Author Archives: ชิตพงษ์ วุทธานันท์

มหากรุณาธารณีสูตร

มหากรุณาธารณีสูตร (ฟัง)
นะโมรัตนตรายายะ นะโมอายะชานะ สักการา เปโรชานะ
โยกะระชายะ ตัททะกาทายะ อะระหะเต สังยาสัง พุทธายะ
นะโมสังวา กัตทะกาเตเต อะระหะตาเต สังยาสัง พุทธเตเต
นะโมอะยะอวโลเกเต โชระยะพุทธิสัตวายะ มหาสัตวายา
มหากรุณิกายะ กายะทา โอม ธารา ธาระ ถิริถิรี ธุรู ธุรู อิติเว
อิติชาเล ชาเล กุระชาเล กุระชาเล กุสสุเม กุสสุมา วาเร อิมิมิริชชิติ
โชกะระมะ ปะระยะโช อา

มหากรุณาธารณีสูตร (ธิเบต) (ไต่ ปุย จิ่ว)

ฟัง เวอร์ชั่นเสียงผู้หญิง
ฟัง เวอร์ชั่นเสียงเด็ก
DOWNLOAD เวอร์ชั่นเสียงเด็ก
DOWNLOAD เวอร์ชั่นเสียงผู้ชาย

• นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย • นำ มอ ออ ลี เย •
• ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย • ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
• หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย • หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย • งัน
• สัต พัน ลา ฮัว อี • ซู ตัน นอ ตัน เซ
• นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
• ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ • นำ มอ นอ ลา กิน ซี
• ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม • สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง
• ออ ซี เย็น • สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค
• มอ ฮัว เตอ เตา • ตัน จิต ทอ • งัน ออ พอ ลู ซี • ลู เกีย ตี
• เกีย ลอ ตี • อี ซี ลี • หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ • สัต พอ สัต พอ
• มอ ลา มอ ลา • มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน • กี ลู กี ลู กิด มง
• ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี • หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี • ทอ ลา ทอ ลา
• ตี ลี นี • สิด ฮู ลา เย • เจ ลา เจ ลา • มอ มอ ฮัว มอ ลา
• หมก ตี ลี • อี ซี อี ซี • สิด นอ สิด นอ • ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
• ฮัว ซอ ฮัว ซัน • ฮู ลา เซ เย • ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา • ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
• ซอ ลา ซอ ลา • สิด ลี สิด ลี • ซู ลู ซู ลู • ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
• ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย • มี ตี ลี เย • นอ ลา กิน ซี • ตี ลี สิด นี นอ
• ผ่อ เย มอ นอ • ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ถ่อ เย •หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
• ซอ ผ่อ ฮอ • สิด ทอ ยี อี • สิด พัน ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ
• นอ ลา กิน ซี • ซอ ผ่อ ฮอ • มอ ลา นอ ลา • ซอ ผ่อ ฮอ
• สิด ลา เซง ออ หมก เค เย • ซอ ผ่อ ฮอ • ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
• ซอ ผ่อ ฮอ • เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ • ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย
• ซอ ผ่อ ฮอ • นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย
• ซอ ผ่อ ฮอ • นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย • นำ มอ ออ ลี เย • ผ่อ ลู กิต ตี
• ชอ พัน ลา เย • ซอ ผ่อ ฮอ • งัน สิด ติน ตู • มัน ตอ ลา • ปัด ถ่อ เย • ซอ ผ่อ ฮอ

—————————————————————————————

ใจความเป็นภาษาไทย

ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะ ผู้ห่างไกลจากบาปอกุศล
วัตถุประสงค์แห่งบทนี้… พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนชาวโลก
ให้ปฏิบัติทางจิตเป็นมูลฐาน
พระสัทธรรมทั้งหลายล้วนกำเนิดมาแต่จิต

เหตุนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความชัดแจ้งแห่งจิต
และมองเห็นสภาวะแห่งตน จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ

เมื่อไม่แจ้งชัดในจิตก็ไม่สามารถเห็นสภาวะแห่งตน
หากแต่จิตมีความมั่นคง ก็สามารถเดินทางสู่พระนฤพานได้

