ท่านก็เป็นฝ่ายถูกแน่นอนละว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถึงกระนั้นก็น่าที่จะลองพยายามดู ท่านอาจจะบอกว่าเป็นการเสี่ยงภัยที่จะพยายามทำเช่นนั้น แน่นอนเหลือเกินว่ามันไม่ได้เสี่ยงภัยมากไปกว่าการพยายามที่จะก่อสงครามนิวเ คลียร์เลย

ธรรมพิชัยยุทธ์

ในปัจจุบันบุคคลยังคิดอุ่นใจและมีกำลังใจอยู่ว่า อย่างน้อยก็มีผู้ปกครองผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง ที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ ผู้ซึ่งมีความเด็ดเดี่ยว เชื่อมั่น และมองเห็นกาลไกลที่ประยุกต์คำสอนเกี่ยวกับอหิงสธรรม สันติธรรม และเมตตาธรรม ไปใช้กับหลักการบริหารจักรวรรดิอันกว้างใหญ่ไพศาล ทั้งในกิจการภายในและกิจการภายนอกจักรวรรดิ ผู้ปกครองผู้นี้ คือ พระเจ้าอโศกมหาราช มหาจักรพรรดิชาวพุทธของอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ 3) ดังที่ได้รับพระนามว่า “ พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ” (พระเจ้าเทวานัมปิยะ) (สามารถดูประวัติของท่านได้จาก wikipedia เวอร์ชั่นภาษาไทย จากคำว่า พระเจ้าอโศกมหาราช – www.wuttanan.com)

ในระยะแรก พระเจ้าอโศกมหาราชทรงดำเนินตามปฏิปทาของพระราชบิดา (พระเจ้าพินทุสาร) และพระอัยกา (พระเจ้าจันทรคุปต์) ของพระองค์ ทรงปรารถนาที่จะพิชิตคาบสมุทรอินเดียไว้ทั้งหมดพระองค์ ทรงบุกพิชิตและผนวกแคว้นกาลิงคะไว้ได้ คนหลายแสนคนถูกฆ่าบาดเจ็บ ถูกทรมาน และจับเป็นเชลยในสงครามครั้งนี้ แต่ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า ในบรรดาพระบรมราชโองการในศิลาจารึกที่มีชื่อเสียงของพระองค์ มีหลักศิลาจารึกหลักหนึ่ง (ปัจจุบันเรียกว่า หลักศิลาจารึกหลักที่ 13) ซึ่งต้นฉบับเดิมปัจจุบันยังหาอ่านได้ ได้ระบุถึงชัยชนะที่กาลิงคะ พระจักรพรรดิพระองค์นี้ได้ทรงแสดงความเสียพระทัยออกมาให้เป็นที่ปรากฏแก่สาธ ารณชน และตรัสถึงความเจ็บปวดรวดร้าวอย่างสุดซึ้งเมื่อพระองค์ทรงหวนรำลึกถึงการประ หัตประหารกันในครั้งนั้น พระองค์ได้ทรงป่าวประกาศว่า พระองค์จักไม่ทรงถอดพระแสงดาบออกมาเพื่อการพิชิตใด ๆ อีกต่อไป แต่ทรงประกาศว่าพระองค์ “ ทรงปรารถนาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่เบียดเบียนกัน รักษาตนเองปฏิบัติตามสันติธรรม และความอ่อนโยน แน่ละสิ่งที่พระเจ้าเทวานัมปิยะ (คืออโศก) ทรงถือว่าเป็นชัยชนะที่สำคัญยิ่ง คือชัยชนะโดยธรรม (ธรรมวิชัย) นี้เท่านั้น ” พระเจ้าอโศกมหาราชไม่เพียงแต่ทรงประกาศล้างมือจากสงครามด้วยพระองค์เองเท่าน ั้น แต่ยังรงแสดงพระราชประสงค์ว่า “ ลูกเราและหลานเหลนเราอย่าได้คิดว่าการพิชิตดินแดนเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่มีค่า ควรกระทำ… ขอให้คิดถึงเฉพาะการพิชิตเพียงอย่างเดียว คือการพิชิตโดยธรรมเท่านั้น การพิชิตด้วยวิธีนี้เป็นความดีทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ”

