วาทะของบิลล์ เกตส์ ในวันรับปริญญาเมื่ออายุเกือบ 52 ปี

ถอดความโดย ดร. ไสว บุญมา

คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า บิลล์ เกตส์ ผู้ครองตำแหน่งอภิมหาเศรษฐีหมายเลขหนึ่งของโลกในช่วงเวลา 13 ปีที่ผ่านมา ออกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก่อนเรียบจบหลักสูตรปริญญาตรี ปัจจัยที่ทำให้เขาออกกลางคันได้แก่ความต้องการที่จะทุ่มเทเวลา ให้กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผลของความทุ่มนั้นเป็นที่รู้กันอย่างทั่วถึงแล้ว ตอนนี้ บิลล์ เกตส์ อายุยังไม่ครบ 52 ปี แต่ได้ประกาศว่าเขาจะเกษียณจากบริษัทไมโครซอฟท์ในราวอีก 1 ปี หลังจากนั้นเขาจะทุ่มเทเวลาให้กับการแก้ปัญหาของโลกผ่านมูลนิธิซึ่งขณะนี้มี เงินทุนที่ได้รับจากเขาราว 30,000 ล้านดอลลาร์และกำลังจะได้รับจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหาเศรษฐีหมายเลขสองของโลกอีก 37,000 ล้านดอลลาร์
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ประสาทปริญญากิตติมศักดิ์ให้ บิลล์ เกตส์ และได้เชิญให้เขากล่าวคำปราศรัยในพิธีประสาทปริญญาของผู้จบการศึกษาในปีนี้ด ้วย ผมเห็นว่าคำปราศรัยของเขามีแง่คิดที่น่าใส่ใจยิ่ง จึงนำมาถอดความสำหรับผู้ที่อาจไม่มีโอกาสฟังหรืออ่านคำปราศรัยนั้น เนื่องจากคำปราศรัยอ้างถึงภูมิหลังบางอย่างซึ่งผู้อ่านอาจไม่คุ้นเคย เพื่อความกระจ่างและเพื่อให้เห็นมุกขบขันของเขา ผมได้เพิ่มคำอธิบายสั้น ๆ ไว้ในวงเล็บ […] คำปราศรัยนั้นอาจถอดได้ดังนี้ :
——————————————————————–

(สำหรับภาษาอังกฤษ หาอ่านได้ที่นี่ครับ http://www.networkworld.com/news/2007/060807-gates-commencement.html )

ท่านอธิการบดีบอค, ท่านอดีตอธิการบดีรูเดนสไตน์, ท่านอธิการบดีที่จะเข้ามารับตำแหน่งต่อไปเฟาสต์, สมาชิกของบรรษัทฮาร์วาร์ดและคณะกรรมการดูแลมหาวิทยาลัย, คณาจารย์, พ่อแม่, และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง, บัณฑิต:

ผมคอยมา 30 ปีที่จะพูดว่า “คุณพ่อครับ, ผมบอกคุณพ่อเสมอมาใช่ไหมว่าวันหนึ่งผมจะกลับมาเอาปริญญาให้ได้” [ผู้ฟังหัวเราะกันอย่างทั่วถึง]

ผมขอขอบคุณมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ป ระสาทปริญญาให้ผมทันเวลาพอดิบพอดี. ผมจะเปลี่ยนงานปีหน้า … และมันน่าจะดีเมื่อในที่สุดผมจะมีปริญญาพ่วงท้ายในใบประกาศคุณสมบัติของผมเส ียที. [เสียงหัวเราะจากผู้ฟัง]

ผมขอปรบมือให้ผู้จบการศึกษาวันนี้ที่ เดินไปสู่จุดมุ่งหมายด้วยทางสายตรง. สำหรับผม, ผมมีความสุขที่หนังสือพิมพ์คลิมสัน [หนังสือพิมพ์รายวันของนักศึกษาฮาร์วาร์ด] ให้สมญาผมว่า “ผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในหมู่ผู้เรียนไม่จบของฮาร์วาร์ด” ผมเดาเอาว่านั่นหมายถึงผมคือผู้ทำคะแนนได้สูงสุดในรุ่นพิเศษของผม … ผมทำได้ดีที่สุดในหมู่ผู้สอบตกด้วยกัน. [เสียงหัวเราะจากผู้ฟัง]

แต่ผมต้องการได้รับการยอมรับว่าผมเป็นผู้ที่ทำให้สตีฟ บอลล์เมอร์ [เพื่อนซี้ของ บิลล์ เกตส์ ซึ่งขณะนี้เป็นประธานผู้บริหารของบริษัทไมโครซอฟท์] เลิกเรียนวิชาบริหารธุรกิจ. ผมมักชักนำคนไปในทางเสีย. นั่นคือเหตุผลที่ผมได้รับเชิญมาพูดในวันรับปริญญาของคุณ. ถ้าผมมาพูดในวันปฐมนิเทศของคุณ, คุณบางคนอาจยังเรียนไม่จบในวันนี้ก็ได้. [เสียงหัวเราะจากผู้ฟัง]