ขอนอบน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม)
ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
พระโพธิสัตว์ผู้สงสารชีวิตแห่งสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์
เขาเหล่านั้นล้วนมีความทุกข์อันเกิดจากการหลงลืมสภาวะเดิมของตน
จำต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ พระองค์พิจารณาตามนี้
จึงเกิดเมตตาจิตที่จะโปรดสัตว์

ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
…หากตั้งใจในธรรม นอบน้อมต่อความแจ้งในสภาวะเดิม
ก็จะถึงความหลุดพ้น…

เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น
มวลสรรพสัตว์ในโลกอันไพศาล ถ้ารู้สึกตัวแล้วลงมือปฏิบัติ
ล้วนถึงความหลุดพ้นได้

ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต

… พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเมตตากรุณาไม่มีประมาณ
นำสัทธรรมอันเป็นความดับสูญโดยแท้จริง
ปลุกให้มนุษย์ฟื้นคืนสภาวะเดิมที่มีอยู่
เข้าถึงสัทธรรมอันบริสุทธิ์

องค์อริยะผู้อิสระ ผู้มีกายใจอันบริสุทธิ์สะอาด
…กาย ใจ จะบริสุทธิ์ได้ ต้องตั้งอยู่ในสัจธรรม
ปฏิบัติตนอยู่ในศีล

การปฏิบัติธรรมต้องถือความสัจเป็นพื้นฐาน
ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่อริยสัจ
…หากการปฏิบัติธรรมไม่ประกอบด้วยความสัจ
ก็จะไม่พบหนทางสู่ความสำเร็จ

เนื่องจากความสัจนั้นเป็นธรรมที่ปราศจากการหลอกลวง
จิตจึงรวมเป็นหนึ่งได้
เมื่อมีความสัจ ก็จะมีความเข้าใจ
เมื่อเข้าใจก็จะมองเห็นความปลอดโปร่ง
เมื่อปลอดโปร่งก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง
และกลับกลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

…ผู้ที่จะนอบน้อมเข้าถึงองค์อริยะ
จำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร
มีจิตใจมั่นคงเป็นหนึ่ง จะกระทำโดยเร่งรีบไม่ได้

ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองค์แห่งพระธรรมคัมภีร์
หมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรม
มีความคิดดำริมั่นที่จะก้าวข้ามห้วงแห่งโอฆะ
(โอฆะ = การเวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้ )
คิดจะกระทำประโยชน์แก่สรรพชีวิต

…ผู้ปฏิบัติต้องจงใจมุ่งไปข้างหน้า
ฝึกฝนให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่ง (เอกัคคตา)
เพื่อให้สำเร็จในมรรคผล

ด้วยความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์
ทรงย้ำเตือนให้ยึดถือพระไตรสรณาคมน์
ต้องปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม
ทำตนเป็นตัวอย่างเพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้รับรู้เป็นแบบอย่าง
และเจริญรอยตาม

สาธุชนผู้ปฏิบัติตามพระพุทธองค์และพระธรรม
ยิ่งต้องมีความเมตตากรุณาจิตและโพธิจิตเพื่อโปรดสัตว์
รักษาพระธรรมยิ่งกว่าชีวิตและเผื่อแผ่ทั่วไปไม่มีประมาณ

…พระโพธิสัตว์เล็งเห็นว่าชาวโลกถือเอาความรวย,
มีชื่อเสียง, ศักดินา เป็นที่นิยมศรัทธา
อันเป็นการเพิ่มพูนความทุกข์
พระองค์จึงเตือนจิตให้มนุษย์ จงผ่อนใจในทางโลก
โน้มน้าวจิตใจมาในทางมรรคผล เมื่อจิตว่างแล้ว
พระสัทธรรมอันพิสุทธิ์ก็จะเจริญขึ้น

…ทุกคนที่ปฏิบัติสามารถรู้ได้เห็นได้
และบรรลุสู่พระพุทธภูมิได้โดยเสมอกัน

ผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการชมเชย
ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ

…ไม่ว่านักปราชญ์หรือผู้โง่เขลา เบาปัญญา
คนหรือสัตว์ ล้วนสามารถหลุดพ้นได้
ถ้าเขาเหล่านั้นปฏิบัติธรรมด้วยความสัจ

ผู้ปฏิบัติต้องถือพระสัทธรรมเป็นสูญ ไม่ข้องแวะ
ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่
และต้องละความวิตกกังวล กำจัดความโกรธ
ความโลภ ความหลง โดยใช้หลักแห่งปัญญาดับกิเลสให้จิตสงบ
เป็นอยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข

ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องกัน จิตต้องตรงกับพระธรรม
ห้ามมิให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด
ทั้งนี้ เนื่องจากว่าหากปล่อยให้ความคิดทางโลก เกิดขึ้นในจิต กาย
ใจ
ก็จะไม่บริสุทธิ์ ทำให้เกิดการขัดแย้งกับพระธรรม
ไม่อาจจะพบความสันติสุขได้

ความสะอาดจิตสะอาดสดใสไร้ราคะ
ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว
ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามาร(กามกิเลส)
หากสามารถตั้งจิตข่มจิตสำรวมกาย วาจา และจิต
ละทิ้งโลกาวิสัยทั้งหมดก็จะเข้าถึงพุทธสภาวะที่มีอยู่เดิม

.. ถ้าทำให้จิตมีความสงบนิ่งอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง
นอน
ก็จะมีความสำเร็จในธรรมโดยมิรู้ตัว
..พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าได้หลุดพ้น
ในขณะที่อยู่ในโลกอันมากล้นไปด้วยกิเลสนี้

เป็นโลกนาถ มีความเป็นอิสระ
…มีกุศลจิตสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีรัศมีสว่างรอบกาย
และสามารถร่วมกับดินฟ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
รักษาความมีกุศลจิต อย่าทำลายตนเอง อย่าหลงผิดเป็นชอบ
สิ่งสำคัญ…ต้องรักษาจิตให้บริสุทธิ์

ผู้มีความกรุณา ผู้ปลดปล่อยทุกข์ เป็นผู้มีจิตในทางธรรม
ดำรงมรรคมั่นคง มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งใหญ่
…เมื่อจิตมีความสงบก็สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งชั่วร้ายให้กลับกลายเป็นดี

กระทำตามโอวาท อย่ามีจิตหลงผิด การเน้นปฏิบัติอนัตตธรรม
(อนัตตธรรม = ธรรมชาติที่เป็นความไม่มีตัวตน) มองเห็นสรรพธรรมเป็นสูญ
(สูญ = สูญตา = ความว่าง)
มองความรุ่งเรืองแห่งลาภยศ สรรเสริญเป็นสูญ
มองให้เห็นเป็นเงาลวง ทำจิตใจร่างกายให้หมดจด
พุทธธรรมมีความเสมอภาค อีกทั้งยังอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลก
ผู้ที่มีปัจจัยแห่งบุญย่อมได้รับความสุข

ความคิดคำนึงเกิดมาแต่จิต จิตเป็นใหญ่
จิตเป็นประธานแห่งบุญและบาป
ผู้ปฏิบัติต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล ความคิดฟุ้งซ่าน
ระงับความวิตกกังวล เพียรพยายามเสาะหาสัจธรรม
ชำระล้างอายตนะภายในให้สะอาดพิสุทธิ์ ละความห่วงใยใดๆให้สิ้นเชิง

ความมีอิสระทันที
ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระคือมีอิสระทุกเมื่อ
การปฏิบัติกระทั่งสำเร็จวิชชาธรรมกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ
โดยปกติแล้วผู้ที่มีจิตว่างก็จะมีความสะอาดทั้งกายและจิต
เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วก็สามารถบรรลุมรรคผลได้
และก็จะตั้งอยู่เช่นนั้น ไม่มีวันเสื่อมถอย

การเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษา
ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค
(มรรคผล-นิพพาน)

ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ
ไม่ลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้

พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้
ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน
ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนกัน
…กำจัดความหลงผิด ความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางปัจจัยทางโลก

เมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส
ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้

เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว
จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน

ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า
กระหึ่มไปทั่วสารทิศ
…ธรรมเหมือนดังฟ้าร้องคำรามไปทุกสารทิศ
เป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้
ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว

การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใจยาก
และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ หรือคาดคิดได้
เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม
…ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมบรรลุสู่ภูมิแห่งพุทธ

การชักชวนตามพระศาสนา ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ
…ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
อย่าฝืนกระทำตามใจชอบ

เป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา
..ผู้ปฏิบัติธรรม มีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่
ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐานใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์
ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น
แต่หากไม่มีจิตใจมั่นคงกำจัดกิเลสในตนไม่หมด
ก็ไม่มีทางที่จะให้ความว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมปรากฏออกมาได้เลย.

ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ

ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย
เป็นการอนุโมทนาตามเหตุตามปัจจัย
…ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก
ถ้าสามารถอดทนต่อความยากลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันยิ่งได้

จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง
ผู้จะบรรลุธรรมหากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม
ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์

การประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรมไม่ละจากตัวตน

การประกอบธรรม โดยปราศจากความคิดคำนึงมีความเป็นอิสระสูง

ผู้ปฏิบัติเพียงแต่มีความมุ่งมั่น
มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง
มีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว ก็จะได้เห็นองค์พระโพธิสัตว์

ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์
และคุ้มครองสรรพสัตว์โดยไม่ละทิ้ง

น้ำอมฤตทานสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง

การตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต
ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องมีความวิริยะพากเพียรอย่างแรงกล้า
ปฏิบัติทุกวันทุกคืนเสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย

เป็นการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฏิบัติจะต้องถือ “ตัวเขา-ตัวเรา”
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เพียงแต่ไม่เห็นลักษณะตัวเขาตัวเรา
แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา

มหากรุณา ให้ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต
เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค
…รักในตนเองเท่าใด ก็ให้รักผู้อื่นเท่านั้น

นักปราชญ์ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต
…ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์
เห็นผู้ทำดีจะต้องช่วยกันรักษา
ผู้ที่เกิดความท้อถอยก็ต้องส่งเสริมให้กำลังใจ

ความคมของวัชระ ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม

สุรเสียงก้องไปสิบทิศ เป็นสุรเสียงแห่งความปิติยินดี

ความสำเร็จผล มงคล นิพพาน ระงับภัยเพิ่มพูลประโยชน์
พระสัทธรรมไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาวะอันสงบมาแต่เดิม

ความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย
เข้าถึงพระวิสุทธิมรรคปราศจากขอบเขตอันจำกัด
สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง
ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้
ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในพระสัจธรรมและความหลอกลวง(ไม่แท้)
ก็จะสำเร็จได้ง่าย

ความไพศาลของพระพุทธธรรม
ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล

ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า
(สุญญตาธรรม)

ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา
แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรม
อีกทั้งยังเปิดเผยหัวใจอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้

เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน

คนเรานั้นมีโรคทางจิตเป็นภัยคุกคาม
พระธรรมโอสถเท่านั้นที่สามารถรักษาให้หายได้

สัตว์ทุกประเภทมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน

สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน
บุคคลมีขันติธรรมก็จะเข้าถึงธรรมได้ด้วยดี
สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด

(ต่อเนื่องกับบทก่อน) ความเมตตาอันสูงสุด การใช้วชิรธรรมจักร
ปราบเหล่ามารศัตรูได้รับความสำเร็จ
สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จในความบริสุทธิ์ได้
จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย

พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต
จะต้องปฏิบัติเพื่อได้รับความสุขร่วมกัน
ย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น
ละจากกิเลส

ผู้ปฏิบัติไม่ยึดในทางใดทางหนึ่ง
ปฏิบัติโดยการพิจารณา พร้อมทั้งมีหิริโอตตัปปะ
..มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง สำเร็จได้ด้วยการพิจารณา
ในทุกขณะจะต้องพิจารณาจิตของตน
รักษาไว้ในทุกเหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้

รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร (ภัทร = เจริญ,ประเสริฐ)
เถระเพ่งโดยอิสระ
เป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักของพระอริยะ

การปฏิบัติให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลัก

คุณธรรมจะสำเร็จได้ ด้วยสภาวะแห่งเมตตาธรรม
หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลก็ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม

พระคาถาทั้งหมดแห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ในประโยคนี้
มีนัยบ่งบอกถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์
เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับหิตานุหิตประโยขน์
มีพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย

เน้นย้ำให้พยายามควบคุมกายใจไม่ให้ลื่นไหลไปตามอารมณ์ที่มากระทบ
โน้มนำเอาฌานสมาธิเพ่งการเกิดการดับ

เป็นการสาธยายมนต์สรรเสริญพระอริยะ และกล่าวย้ำถึงการปฏิบัติธรรม

ต้องละความเป็นตัวตน, บุคคล, เรา-เขา
จึงสามารถไม่ให้เกิดความคิดนึกอันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ได้
…ความนึกคิดติดยึดไม่เกิด ความเข้าใจถึงธรรมก็จะเป็นที่หวังได้

พระสัทธรรมไม่มีความสิ้นสุด
บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีความบริสุทธิ์เป็นเครื่องอยู่
นำทางสู่แดนสุขาวดี
…มีการเกิดย่อมต้องมีการตาย มีความชนะย่อมต้องมีความพ่ายแพ้…

แต่ชาวโลกผู้ตกอยู่ภายใต้อวิชชากลับยินดีต่อการเกิดเกลียดชังความตาย
ท้ายที่สุดก็ต้องตายอยู่นั่นเอง
ฉะนั้นหากต้องการรอดพ้นจากความตาย
จะต้องค้นหาความเป็นในความตายให้ได้เสียก่อน

ผู้ปฏิบัติต้องสำรวมตาเห็นรูป ไม่ปรุงแต่งไปตามรูปที่มองเห็น
สำรวมหูฟังเสียง ไม่ปรุงแต่งไปตามเสียงที่ได้ยิน
สำรวมจมูกดมกลิ่น ไม่ปรุงแต่งไปตามกลิ่นที่จมูกดม
สำรวมลิ้นรับรส ไม่ปรุงแต่งไปตามรสที่ลิ้นรับ
สำรวมกายถูกต้องสัมผัส ไม่ปรุงแต่งไปตามที่ร่างกายถูกต้องสัมผัส

สุดท้ายสำรวมใจรับรู้อารมณ์
ไม่ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ใดๆที่ใจรับรู้
รวมเรียกว่าสำรวมอินทรีย์ ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
บรรลุเป็นโพธิสัตว์อันบริสุทธิ์
…จงเว้นจากการทำบาป เร่งบำเพ็ญสรรพกุศล
ชำระจิตให้สะอาดหมดจด…
นี่คือพระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ธรรมเหล่าใดจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยใจเป็นประธาน

ที่มา: http://www.geocities.com/chruawan/page25.htm

Share

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (ไทย)

ฟังปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ เขาคิชคูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์
พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ และพระโพธิสัตว์หมู่ใหญ่
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงฝึกสมาธิชื่อว่าคัมภีร์ราวสังโฆแท้
และสมัยนั้น พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์
ทรงประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง
พิจารณาอยู่อย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ ๕ และความสูญโดยสภาพ
ลำดับนั้น ท่านสารีบุตร ได้กล่าวต่อ พระอริยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ด้วยพุทธานุภาพว่า
กุลบุตร หรือ กุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปาระมิตาอันลึกซึ้งนั้นจะพึงศึกษาอย่างไร
พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์อันท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้วได้กล่าวตอบท่านสารีบุตรว่า
ท่านสารีบุตร กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปาระมิตาอันลึกซึ้ง
เขาพึงพิจารณาอย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ ๕ และความสูญโดยสภาพ
รูปคือความสูญ ความสูญนั่นแหละคือรูป ความสูญไม่อื่นไปจากรูป
รูปไม่อื่นไปจากความสูญ รูปอันใดความสูญก็อันนั้น ความสูญอันใด รูปก็อันนั้น
อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือความสูญอย่างเดียวกัน
ท่านสารีบุตร ธรรมทั้งปวง มีความสูญเป็นลักษณะ
ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้
เพราะฉะนั้นแหละ ท่านสารีบุตร ในความสูญจึงไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม
ไม่มีจักษุธาตุ จนถึงมโนธาตุ ธรรมชาตินั้น วิญญาณธาตุ
ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชา และอวิชชา
จนถึงไม่มี ความแก่ ความตาย ไม่มีความสิ้นไปแห่ง ความแก่ ความตาย
ไม่มีทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุ ไม่มีการไม่บรรลุ

