Author Archives: ชิตพงษ์ วุทธานันท์

เทคนิคถนอมหลัง ช่วยทุกบ้านห่างไกลอาการปวด

ด้วยไลฟ์สไตล์คนเมืองที่ต้องเผชิญกับความเร่งรีบ อยู่กับคอมพิวเตอร์ ขับรถ โหนรถเมล์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่อาการปวดหลังได้ง่าย ซึ่งเป็นอาการสุขภาพเสื่อมถอยที่พบในประชากรวัยผู้ใหญ่มากถึง 4 จาก 5 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 80 โดยประมาณครึ่งหนึ่ง สามารถหายจากความไม่สบายกายนี้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 90 จะหายภายใน 3 เดือน

แต่สำหรับคนที่ปวดหลัง ร้อยละ 5-10 จะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง และก้าวไปถึงขั้นเส้นประสาทถูกทำลาย มีอาการแสดงให้เห็น 2 ด้านชัดๆ ได้แก่ กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่อยู่ และแขนขาอ่อนแรง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นก่อนที่อาการทรมานจะมาถึง ลองอ่านเทคนิคจากแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ทีมงานนำมาฝากกันดู เชื่อว่าจะช่วยให้คุณ และคนในครอบครัวห่างไกลจากอาการปวดหลังได้ไม่น้อย

เทคนิคจัดท่วงท่าให้เข้าที่

การนั่งหรือยืนให้ถูกท่าเป็นสิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องทุกวันไปจนตลอดชีวิต เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง รวมทั้งความเสื่อมของข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ

ท่ายืน ควรจะยืนตัวตรงหลังไม่โก่งหรือคด แนวติ่งหู ไหล่ และข้อสะโพกควรเป็นแนวเส้นตรง ไม่ควรยืนนานเกินไป ไม่ควรใส่รองเท้าที่มีส้น ควรจะมีเบาะรองฝ่าเท้า อย่างไรก็ตาม หากต้องยืนนานๆ ควรมีที่พักเพื่อสลับเท้าพัก หรือมีเก้าอี้หรือโต๊ะเล็กไว้วางเท้าข้างหนึ่ง

การนั่ง เป็นการเพิ่มแรงกดต่อกระดูกหลังมากที่สุด ควรมีพนักพิงหลังบริเวณเอว เลือกใช้เก้าอี้ทำงานที่นั่งสบายหมุนได้เพื่อป้องกันการบิดของเอว และมีที่พักแขนขณะที่นั่งพักหัวเข่าควรอยู่สูงกว่าระดับข้อสะโพกเล็กน้อย รวมทั้งมีเบาะรองเท้า และหมอนเล็กๆ รองบริเวณเอว เก้าอี้ต้องไม่สูงเกินไป ระดับเข่าควรจะอยู่สูงกว่าระดับสะโพก โดยอาจหาเก้าอี้เล็กรองเท้าเวลานั่ง

การขับรถ โดยเฉพาะการขับรถทางไกล ควรเลื่อนเบาะนั่งให้ใกล้เพื่อป้องกันการงอหลัง หลังส่วนล่างควรจะพิงกับเบาะ เบาะไม่ควรเอียงเกิน 30 องศา เบาะนั่งควรจะยกด้านหน้าให้สูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย หากขับรถทางไกลควรจะพักเดินทุกชั่วโมง และไม่ควรยกของหนักทันทีหลังหยุดขับ

การนอน ที่นอนไม่ควรจะนุ่มหรือแข็งเกินไป ควรจะวางไม้หนา 1/4 นิ้ว ระหว่างสปริงและฟูก ท่าที่ดีคือให้นอนตะแคงและก่ายหมอนข้าง หรือนอนหงายโดยมีหมอนรองที่ข้อเข่า ไม่ควรนอนหงายโดยที่ไม่มีหมอนหนุน หรือนอนตะแคงโดยไม่มีหมอนข้างหรือนอนคว่ำ

อย่างไรก็ดี หลักการป้องกันโรคปวดหลังดีที่สุด คือ การออกกำลังกายและป้องกันหลังมิให้ได้รับอุบัติเหตุ โดยการบริหารร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง เพราะหากไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การออกกำลังจะต้องค่อยๆ สร้างความแข็งแรงทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง และจะต้องให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีไม่มีข้อติด โดยการออกกำลังกายอาจจะทำได้โดยการเดินการขี่จักรยาน หรือการว่ายน้ำจะทำให้หลังแข็งแรงอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปก็คือ รักษาน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ไม่ให้อ้วนโดยการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การวิ่ง ขี่จักรยาน เป็นต้น

เชื่อหรือไม่? เดินโทรฯ กระทบสันหลัง!

มีผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวีนสแลนด์ ในออสเตรเลีย ระบุหากคุยโทรศัพท์ขณะเดินอยู่ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากวิธีในการหายใจของเรานั่นเป็นเพราะร่างกายมนุษย์ถูกออกแบบมาให้หายใจออกเวลาเท้าแตะพื้น ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันการกระแทกของกระดูกสันหลัง ดังนั้น การพูดและเดินไปพร้อมๆ กันจะทำให้รูปแบบการหายใจนี้เสีย และส่งผลต่อกระดูกสันหลังของเราได้

คณะวิจัยได้ทำการวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลำตัว ซึ่งเป็นส่วนที่ปกป้องกระดูกสันหลังในอาสาสมัครแต่ละคน พบว่า กล้ามเนื้อส่วนลำตัวจะทำงานได้อย่างเหมาะสมในคนที่เดินเฉยๆ แต่คนที่เดินไปพูดไปจะมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณนี้น้อยกว่าปกติ และจะเป็นอันตรายต่อกระดูกสันหลัง

“ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจากวิธีในการสั่งงานของสมอง โดยกล้ามเนื้อจะมีหน้าที่หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน และถูกสั่งการโดยสมองตามลำดับความสำคัญ ดังนั้น ขณะที่คุยโทรศัพท์และเดินไปในเวลาเดียวกัน สมองก็จะให้ความสำคัญกับการคุยโทรศัพท์มากกว่า และทำให้เสี่ยงต่อการปวดหลังได้มากขึ้น” คณะวิจัยกล่าวในการนำเสนอผลวิจัยนี้ต่อที่ประชุมสมาคมประสาทวิทยาสหรัฐอเมริกา

สำหรับการเดินคุยกับคนอื่นๆ นั้น ก็จัดว่าเสี่ยงต่อการปวดหลังด้วยเช่นกัน แต่การคุยโทรศัพท์มือถือขณะเดินจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นพิเศษ เพราะมักใช้เวลากับการเดินและคุยมากกว่าปกติ

ที่มา Manager Online – เทคนิคถนอมหลัง ช่วยทุกบ้านห่างไกลอาการปวด

Share

วิธีสังเกตอาการของการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

อาการของการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

1. มะเร็งปากมดลูก อาการเลือดดออกจากช่องคลอดทั้งๆที่ไม่ใช่เวลารอบเดือนปกติของคุณ
หรือเกิดอาการเจ็บปวดและมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หากพบว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
ให้ทำการตรวจโดยขูดเนื้อเยื่อจากบริเวณดังกล่าวไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะรู้ได้

2. มะเร็งในมดลูก อาจมีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือบางครั้ง
อาจมีความรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ หรือมีอาการบวมในช่องท้อง

3. มะเร็งรังไข่ จะมีอาการคือ ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ
หรืออาจมีอาการเจ็บปวดหลังการมีเพศสัมพันธ์
มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย
น้ำหนักลดและมีอาการปวดหลัง

4. มะเร็งในเม็ดเลือด(ลูคีเมีย)อาจจะมีอาการเหนื่อยง่ายและมีอาการ
ซีดเซียวกว่าปกติ มักเกิดอาการฟกช้ำดำเขียว หรือมีเลือดออกทางผิวหนังได้ง่าย
โดย ไม่ทราบสาเหตุ และมักจะเกิดร่วมกับอาหารปวดตามข้อต่างๆ ทั่วร่างกาย บางครั้งจะท้องอืดและเมื่อคลำดูจะพบว่ามีก้อนบวมที่ด้านซ้ายของช่องท้อง

5. มะเร็งปอด มักจะมีอาการไอบ่อย ๆ หรือ/และมีเลือดออกและมีเสมหะ
ปนมากับน้ำลาย น้ำหนักลดอย่างฮวบฮาบ เจ็บหน้าอกและหายใจลำบาก
หรืออาจมีอาการหอบปนอยู่ด้วยทั้งๆที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

6. มะเร็งตับ จะมีอาการ ปวดในช่องท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดตาและผิวเป็นสีออกเหลืองและเหลืองจัดจนเห็นได้ชัด

7. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาการ มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ

8. มะเร็งสมอง อาการ ปวดศีรษะนานๆ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นอาเจียนหรือการผิดปกติของการมองเห็น ตาพร่า และเห็นแสงเขียวๆ
แดงๆ ลอยไปมาเวลาปวดศีรษะ อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือ
การเป็นลมโดยกะทันหัน อวัยวะบางส่วนของร่างกายหยุดทำงาน
เช่น มีอาการชาและเป็นอัมพาตชั่วคราว ควรให้ความระวังเป็นพิเศษหากคุณเคยมีประวัติการปวดหัวที่มีอาการเหล่านี้
ประกอบอยู่ด้วย