ฮาร์วาร์ดเป็นประสบการณ์อันแสนพิเศษสำหรับผ ม. ชีวิตการเรียนประทับใจยิ่ง. ผมได้เข้าไปนั่งฟังวิชาต่าง ๆ มากมายซึ่งผมไม่ได้แม้กระทั่งลงทะเบียนเรียน. และชีวิตในหอพักก็สุดยอด. ผมพักที่แรดคลิฟฟ์ [วิทยาลัยหญิงซึ่งต่อมายุบรวมกับฮาร์วาร์ด], ในหอพักชื่อเคอร์รี่เออร์.
มีคนจำนวนมากเข้ามาอยู่ในห้องของผมตอนดึก ๆ เพื่อคุยกันถึงเรื่องต่าง ๆ เสมอ, เนื่องจากทุกคนรู้ว่าผมไม่ค่อยวิตกเรื่องการจะต้องลุกจากที่นอนหรือไม่ในวัน รุ่งขึ้น. นั่นคือที่มาของการเป็นผู้นำของกลุ่มต่อต้านสังคมของผม. เราเกาะกลุ่มกันเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าเราไม่เอาด้วยกับพวกสังคมจัดทั้งห ลาย.

แรดคลิฟฟ์เป็นที่อยู่อันยอดเยี่ยม. มีสาว ๆ ยั้วเยี้ยไปหมด, และหนุ่ม ๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกวิทย์-คณิต. ปัจจัยทั้งสองรวมกันเอื้อให้ผมมีโอกาสสูงยิ่ง, คุณคงพอจะรู้ว่าผมหมายถึงอะไรใช่ไหม [เสียงหัวเราะ]. ณ จุดนี้เองที่ผมเรียนรู้เรื่องชวนหดหู่ใจว่า การเพิ่มโอกาสไม่นำไปสู่ความสำเร็จเสมอไป. [เสียงหัวเราะ]

ความทรงจำ อันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งเกี่ยวกับฮาร์วาร์ดของผมเกิดขึ้นในเดือนมกร าคม 1975, เมื่อผมโทรศัพท์จากหอพักเคอร์รี่เออร์ไปหาบริษัทหนึ่งที่เมืองอัลบูเคอร์คี [ในรัฐนิวเม็กซิโก] ซึ่งได้เริ่มทำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกในโลก. ผมเสนอขายซอฟท์แวร์ให้เขา.

ผมกังวลว่าเขาจะรู้ว่าผมเป็นเพียงนักศึกษ าในหอพักและจะไม่พูดด้วย. แต่เขากลับพูดว่า “เรายังไม่เสร็จเรียบร้อยนัก, เดือนหน้าค่อยมาหาเราก็แล้วกัน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี, เพราะเรายังไม่ได้เขียนซอฟท์แวร์ชิ้นนั้นเลย. นับแต่เสี้ยววินาทีนั้นเอง, ผมทำโครงการเพื่อเอาคะแนนพิเศษเล็ก ๆ ชิ้นนั้นแบบหามรุ่งหามค่ำ ซึ่งเป็นจุดพลิกผันที่นำไปสู่การยุติการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของผม ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางอันพิเศษสุดกับบริษัทไมโครซอฟท์.

สิ่งที่ผมจำได้เหนืออื่นใดเกี่ยวกับฮาร์วาร์ดได้แก่การอยู่ท่ามกลางพลังงานแ ละปัญญา. มันอาจทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวา, น่าขวัญเสีย, บางทีถึงกับน่าท้อถอย, แต่ก็มีความท้าทายเสมอ. มันเป็นอภิสิทธิ์อันน่าทึ่ง – และแม้ว่าผมจะออกไปก่อนเรียนจบ, ผมได้ถูกปฏิรูปขนานใหญ่จากเวลาที่ผมอยู่ในฮาร์วาร์ด, จากมิตรภาพที่ผมได้สร้างขึ้น, และจากแนวคิดที่ผมได้พัฒนา.

แต่เมื่อมองย้อนกลับไปจริง ๆ … ผมมีความสลดใจอยู่อย่างหนึ่ง.

ผมออกจากฮาร์วาร์ดไปโดยไม่มีความตระหนักอย่างแท้จริงเลย ถึงความไม่เสมอภาคอันแสนโหดร้ายในโลก ความเหลื่อมล้ำอันน่าขนหัวลุกในด้านสุขภาพ, และด้านทรัพย์สิน, และด้านโอกาสซึ่งสาปแช่งคนเรือนล้านให้มีชีวิตอันสิ้นหวัง.