ท่านสารีบุตร เพราะฉะนั้น ผู้ดำเนินตามปรัชญาปาระมิตา ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว
แต่ยังมีกิเลสห่อหุ้มจิตอยู่ ก็เพราะยังมิได้บรรลุ คืนนั้นจึงไม่สะดุ้งกลัว
ก้าวล่วงความขัดข้องสำเร็จพระนิพพานได้ ก็เพราะความไม่มีกิเลสห่อหุ้มจิต
พระพุทธเจ้าทั้งปวง ผู้ตั้งอยู่ในกาลทั้งสามทรงดำเนินตามปรัชญาปาระมิตา
ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น จึงทูลทราบมหามนต์
ในปรัชญาปาระมิตา อันเป็นมหาวิทยามนต์ อนุตตะระมนต์ อะสัมมะสมมนต์
สัพพะทุกข์ กับสมณมนต์ นี้เป็นสัจจะ เพราะไม่ผิดพลาด
มนต์ที่ท่านกล่าวไว้ ในปรัชญาปาระมิตา คือดูก่อน ความรู้ ไป ไป ไปสู่ฝั่ง ไปให้ถึงฝั่งสวาหา

ท่านสารีบุตร สัตว์ผู้จะตรัสรู้ พึงศึกษาจริยาในปรัชญาปาระมิตาอย่างนี้
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว
ได้ประทานสาธุการ แก่พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ว่า
ถูกแล้ว ถูกแล้ว กุลบุตร ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กุลบุตร จริยาในปรัชญาปาระมิตา อันลึกซึ้งนั้น
อันบุคคลพึงประพฤติอย่างนี้ พระตถาคตอรหันต์เจ้าทั้งหลาย
ย่อมทรงอนุโมทนาอย่างที่ท่านยกขึ้นแสดงแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้จบลงแล้ว ท่านพระสารีบุตร พระอริยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์บริษัท
อันมีประชุมชนทุกเหล่าและสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวา มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ก็มีใจเบิกบาน
ชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้

ที่มา http://www.geocities.com/buddhamontra/page006.htm

Share

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (ภาษาธิเบต)

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
( พระสูตรว่าด้วยปัญญาอันเป็นหัวใจพาไปถึงฝั่งพระนิพพาน )

DOWNLOAD บทสวดมนตร์

อายาวะโลกิติซัวรา โบดิสัตจัว กรรมบิรัม ปรัชญาปารมิตาจารัม จารา มาโน
วียาวะโลกิติสมา ปัญจะ สกันดา อะสัตตัสจา ซัวปาวะสูญนิยะ ปาสัตติสมา
อีฮา สารีบุทรา รูปังสูญญะ สูญนิยะตา อีวารูปา
รูปานา เวทะสูญนิยะตา สูญญา นายะนา เวทะ ซารูปัง
ยารูปัง สา สูญนิยะตะยา สูญนียะตา ซารูปัง
อีวา วีดานา สังญาสัง สการา วียานัม
อีฮา สารีบุทรา ซาวาดามา สูญนิยะตะ ลักษาณา
อานุภานา อานิรูตา อะมะระ อะวิมะลา อานุนา อาปาริปุนา
ทัสมาต สารีบุทรา สูญนิยะตายะ นารูปัง นาวิยานา นาสังญานา สังสการานา วียานัม
นา จักษุ โสตรา กรรณนา ชิวหา กายา มะนา ซานะรูปัง
สัพพะ กันดา รัสสัส สปัตตะ วียา ดามา
นาจักษุ ดาตุ ยาวะนา มะโนวีนยะนัม ดาตุ นาวิดียา นาวิดียา เจียโย
ยาวัดนา จาระมา ระนัม นะจาระมา ระนัม เจียโย
นาตุขา สมุดา นิโรดา มาคา นายะนัม นาประติ
นาอะบิส สะมะยัง ตัสมาตนะ ปรัตติถา โพธิสัตวะนัม
ปรัชญา ปารมิตา อาสริดะ วิหะรัชชะ จิตตา อะวะระนา
จิตตา อะวะระนา จิตตา อะวะระนา นัสติ ตวะนะ ทรัสโส
วิปาริยะซา อาติกันดา นิสทรา เนียวานัม
ทรียาวะ เรียววะ สิทธะ สาวา บุดดา ปรัชญา ปารมิตา
อาสวิชชะ อะนุตตะระ สัมยัก สัมโบดิม อะบิ สัมโบดา
ทัสมาต เนียทาวียา ปรัชญา ปารมิตา มหามันทรา
มหาวิทยะ มันทรา อะนุตตะระ มันตรา อสมา สมาธิ มันทรา
สาวา ตุขา ปรัชสา มานา สังญา อามิ เจียจัว
ปรัชญา ปารมิตา มุขา มันทรา ตะติติยะ
“คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โบดิซัวฮา”