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่แสดงให้เห็นว่ามีนั กรบผู้พิชิตผู้หนึ่ง เมื่อขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจยังมีแสนยานุภาพที่จะดำเนินการพิชิตดินแดนต่า ง ๆ ต่อไป แต่กลับประกาศล้างมือจากสงครามและการใช้ความรุนแรง และหันหน้าเข้าหาสันติธรรมและ อหิงสธรรม

ทางแห่งสันติภาพ

นี่คือบทเรียนสำหรับชาวโลกปัจจุบันว่า ยังมีพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง ได้ทรงประกาศหันหลังให้กับสงครามและการใช้ความรุนแรงอย่างเปิดเผย และทรงยึดหลักสันติธรรมและอหิงสธรรม ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดที่แสดงว่ามีกษัตริย์เพื่อนบ้านพระองค์ใดฉวย โอกาสตอนที่พระเจ้าอโศกมหาราชยึดทางธรรม ใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตีจักรวรรดิของพรอชะองค์ หรือไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่แสดงว่ามีการปฏิวัติหรือเกิดการจลาจลในจักรวรรดิของพระองค์ตลอดรัชสมัย ตรงกันข้ามกลับมีแต่สันติภาพทั่วแผ่นดิน แม้แต่ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกจักรวรรดิของพระองค์ ต่างก็ยอมรับความเป็นผู้นำที่ทรงคุณธรรมของพระองค์

การพูดถึงการดำรงสันติภาพ ด้วยวิธีการถ่วงดุลอำนาจก็ดีหรือด้วยวิธีการคุกคามโดยการป้องปรามด้วยอาวุธน ิวเคลียร์ก็ดี นับเป็นเรื่องที่โง่เขลา อานุภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์มีแต่จะสร้างความกลัว หาได้สร้างสันติภาพไม่ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีสันติภาพที่แท้จริงและถาวรทั้ง ๆ ที่ยังมีความกลัว จากความกลัวนั้นก็จะมาเป็นความโกรธ ความพยาบาท และความเป็นศัตรูกัน ซึ่งบางทีสิ่งเหล่านี้อาจจะถูกเก็บกดไว้ได้แต่เพียงชั่วครู่ชั่วยาม แต่มันพร้อมที่จะระเบิดเป็นความรุนแรงได้ทุกขณะ สันติภาพที่แท้จริงจะมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในบรรยากาศแห่งเมตตา มิตรภาพ ปราศจากความกลัว ความระแวง และอันตราย

พระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างสังคม ที่ประณามการใช้กำลังต่อสู้กันเพื่อช่วงชิงอำนาจ สังคมที่มีแต่ความสงบและสันติ ปราศจากการชิงดีชิงเด่นเพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน สังคมที่มีการประณามการประหัตประหารผู้บริสุทธิ์อย่างรุนแรง สังคมที่ผู้ชนะตนเองได้รับการยอมรับนับถือยิ่งกว่าผู้ที่ชนะคนเป็นล้าน ๆ ด้วยการทำสงครามทางทหารและสงครามทางเศรษฐกิจ สังคมที่ความโกรธชนะได้ด้วยความเมตตา และความชั่วชนะได้ด้วยความดี สังคมที่ความเป็นศัตรู ความอิจฉาริษยา ความพยาบาท และความโลภไม่เข้าไปแปดเปื้อนจิตใจมนุษย์ สังคมที่ความกรุณาเป็นพลังขับของการกระทำต่าง ๆ สังคมที่สรรพสิ่งอย่างน้อยก็สิ่งที่มีชีวิตได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรร ม ด้วยความเห็นอกเห็นใจและด้วยความเมตตา สังคมที่มีชีวิตมีแต่สันติ มีความสมัครสมานสามัคคีอยู่ในโลกของความมักน้อยสันโดษทางวัตถุ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป้าหมายสูงสุดและประเสริฐสุด คือการทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจ์ ได้แก่ พระนิพพาน