ผมได้เรี ยนรู้แนวคิดใหม่ ๆ ด้านเศรษฐศาสตร์และด้านการเมืองอย่างมากมายที่ฮาร์วาร์ด. ผมได้สัมผัสใกล้ชิดถึงความก้าวหน้าซึ่งกำลังเกิดขึ้นในด้านวิทยาศาสตร์.

ทว่าความก้าวหน้าของมนุษยชาติไม่ได้ขึ้นอยู่กับการค้นพบ แต่อยู่ที่การค้นพบเหล่านั้นถูกนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดความไม่เสมอภาคกันได้อย่างไรต่างหาก. ไม่ว่าจะผ่านทางระบอบประชาธิปไตย, การศึกษาที่แข็งแกร่ง, ระบบดูแลสุขภาพที่ดี, หรือโอกาสทางเศรษฐกิจที่กว้างขวาง การลดความไม่เสมอภาคกันถือเป็นผลสำฤทธิ์อันสูงที่สุดของมนุษย์เรา.

มออกจากมหาวิทยาลัยไปโดยแทบไม่รู้เลยว่าเยาวชนนับล้านคน ถูกโกงโอกาสทางการศึกษาในประเทศของเรานี่เอง. และผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคนเป็นล้าน ๆ ที่ต้องมีชีวิตอยู่กับความยากจนแสนสาหัสและโรคร้ายในประเทศกำลังพัฒนา.

เป็นเวลาหลายทศวรรษกว่าผมจะค้นพบ.

คุณ ๆ บัณฑิตทั้งหลายมาเรียนที่ฮาร์วาร์ดในช่วงเวลาที่ต่างไปจากเดิม. คุณรู้เกี่ยวกับความไม่เสมอภาคกันในโลกมากกว่ารุ่นที่มาก่อนคุณ. ในช่วงเวลาที่คุณอยู่ที่นี่, ผมหวังว่าคุณจะมีโอกาสได้คิดว่า ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าในอัตราเร่งนี้ ในที่สุดเราจะสามารถประจัญกับความไม่เสมอภาคกันเหล่านั้นได้, และเราก็จะเอาชนะมันได้ด้วย.

ลองจินตนาการดูซิ, นี่เพียงเพื่อคิดเล่น ๆ เท่านั้นนะ, ว่าคุณมีเวลาสองสามชั่วโมงต่อสัปดาห์และมีเงินสองสามดอลลาร์ต่อเดือน สำหรับอุทิศให้เพื่ออะไรสักอย่าง และคุณต้องการใช้เวลาและเงินนั้นในที่ซึ่งมีผลสูงสุดในด้านการช่วยชีวิตและก ารปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น. คุณคิดว่าคุณจะใช้เวลาและเงินนั้นที่ไหน ?

สำหรับเมลินดา [ภรรยาของบิลล์ เกตส์] กับผม, ความท้าทายก็เหมือนกัน นั่นคือ เราจะทำอย่างไรให้เกิดผลดีที่สุดต่อคนจำนวนมากที่สุดจากทรัพยากรที่เรามีอยู ่.

ในระหว่างที่เราปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับคำถามนี้, เมลินดาและผมได้อ่านบทความเกี่ยวกับเด็กในประเทศยากจนนับล้านคน ซึ่งตายไปทุกปีจากโรคที่เราทำให้หมดอันตรายไปนานแล้วในประเทศนี้. หัด, มาลาเรีย, ปอดชื้น, ไวรัสบีในตับ, ไข้เลือดออก. โรคหนึ่งซึ่งผมไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย,นั่นคือโรตาไวรัส, คร่าชีวิตเด็กปีละครึ่งล้านคน ไม่มีเด็กในสหรัฐอยู่ในกลุ่มนั้นแม้แต่คนเดียว.

เรารู้สึกตกใจ. เราคิดว่าถ้าเด็กเป็นล้านคนกำลังจะตาย แต่จริง ๆ แล้วพวกเขาอาจรอดหากได้รับความช่วยเหลือ, ชาวโลกคงจะเร่งค้นหาและส่งยาไปช่วยชีวิตแก่พวกเขา. แต่ชาวโลกก็ไม่ทำ. ด้วยเงินเพียงไม่ถึงดอลลาร์เท่านั้น, มีความช่วยเหลือซึ่งจะช่วยชีวิตพวกเขาได้ที่ไม่ถูกส่งไป.

หากคุณเชื่ อว่าทุกชีวิตมีค่าเท่ากัน, มันช่างน่าอับอายยิ่งเมื่อเรียนรู้ว่าบางชีวิตถูกมองว่ามีค่าพอน่าช่วยไว้แล ะบางชีวิตไม่มีค่าพอ. เราบอกกับตัวเราเองว่า “นี่มันไม่จริง. แต่ถ้ามันจริง, มันเป็นสิ่งที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือในลำดับต้น ๆ ของเรา”

ดังนั้นเราจึงเริ่มงานของเราในแนวเดียวกันกับทุกคนที่นี่คงจะเริ่ม. เราถามว่า “ชาวโลกปล่อยเด็กเหล่านั้นตายได้อย่างไร ?”