………………………………………………………………………….

คำแปล ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง
ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้ว ขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า
และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึงได้ก้าวล่วง พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้
สารีบุตร รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่าง ก็ไม่ต่างไปจากรูป
รูปคือความว่างนั่นเอง และความว่างก็คือรูปนั่นเอง
เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เป็นดังนี้ด้วย
สารีบุตร ธรรมทั้งหลาย มีธรรมชาติแห่งความว่าง ไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง
ไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก ไม่ได้เพิ่มขึ้นไม่ได้ลดลง

ดังนั้น ในความว่างจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา หรือสัญญา ไม่มีสังขาร หรือวิญญาณ
ไม่มีตาหรือหู ไม่มีจมูกหรือลิ้น ไม่มีกายหรือจิต ไม่มีรูปหรือเสียง ไม่มีกลิ่นหรือรส
ไม่มีโผฏฐัพพะหรือธรรมารมณ์ ไม่มีโลกแห่งผัสสะ หรือวิญญาณ
ไม่มีอวิชชา และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา ไม่มีความแก่และความตาย
และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่ และความตาย ไม่มีความทุกข์
และไม่มีต้นเหตุแห่งความทุกข์ ไม่มีความดับลงแห่งความทุกข์
และไม่มีมรรคทางให้ถึง ซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์
ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องลุถึง

พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น
เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจาก อุปสรรคสิ่งกีดกั้น
พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา
ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้น
อันเป็นภาวะที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่ง ดังนั้น จงรู้ได้เถิดว่า โลกุตรปัญญา
เป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่
เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง
นี่เป็นสัจจะ เป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล ดังนั้น จงท่องมนต์แห่งโลกุตรปัญญา
คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา
ไป ไป ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ลุถึง การรู้แจ้ง ความเบิกบาน

………………………………………………………………………………

อานิสงส์ที่จากการสวดมนต์ภาวนา ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
1.เพื่อเพิ่มพูนสติปํญญาให้สามารถเห็นแจ้งในธรรมะ
2.เพื่อการบรรลุภาวะการเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม
3.เพื่อการตรัสรู้และการบรรลุนิพพานโลกธาตุในที่สุด

สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เดินทางเสี่ยงต่ออันตราย หรือ เผชิญภาวะฉุกเฉิน
และ ต้องการตั้งสติขจัดความตื่นกลัวออกไปโดยเร็ว ควรบริกรรม โดยใช้บทสวดมนต์ย่อว่า
“คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิสวาหา”
ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ท่านหลวงจีนเฮียงจั๋ง (พระถังซำจั๋ง) ท่านกล่าวว่า
ท่านสวดบทนี้เมื่อท่านอยู่ในภาวะคับขันในการเดินทางข้ามทะเลทราย
ท่านเชื่อว่าทำให้มีสติตั้งมั่น เกิดปํญญา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/6155

Share