พระพุทธศาสนากับโลกปัจจุบัน

มีบางคนเชื่อว่า พระพุทธศาสนาเป็นระบบที่ประเสริฐสูงส่งเกินกว่าที่สามัญชนทั้งบุรุษและสตรีจ ะสามารถปฏิบัติตามได้ ในชีวิตแบบโลกีย์ธรรมดาของเราท่าน และเข้าใจว่าถ้าใครปรารถนาจะเป็นชาวพุทธจริง ๆ ก็จะต้องปลีกตนออกจากสังคมโลก ไปอยู่ในวัดวาอาราม หรือสถานที่ที่สงบเงียบ

ข้อนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างน่าเสียดาย ทั้งนี้เนื่องจากขาดความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั่นเอง ที่คนเหล่านั้นรีบสรุปแบบผิด ๆ เช่นนั้น ก็เพราะผลจากการที่ตนฟังหรืออ่านอย่างลวก ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาบางตอนที่ผู้เขียนบางคนผู้ที่ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาใน ทุกแง่ทุกมุมเขียนไว้ แต่ให้ทัศนะไว้เพียงบางตอนและมีอคติต่อเรื่องนั้น ๆ คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้เจาะจงไว้เพื่อภิกษุสงฆ์ในวัดเท่านั้น แต่เพื่อสามัญชนชายหญิงที่มีเหย้า มีเรือนอีกด้วย อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นแนวทางดำเนินชีวิตของชาวพุทธ เหมาะสมกับทุกคนโดยไม่แตกต่างกันเลย

ธรรมะกับคนทุกฐานะ

คนส่วนใหญ่ในโลก คงไม่สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้ หรือแม้จะปลีกตัวออกไปอยู่ในถ้ำหรือในป่ากันหมดก็ไม่ได้พระพุทธศาสนาที่สูงส ่งบริสุทธิ์ผุดผ่อง คงจะไร้ประโยชน์สำหรับมวลมนุษยชาติเป็นแน่ถ้าพวกเขาไม่สามารถนำมาประพฤติปฏิ บัติในชีวิตประจำวันในโลกปัจจุบันได้ แต่ถ้าท่านเข้าใจแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว (และมิใช่รู้ตามตัวบทเท่านั้น) แน่นอนที่สุด ท่านย่อมสามารถนำมาปฏิบัติตามได้ ในขณะที่ท่านดำรงตนเองอยู่แบบฆราวาสวิสัยนี่เอง

อาจมีบางคนพบว่า มันง่ายและสะดวกกว่ามากที่จะปฏิบัติพุทธธรรม ถ้าเขาดำรงชีวิตอยู่ในสถานที่ห่างไกล ตัดขาดจากการสังคมกับคนอื่น ๆ ส่วนคนอีกบางพวกอาจเห็นว่า การปลีกตนออกไปเช่นนั้นทำให้ชีวิตห่อเหี่ยว มีความกดดัน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และก็โดยวิธีนั้น จึงไม่เป็นไปเพื่อการพัฒนาชีวิตทั้งทางด้านจิตใจและด้านพุทธิปัญญา

การสละโลกอย่างแท้จริงนั้น ไม่ได้หมายความว่าหนีออกไปจากโลกโดยทางร่างกาย พระสารีบุตร อัครสาวกของพระพุทธเจ้ากล่าวว่า คนคนหนึ่ง อาจจะเข้าไปอยู่ในป่าอุทิศตนบำเพ็ญธรรมอย่างฤาษีชีไพร แต่จิตใจอาจจะไม่บริสุทธิ์ เต็มไปด้วยกิเลสาสวะ ส่วนอีกคนหนึ่งอาจจะอยู่ในหมู่หรือในเมือง โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยแบบนักพรตนั้นเลย แต่จิตใจของเขาอาจจะบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสได้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่าในบุคคลสองจำพวกนี้คนที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริสุทธิ ์ในหมู่บ้านหรือในเมืองย่อมประเสริฐสูงส่งกว่าผู้ที่เข้าไปอยู๋ในป่า (แต่ใจมีกิเลส)เป็นไหน ๆ