คำตอบนั้นง่าย, แต่บาดหู. ระบบตลาดไม่ให้รางวัลต่อการช่วยชีวิตเด็กเหล่านั้น, และรัฐบาลไม่ให้เงินสนับสนุน. ดังนั้นเด็กจึงตายเพราะแม่และพ่อของพวกเขาไม่มีอำนาจในตลาด และไม่มีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นในระบบ.

แต่คุณกับผมมีทั้งสองอย่าง.

เราจะทำให้อานุภาพของตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นสำหรับคนจน หากเราสามารถพัฒนาระบบทุนนิยมให้มีความสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นได้ ถ้าเราสามารถขยายอานุภาพของตลาดออกไปจนทำให้คนจำนวนมากขึ้นแสวงหากำไรได้, หรืออย่างน้อยก็พอทำมาหาเลี้ยงชีพได้, จะเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ต้องรับเคราะห์จากความไม่เสมอภาคที่โหดร้ายที่สุด. เราสามารถกดดันรัฐบาลทั่วโลกให้ใช้เงินของผู้เสียภาษีไปในทางที่สะท้อนคุณธร รมของผู้เสียภาษีได้ดีขึ้น.

หากเราสามารถค้นหากลวิธีที่จะสนองความต้ องการของคนจนได้ ด้วยหนทางที่ทำกำไรให้ภาคธุรกิจและสร้างคะแนนเสียงให้นักการเมืองได้พร้อม ๆ กัน, เราก็จะพบหนทางที่ยั่งยืนสำหรับลดความไม่เสมอภาคกันในโลก. กิจอันนี้ไม่มีขอบเขต. มันไม่มีวันสิ้นสุด. แต่ความพยายามอันเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น ที่จะเผชิญกับความท้าทายนี้จะเปลี่ยนโลกอย่างแน่นอน.

ผมมองว่าเราทำไ ด้, แต่ผมคุยกับผู้ที่มีความกังขาซึ่งอ้างว่าไม่มีหวัง. พวกเขากล่าวว่า “ความไม่เสมอภาคกันอยู่กับเรามาตั้งวันแรก, และก็จะอยู่กับเราไปจนวันสุดท้าย ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรา … ไม่มี … น้ำใจ.” ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ.

ผมเชื่อว่าเรามีน้ำใจมากจนไม่รู้ว่าจะใช้ทำอะไรหมด.

เราทุกคนในที่นี้, ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง, ได้เคยเห็นโศกนาฏกรรมของเพื่อนมนุษย์ที่ทำให้หัวใจของเราแตกสลาย, แต่เราก็มิได้ทำอะไรลงไป ไม่ใช่เพราะเราไม่มีน้ำใจ, หากเพราะเราไม่รู้ว่าจะทำอะไร. หากเรารู้ว่าจะช่วยเขาอย่างไร, เราคงได้ทำไปแล้ว.

อุปสรรคของความเปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่ที่การมีน้ำใจน้อยเกินไป; หากอยู่ที่ความสลับซับซ้อนมากเกินไป.

เพื่อจะแปลงความมีน้ำใจไปสู่การปฏิบัติ, เราต้องเข้าใจปัญหา, มองเห็นทางแก้ไข, และมองเห็นผลลัพธ์. แต่ความสลับซับซ้อนปิดกั้นขั้นตอนทั้งสามจนหมดมิด.

แม้จะมีระบบอินเต อร์เนตและข่าวตลอด 24 ชั่วโมงแล้วก็ตาม, มันยังเป็นภารกิจที่สลับซับซ้อนยิ่งที่จะทำให้คนเราเข้าใจปัญหาอย่างทะลุปรุ โปร่ง. เมื่อเครื่องบินตก, เจ้าหน้าที่จะออกแถลงการณ์ทันที. เขาสัญญาว่าจะสืบสวน, พิจารณาสาเหตุ, และป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกในอนาคต.

แต่ถ้าเจ้าหน้าที่มีความตรง ไปตรงมาจริง ๆ, เขาคงจะพูดว่า: “ในบรรดาผู้เสียชีวิตทั้งหมดในโลกที่ตายลงในวันนี้จากสาเหตุที่ป้องกันได้, ราวครึ่งเปอร์เซ็นต์ของพวกเขาอยู่ในเครื่องบินลำนั้น. เราตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าเราจะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อแก้ปัญหาที่คร่าชีวิตข องคนครึ่งเปอร์เซ็นต์นั้น”

ปัญหาที่ใหญ่กว่าไม่ใช่การตกของเครื่องบิน, หากเป็นความตายของคนเป็นหลักล้านที่ป้องกันได้.