9. มะเร็งในช่องปาก อาการ มีก้อนบวมอยู่ในปาก หรือทีลิ้นเป็นเวลานาน
มีแผลเปื่อยที่ปากที่ไม่ได้รับการรักษา หรือเป็นแผลเรื้อรังที่เหงือก
เนื่องจากการกดทับของฟันปลอมที่ใส่ไว้ประจำหรือเป็นเวลานาน

10. มะเร็งในลำคอ อาการ เสียงแหบพร่าไปทันที มีก้อนบวมในทันที
ทำให้รู้สึกว่ากลืนอาหารได้ลำบาก หรือมีการขยายตัวของต่อมในลำคอที่โตขึ้น
จนสามารถจับและรู้สึกได้

11. มะเร็งในกระเพาะอาหาร อาการน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาเจียนออกมาเป็นเลือด ท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อยบ่อย รู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้องอกในช่องท้องหรือรู้สึกตื้อ แม้เพิ่งจะรับประทานอาหารไปได้ไม่กี่คำ

12. มะเร็งทรวงอก อาจมีอาการมีเลือด หรือของเหลวบางอย่าง ไหลออกมาจากหัวนม บวม หรือผิวเนื้อทรวงอกหนาขึ้น มีก้อนบวมจนจับได้เมื่อคลำบริเวณใต้รักแร้ บางครั้งอาจมีตุ่มหรือสิวเกิดขึ้นที่เต้านมเป็นเวลานาน
ควรระวังเพราะผู้หญิง 9 ใน 10 คนจะมีอาการบวมของก้อนเนื้อบริเวณทรวงอก
โดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำใต้ผิวหนัง ที่เรียกว่าซีสต์ ซึ่งควรต้องค้นหาสาเหตุของอาการบวมนั้นให้ชัดเจนเสียก่อนว่าคืออะไรกันแน่

13. มะเร็งลำไส้ อาการ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดท้องอย่างมาก
และระบบการย่อยผิดปกติ มีเลือดออกปนมากับอุจจาระ ****ซึ่งมีวิธีสังเกตของผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับริดสีดวงทวารอยู่แล้ว
คือถ้าใช้กระดาษทิชชูซับแล้วเลือดมีสีแดงสดนั่นคืออาการของริดสีดวงทวาร
แต่ถ้าเลือดมีสีดำคล้ำนั่นคือ อาการของโรคมะเร็งในลำไส้

14. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการมีก้อนบวมเกิดขึ้นที่ใต้รักแร ้หรือใต้ขาหนีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้เกิดอาการติดเชื้อในบางส่วนของ ร่างกาย

15. มะเร็งผิวหนัง อาจมีแผล หรือแผลเปื่อยพุพองที่ไม่ได้รับการรักษา
อยู่เป็นเวลานาน ตลอดจนไฝหรือหูดที่โตขึ้นและมีการเปลี่ยนสีหรือรูปร่าง ขนาด
นอกจากนี้อาการอันตรายอีกอย่างหนึ่งที่ เรียกว่าเมลาโนมา
(Melanoma) คือเนื้องอกที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีเมลานินสะสมอยู่
เช่น กระจุดด่าง หรือไฝ ถ้าคุณมีไฝมากกว่า 50 เม็ดทั่วร่างกาย หรือมีคนในครอบครัวที่มีประวัติว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อน คุณจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นๆ

ที่มา วิธีสังเกตอาการของการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

Share

ดร.วรภัทร ภู่เจริญ – ผมไม่ได้สอนธรรมะ แต่ผมสอนชีวิต

น่าจะเป็นคลิปที่เพิ่งออกมาไม่นาน และฟังได้ทันสมัยมากครับ
เหมาะกับคนทั่วไปและวัยรุ่นมาก

ท่านเล่าถึงจริตของคนแต่ละคนมี นิสัย สันดาน
เมื่อมาปฏิบัติธรรมแล้วจะแสดงจุดเด่นจุดด้อยออกมายังไง

มีกล่าวถึงนิสัยที่เจอได้บ่อยๆ ตามเวบบอร์ดด้วย เช่น
พวกชอบอ่านชอบฟังมาเยอะ ตัวเองไม่ค่อยลงมือปฏิบัติจริงๆจังเท่าไร
แต่ชอบอ้างเอาคำสอนครูบาอารย์ท่านนั้นท่านนี้ไปถกเถียงไปโจมตีไปว่ากล่าวคนอื่น เป็นต้น

ขอบคุณที่มา: http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y9632836/Y9632836.html#24

http://b613.exteen.com/20100901/entry

และผู้ส่งต่อให้ลิงค์ผมมาอีกที @ilumin











Share