ความเชื่อทั่วไปที่ว่า การที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ได้นั้น จะต้องปลีกชีวิตออกไปเลยนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด นับเป็นความเชื่อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติธรรม โดยขาดดุลยพินิจที่แท้จริงอย่างยิ่ง มีหลักฐานอยู่มากมายในวรรณคดีทางพุทธศาสนาที่บอกว่า บุรุษและสตรีที่มีชีวิตอยู่แบบครองเรือนธรรมดาสามัญ ก็ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างมีผลสำเร็จ และยังรู้แจ้งแทงตลอดถึงขั้นพระนิพพานได้ ครั้งหนึ่ง วัจฉโคตรปริพพาชก (ที่เราพบในบทว่าด้วยอนัตตา) เคยทูลถามพระพุทธเจ้าตรง ๆ ว่ามีไหม ? อุบาสกอุบาสิกาที่อยู่ครองเรือน ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์อย่างมีผล และบรรลุสภาวะทางจิตขั้นสูงส่ง พระพุทธองค์ทรงเน้นอย่างชัดเจนยิ่งว่า “ มิใช่มีเพียงคนสองคน เพียงร้อยสองร้อย หรือห้าร้อย แต่มีอุบาสกอุบาสิกามากมายกว่านั้นมาก ที่อยู่อย่างฆราวาสวิสัย ปฏิบัติตามธรรมะของพระองค์อย่างมีผล และบรรลุถึงสภาวะทางจิตชั้นสูงส่งมาแล้ว ”

น่าอนุโมทนายิ่งสำหรับท่านที่ไปดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวในที่สงบห่างไกลจ ากเสียงอึกทึกและสิ่งรบกวนใด ๆ แต่มันน่าสรรเสริญเพิ่มศรัทธาปสาทะมากกว่ายิ่งนัก ถ้าปฏิบัติธรรมโดยอยู่ในท่ามกลางเพื่อนมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือและบริการรับใช้ต่อเพื่อน ๆ เหล่านั้นด้วย

ในบางกรณีมันอาจเกิดประโยชน์ยิ่งสำหรับคนเราที่จะปลีกตนออกไปปฏิบัติธรรมเป็น ครั้งคราวเพื่อปรับปรุงจิตและนิสัยด้วยการฝึกศีล สมาธิ และปัญญาขั้นต้น เพื่อให้กล้าแข็งพอที่จะออกมาช่วยเหลือผู้อื่นในภายหลัง แต่ถ้าใครปลีกตนไปอยู่ที่สงัดตลอดชีวิตมุ่งเฉพาะความสุขส่วนตน ทางรอดส่วนตนฝ่ายเดียว โดยมิได้คำนึงถึงเพื่อนมนุษย์เลย แน่นอน นี้ไม่ใช่การบำเพ็ญตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีความเมตตา ความกรุณา การใช้ความช่วยเหลือคนอื่นเป็นพื้นฐาน

บัดนี้อาจจะมีใครถามว่า “ ถ้าบุคคลสามารถปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาขณะที่มีชีวิตอยู่อย่างฆราวาสวิสัย ทำไม่พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพระสงฆ์ด้วยเล่า ?”

พระสงฆ์เอื้อโอกาสให้เหล่าชนผู้เต็มใจที่จะอุทิศชีวิตตน ไม่เพียงเพื่อการพัฒนาจิตและพุทธิปัญญาของตนเองเท่านั้น แต่เพื่อรับใช้คนอื่น ๆ ด้วย อุบาสาสามัญที่ครองเรือนอยู่นั้น ย่อมไม่สามารถอุทิศชีวิตทั้งชาติเพื่อรับใช้ผู้อื่นได้ ส่วนพระสงฆ์ไม่มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่มีพันธะในทางโลกีย์วิสัยอื่นใด จึงอยู่ในฐานะที่จะอุทิศทั้งหมด “ เพื่อประโยชน์ของชนหมู่มาก เพื่อความสุขของชนหมู่มาก ” ดังที่พระองค์ทรงตรัสแนะนำไว้ ข้อนี้แสดงให้เห็นถึงว่าตลอดระยะเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์ วัดทางพระพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นเพียงศูนย์กลางทางด้านจิตใจเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและทางวัฒนธรรมด้วย

อ้างอิงจาก http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/rich%20man.htm 

Share

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.