เราไม่ค่อยได้อ่านข่าวเกี่ยวกับความตายพวกนี้. สื่อรายงานเฉพาะสิ่งใหม่ ๆ และเรื่องคนตายเป็นหลักล้านไม่มีอะไรใหม่. ดังนั้นมันจึงเป็นเพียงเรื่องประกอบ, ซึ่งง่ายต่อการมองข้าม. แต่เมื่อเราเห็นหรืออ่านพบ, ก็ยังยากที่จะเฝ้าดูปัญหานั้น. มันยากยิ่งที่จะมองดูความทุกข์ร้อนในเมื่อสถานการณ์แสนจะสลับซับซ้อน จนเราไม่รู้ที่จะช่วยอย่างไร. และดังนั้นเราจึงเมินหน้าหนี.

หากเราเ ข้าใจปัญหาจริง ๆ, ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก, เราจะมาถึงขั้นตอนที่สอง นั่นคือ การทะลุทะลวงความสลับซับซ้อนเพื่อให้ได้มาซึ่งทางแก้ไข.

การค้นหาทาง แก้ไขให้พบนั้นสำคัญยิ่งหากเราจะใช้ความมีน้ำใจของเราให้ได้ผลสู งสุด. หากเรามีคำตอบที่ชัดเจนและได้พิสูจน์มาแล้วเมื่อองค์กรหรือบุคคลใดถามว่า “ผมจะช่วยได้อย่างไร ?” เราจะดำเนินการได้ทันที – และเราจะสามารถทำให้เกิดความมั่นใจได้เลยว่าไม่มีน้ำใจในโลกนี้ ที่จะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์แม้แต่หยดเดียว. แต่ความสลับซับซ้อนทำให้ยากแก่การที่จะวางแนวทางดำเนินการสำหรับทุก ๆ คนที่มีน้ำใจ และนั่นแหละที่มันยากที่จะทำให้การมีน้ำใจของพวกเขาบรรลุผล.

การทะลุทะลวงความสลับซับซ้อนเพื่อค้นหาทางแก้ไขมีขั้นตอนที่พอจะคาดได้อยู่ส ี่ขั้นด้วยกันคือ พิจารณาจุดหมาย, ค้นหากลวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด, แสวงหาเทคโนโลยีทีเหมาะสมที่สุดสำหรับกลวิธีนั้น, และในระหว่างที่แสวงหาอยู่, ก็ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วอย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ต้องใช้ความรอบรู้ค่อนข้างสูง, เช่น ยา, หรือชนิดที่ง่ายกว่า, เช่น มุ้ง.

ขอยกการแพร่ระบาดของโรคเอดส์มาเป็น ตัวอย่าง. จุดหมายกว้าง ๆ, แน่ละ, ย่อมได้แก่การกำจัดโรคนั้น. กลวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้แก่การป้องกัน. เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดน่าจะเป็นวัคซีนที่ฉีดเพียงครั้งเดียวแล้วคุ้มครอ งได้ตลอดชีวิต. ดังนั้นรัฐบาล, บริษัทยา, และมูลนิธิทั้งหลายจะต้องสนับสนุนเงินแก่การวิจัยวัคซีน. แต่งานวิจัยคงใช้เวลาเกินทศวรรษ, ดังนั้นในระหว่างที่งานวิจัยกำลังดำเนินไป, เราต้องใช้สิ่งที่เรามีอยู่ในมือแล้ว และกลวิธีป้องกันที่ดีที่สุดที่เรามีในปัจจุบันได้แก่การชักจูงผู้คนให้หลีก เลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง.

การจะไปให้ถึงจุดหมายนั้นต้องเริ่มจากวงจรที่มีสี่ขั้นตอนด้วยกันอีก. นี่คือรูปแบบ.
ส ิ่งสำคัญคือต้องไม่หยุดคิดและหยุดทำ และจะหัวเด็ดตีนขาดอย่างไรจะต้องไม่ทำสิ่งที่เราทำกับมาลาเรีย และวัณโรคในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 – ซึ่งได้แก่การยอมแพ้แก่ความสลับซับซ้อนและวางมือไปเลย.

ขั้นตอนสุดท้ าย – หลังจากเข้าใจปัญหาและค้นพบกลวิธีแล้ว ได้แก่การวัดผลงานของคุณและเผยแพร่ความสำเร็จและความล้มเหลวของคุณ เพื่อคนอื่นจะได้เรียนรู้จากความพยายามของคุณ.

