พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกไว้ว่า ความทุกข์ของมนุษย์จะมีดังนี้
1. ความเกิดก็เป็นทุกข์
2. เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
3. เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
4. เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ
และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์
5. เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
6. เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
7. และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
และพระองค์ทรงสรุปไว้ว่า
การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเรา หรือ เป็นของเขา
เป็นตัวทำให้ใจเราเกิดทุกข์อย่างแท้จริง
หลังจากนั้นพระพุทธองค์ทรงกล่าววิธีแก้ทุกข์ให้เราว่า
ตัณหานี่แหละที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
แล้วตัณหาคืออะไรล่ะ
ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป
และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป
เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น
อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก
เมื่อรู้ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ทรงชี้ถึงวิธีดับ ตัณหาเพื่อพ้นทุกข์ไว้ว่า
การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละวาง ปล่อย
และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด
คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง
ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ
ปัญญาเห็นชอบ
ความดำริชอบ
วาจาชอบ
การงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความเพียรชอบ
การระลึกชอบ
และการตั้งจิตไว้ชอบ
คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์
ที่มา
ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
แนะให้อ่านเพิ่มเติม
ความทุกคืออะไร
วันนี้จู่ๆ ก็นึกถึงเรื่อง ความทุกข์ ขึ้นมา
เลยขอเขียน blog เรื่องธรรมะนิดนึง
อย่างน้อยก็เตือนสติทุกท่านที่หลงเข้ามา
อย่างกลางก็เตือนสติตัวเอง
อย่างมากก็เตือนสติตัวเองและทุกท่านที่หลงเข้ามาจาก http://ifew.exteen.com/20070617/entry