คุณต้องมีข้อมูล, แน่ละ. คุณต้องแสดงให้เห็นได้ว่าโครงการหนึ่งฉีดวัคซีนให้เด็กจำนวนล้าน. คุณต้องแสดงให้เห็นได้ว่าจำนวนเด็กที่ตายด้วยโรคร้ายเหล่านั้นลดลง. นี่มีความสำคัญยิ่งไม่เฉพาะต่อการปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น, แต่เพื่อช่วยดึงการลงทุนเพิ่มขึ้นจากภาคธุรกิจและรัฐบาลด้วย.

แต่ถ้า คุณต้องการดลใจให้คนอื่นเข้าร่วม, คุณจะต้องแสดงให้เห็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือตัวเลข; คุณต้องแสดงให้เห็นถึงผลดีที่งานนั้นมีต่อบุคคลในแบบที่ให้ภาพชนิดติดตา เพื่อให้คนอื่นเกิดความรู้สึกว่าการช่วยชีวิตหนึ่งนั้นสำคัญแค่ไหนต่อครอบคร ัวที่ได้รับผล.

ผมจำได้ครั้งผมไปดาวอส [การพบปะกันประจำปีของผู้นำทางธุรกิจและการเมือง ณ เมืองสำหรับพักผ่อนซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาของสวิตเซอร์แลนด์] เมื่อหลายปีมาแล้วและเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการซึ่ง กำลังปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับหนทางที่จะช่วยชีวิตคนเป็นหลักล้าน. หลักล้านนะครับ ! ลองนึกถึงความตื่นเต้นของการช่วยชีวิตคนเพียงคนเดียว แล้วคูณด้วยหลักล้าน. … ทว่านั่นเป็นคณะกรรมการที่น่าเบื่อที่สุดที่ผมเคยมีส่วนร่วม น่าเบื่อที่สุดในประวัติศาสตร์.
น่าเบื่อเสียจนผมเองก็ทนไม่ไหว.

สิ่งที่ทำให้ประสบการณ์ครั้งนั้นโดดเด่นเป็นพิเศษได้แก่ ผมเพิ่งมาจากรายการที่เราเปิดตัวซอฟท์แวร์รุ่นที่ 13 ชิ้นหนึ่ง, และเราทำให้คนกระโดดขึ้นลงและส่งเสียงดังลั่นด้วยความตื่นเต้น. ผมชอบทำให้คนตื่นเต้นเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ แต่ทำไมเราสร้างความตื่นเต้นเกินนั้นไม่ได้ในการช่วยชีวิตคน ?

คุณจะ ทำให้ผู้คนตื่นเต้นไม่ได้หากคุณไม่สามารถทำให้เขามองเห็น และเกิดความรู้สึกต่อผลลัพธ์ที่จะออกมา. และคุณจะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร – เป็นคำถามที่สลับซับซ้อน.

อย่างไรก็ดี, ผมยังมีความเชื่อมั่นว่าทำได้. ใช่, ความไม่เสมอภาคกันมีอยู่คู่กับเรามาชั่วกัปชั่วกัลป์แล้ว, แต่เครื่องมือใหม่ที่เรามีสำหรับทะลุทะลวงความสลับซับซ้อนมิได้มีอยู่คู่กับ เรามาชั่วกัปชั่วกัลป์ด้วย. มันเป็นของใหม่ มันจะช่วยทำให้ความมีน้ำใจของเราเกิดผลสูงสุด และนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมอนาคตจึงอาจต่างจากอดีตได้.

นวัตกรรมที่ย ิ่งใหญ่และที่กำลังเกิดขึ้นในยุคนี้ – เทคโนโลยีชีวภาพ, คอมพิวเตอร์, ระบบอินเตอร์เนต – ให้โอกาสซึ่งเราไม่เคยมีมาก่อนแก่เรา ที่จะกำจัดความยากจนข้นแค้นระดับแสนสาหัสสุด ๆ และกำจัดความตายจากโรคร้ายที่ป้องกันได้.

เมื่อหกสิบปีที่แล้ว, จอร์จ มาร์แชล [นายพลเมริกันซึ่งต่อมาดำรงทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีต่างประเทศ ] มาในพิธีประสาทปริญญานี้และได้แถลงเกี่ยวกับโครงการเพื่อช่วยเหลือประเทศในย ุโรปหลังสงคราม [โลกครั้งที่ 2]. เขาพูดว่า “ผมคิดว่าความยากลำบากอย่างหนึ่งได้แก่ปัญหานั้นแสนสลับซับซ้อน จนทำให้ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่สื่อและวิทยุนำมาเสนอต่อสาธารณชนยากเกินสำหรับค นทั่วไป ที่จะประเมินสถานการณ์ได้อย่างแจ้งชัด. จากระยะทางอันแสนไกลนี้ เป็นไปไม่เลยที่จะรู้ซึ้งถึงความหมายที่แท้จริงทั้งหมดของสถานการณ์.”

สามสิบปีหลังจากวันที่มาร์แชลกล่าวคำปราศรัย, เมื่อเพื่อนร่วมรุ่นของผมจบการศึกษาโดยปราศจากผม, เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาขึ้นมาใหม่จะทำให้โลกใบนี้เล็กลง, เปิดกว้างขึ้น, เห็นได้ง่ายขึ้น, ลดระยะทางลง.

การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคา ต่ำทำให้เกิดโครงข่ายอันทรงพลังอย่างหน ึ่ง ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนโอกาสเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการติดต่อสื่อสาร.

สิ่งมหัศจรรย์เกี่ยวกับโครงข่ายนี้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะที่มันทำให้ระยะทางหดหา ยไป และทำให้ทุกคนเป็นเพื่อนบ้านของคุณเท่านั้น. มันยังช่วยเพิ่มจำนวนของผู้ที่มีปัญญาเฉียบแหลมทั้งหลาย ที่เราจะให้ทำงานเพื่อแก้ปัญหาเดียวกันอีกด้วย และนั่นได้ยกระดับอัตราของนวัตกรรมให้สูงขึ้นอย่างไร้เทียมทานทีเดียว.

ในขณะเดียวกัน, ต่อทุกคนในโลกที่เข้าถึงเทคโนโลยีนี้, จะมีอีกห้าคนที่เข้าไม่ถึง.
น ั่นหมายความว่าผู้มีปัญญาทางสร้างสรรค์จำนวนมากถูกปล่อยทิ้งไว้นอกวงของการป รึกษาหารือนี้ นั่นหมายถึงคนฉลาดที่มีความรอบรู้อันเกิดจากการปฏิบัติงาน และจากประสบการณ์อันตรงกับปัญหาซึ่งไม่มีเทคโนโลยีสำหรับฝึกฝนตนเอง หรือมีส่วนร่วมในการให้แนวคิดแก่ชาวโลก.

เราต้องการให้คนจำนวนมากที่ สุดเท่าที่จะมากได้เข้าถึงเทคโนโลยีนี้, เพราะความก้าวหน้าเหล่านี้กำลังจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติในด้านที่มนุษยชาติ สามารถทำอะไรให้กันและกัน. มันไม่ได้ช่วยเฉพาะรัฐบาลเท่านั้น, แต่ยังช่วยมหาวิทยาลัย, บริษัท, องค์กรเล็ก ๆ, และบุคคล, ให้เข้าใจปัญหา, มองเห็นกลวิธี, และวัดผลของความพยายามของพวกเขาในด้านการแก้ปัญหาความหิวโหย, ความยากจน, และภาวะสิ้นหวังที่จอร์จ มาร์แชลล์ พูดถึงเมื่อ 60 ปีที่แล้ว.

ท่านสมาชิกของครอบครัวฮาร์วาร์ดครับ ณ ที่นี้มีการรวมตัวกันอันยิ่งใหญ่ของผู้ที่มีพรสวรรค์ทางปัญญาของโลก.

รวมตัวกันเพื่ออะไรครับ ?

แน่นอนละที่คณาจารย์, ศิษย์เก่า, นักศึกษา, และผู้บริจาคทรัพย์ให้แก่ฮาร์วาร์ดได้ใช้พลังอำนาจของตนช่วยปรับปรุงชีวิตขอ งคนที่นี่และทั่วโลก. แต่ว่าเราจะทำมากกว่านี้อีกได้ไหม ?
ฮาร์วาร์ดสามารถจะอุทิศพลังทางปัญญาของตนเพื่อช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้คน ที่ไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อของตนได้ไหม ?

ผมใคร่จะขอสิ่งหนึ่งจากท่านคณบดีและท่านศาสตราจารย์ – ผู้นำทางปัญญาของฮาร์วาร์ด นั่นคือ เมื่อท่านจ้างคณาจารย์, มอบตำแหน่งถาวรให้อาจารย์, ทบทวนหลักสูตร, และพิจารณาคุณสมบัติสำหรับประสาทปริญญา, กรุณาถามตัวของท่านเองดังนี้:

สติปัญญาชั้นยอดเยี่ยมของเรานั้นควรจะอุทิศให้แก่การแก้ปัญหาที่หนักหนาสาหัสที่สุดของเราหรือไม่ ?

ฮาร์วาร์ดควรจะกระตุ้นคณาจารย์ให้ประจัญกับความไม่เสมอภาคที่หนักหนาสาหัสที ่สุดของโลกหรือไม่ ? นักศึกษาของฮาร์วาร์ดควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความลึกล้ำของความยากจนบนผืนโลก หรือไม่ … ความแพร่หลายของความหิวโหยของชาวโลก … ความขาดแคลนน้ำสะอาด … เด็กผู้หญิงไร้โอกาสเรียนหนังสือ … เด็กซึ่งตายจากโรคร้ายที่เราสามารถเยียวยาได้ ?

ผู้ที่มีอภิสิทธิ์มากที่สุดในโลกควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของผู้ที่มีอภิสิทธิ์ต่ำที่สุดในโลกหรือไม่ ?

นี่มิใช่คำถามเชิงเล่นคำ – ท่านจะตอบด้วยนโยบายของท่าน.

คุณแม่ของผม, ผู้ซึ่งแสนจะภูมิใจเมื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้รับผมเข้าเรียน ไม่เคยเลิกกดดันผมให้ช่วยผู้อื่นให้มากขึ้น. ไม่กี่วันก่อนวันแต่งงานของผม, ท่านจัดงานเป็นเกียรติแก่เจ้าสาว, ซึ่งในงานนั้นเองที่ท่านอ่านจดหมายเกี่ยวกับชีวิตแต่งงานที่ท่านเขียนถึงเมล ินดาออกมาดัง ๆ. คุณแม่ของผมกำลังป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งในตอนนั้น, แต่ท่านเห็นโอกาสอีกครั้งที่จะส่งสารด้านแก่นคิดของท่าน, และในตอนจบจดหมายท่านพูดว่า “จากผู้ที่ได้รับมากทั้งหลาย, มีความคาดหวังว่าพวกเขาจะให้มากด้วย”

เมื่อท่านพิจารณาสิ่งที่เราทั้ งหลายในที่นี้ได้รับ – ในด้านพรสวรรค์, ด้านอภิสิทธ์, และด้านโอกาส โลกมีสิทธิ์คาดหวังจากเราอย่างแทบไม่จำกัด.

ในกรอบของความเป็นไปได้ในยุคนี้, ผมขอแนะนำบัณฑิตแต่ละคนในที่นี้ให้หยิบประเด็นขึ้นมาสักประเด็น ปัญหาที่สลับซับซ้อน, ความไม่เสมอภาคที่ลึกล้ำ, และสร้างความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเด็นนั้นขึ้นมา. หากคุณทำให้มันเป็นจุดมุ่งเน้นในชีวิตการงานของคุณ, นั่นจะวิเศษยิ่ง. แต่คุณไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นเพื่อให้เกิดผลดี. ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์, คุณอาจใช้อานุภาพที่กำลังเพิ่มขึ้นของระบบอินเตอร์เนตเพื่อเรียนรู้, สืบหาผู้ที่มีความสนใจคล้ายกัน,
ทำความเข้าใจถึงอุปสรรค, และหาทางทะลุทะลวงมัน.

อย่าให้ความสลับซับซ้อนยับยั้งคุณ. จงเป็นนักเคลื่อนไหว. เลือกประจัญกับความไม่เสมอภาคที่ร้ายแรง. มันจะเป็นประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ในชีวิตของคุณ.

คุณ ๆ บัณฑิตทั้งหลายเติบใหญ่ขึ้นมาในช่วงเวลาอันน่าทึ่งยิ่ง. เมื่อคุณออกจากฮาร์วาร์ดไป, คุณมีเทคโนโลยีที่สมาชิกในรุ่นผมไม่เคยมี. คุณมีความตระหนักในความไม่เสมอภาคกันในโลก, ซึ่งเราไม่มี. และกับความตระหนักนั้น, คุณคงจะมีจิตวิญญาณที่รอบรู้ซึ่งจะตามหลอนคุณหากคุณทอดทิ้งคนที่ชีวิตของเขา คุณอาจเปลี่ยนได้ด้วยความพยายามเพียงน้อยนิด.
คุณมีมากกว่าเรามี. คุณต้องเริ่มให้เร็วกว่า, และสู้ต่อไปให้ยาวนานกว่า.

ในเมื่อคุณรู้สิ่งที่คุณรู้, คุณจะงอมืองอเท้าอยู่ได้อย่างไร ?

และผมหวังว่าคุณจะกลับมาที่ฮาร์วาร์ดนี่อีก 30 ปีจากวันนี้ไป และมาไตร่ตรองถึงการใช้พรสวรรค์และพลังงานของคุณ. ผมหวังว่าคุณจะวินิจฉัยตัวคุณเองไม่เฉพาะในด้านของความสำเร็จในอาชีพเท่านั้น, แต่ในด้านผลงานของคุณที่เกี่ยวกับความไม่เสมอภาคกันอันล้ำลึกที่สุดด้วย … ในด้านที่เกี่ยวกับคุณได้ปฏิบัติต่อคนที่อยู่คนละฟากโลกได้ดีแค่ไหนในเมื่อคนเหล่านั้น ไม่มีอะไรร่วมกับคุณเลยเว้นแต่ความเป็นมนุษย์ของพวกเขาเท่านั้น.

ขอให้โชคดีครับ.

Share

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.