Category Archives: พุทธศาสนา

จริต 6

ในหนังสือ Passion ได้นำเรื่องของ จริต 6 มากล่าว เพื่อเข้าใจลูกค้า และ คนอื่นๆ
ดังนั้น ผมก็เลยขอเอาเนื้อหาของจริต 6 ใน ธรรมะ มาให้อ่านกันซะเลย

จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยวหรืออารมณ์เป็นที่ชอบท่องเที่ยวของ จิตนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประมวลไว้เป็น ๖ ประการด้วยกัน คือ

๑. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล รวมความว่าอารมณ์ที่ท่องเที่ยวไปในราคะ คือ ความกำหนัด ยินดีนี้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของจริต มีอารมณ์หนักไปในทางรักสวยรักงาม ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางละมุนละไมนิ่มนวล เครื่องของใช้สะอาดเรียบร้อย บ้านเรือนจัดไว้อย่างมี ระเบียบ พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะสกปรก การแต่งกายก็ประณีต ไม่มีของใหม่ก็ ไม่เป็นไร แม้จะเก่าก็ต้องสะอาดเรียบร้อย ราคจริต มีอารมณ์จิตรักสวยรักงามเป็นสำคัญ อย่าตี ความหมายว่า ราคจริต มีจิตมักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นพลาดถนัด

๒. โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน เป็นคนขี้โมโหโทโส อะไรนิดก็โกรธ อะไร หน่อยก็โมโห เป็นคนบูชาความโกรธว่าเป็นของวิเศษ วันหนึ่งๆ ถ้าไม่ได้โกรธเคือง โมโหโทโส ใครเสียบ้างแล้ว วันนั้นจะหาความสบายใจได้ยาก คนที่มีจริตหนักไปในโทสจริตนี้ แก่เร็ว พูด เสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่ใคร่ละเอียดถี่ถ้วน แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว

๓. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าการจ่ายออก ไม่ว่า อะไรเก็บดะ ผ้าขาดกระดาษเก่า ข้าวของตั้งแต่ใดก็ตาม มีค่าควรเก็บหรือไม่ก็ตามเก็บดะไม่เลือก มีนิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ชอบเอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล รวมความว่าเป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้

๔. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด มีเรื่องที่จะต้องพิจารณานิดหน่อย ก็ต้องคิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสิน คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก

๕. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุไร้ผล พวกที่ ถูกหลอกลวงก็คนประเภทนี้ มีใครแนะนำอะไรตัดสินใจเชื่อโดยไม่ได้พิจารณา

๖. พุทธจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาดเฉลียว มีปฏิภาณไหวพริบดี การคิดอ่านหรือการทรงจำก็ดีทุกอย่าง อารมณ์ของชาวโลกทั่วไป

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลอารมณ์ว่า อยู่ในกฎ ๖ ประการตามที่กล่าวมาแล้วนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อย ยิ่งหย่อนกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในการละในชาติที่เป็นอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้าย คลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกัน ทั้งนี้ก็เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ใครมีบารมี ที่มีอบรมมามาก บารมีในการละมีสูงอารมณ์จริตก็มีกำลังต่ำไม่รุนแรง ถ้าเป็นคนที่อบรมในการละ มีน้อย อารมณ์จริตก็รุนแรง จริตมีอารมณ์อย่างเดียวกันแต่อาการไม่สม่ำเสมอกันดังกล่าวแล้ว

ที่มา : http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=1868
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=605
ข้อมูลเพิ่มเติมและวิธีแก้ไข : http://dhamma-isara.org/vidhi3_2.html << แนะนำ!!

ถ ้าอยากรู้เรื่อง จริต 6 แบบใช้ภาษาง่ายๆ พร้อมวิธีแก้ไข และจำแนกบุคคล เช่น เจ้านาย ลุกน้อง แฟน ลูก ก็ลองหาหนังสือ เล่มนี้มาอ่านครับ

จริต ๖ : ศาสตร์ในการอ่านใจคน
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
โดย : ดร.อนุสร จันทพันธ์; ดร.บุญชัย โกศลธนากุล

Share

วันวิสาขะบูชา

อย่าลืมไปทำบุญกันนะครับวันนี้

สำหรับผม พวกบาปหนา คงจะไปเวียนเทียน
ไม่รู้วันนี้ตอน 7 โมง จะแหกขี้ตา ไปทำบุญทันไหม -_-”

มาทบทวน วิชาพุทธศาสนา กันเล็กน้อย เอาแบบย่อๆ

วันวิสาขบูชา คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีสถาน ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ได้รับพระนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ
* เสริม 1. ตอนผมบวช พระครูบอกว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ชื่อเล่นว่า อังคีรส (แต่ในพระไตรปิฎกบอกว่าเป็นอีกพระนามหนึ่งเท่านั้น เพราะมหาบุรุษ มีแสงรัศมีทั่วร่างกาย)

เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
เป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก เขาจึงถือว่าวันนี้สำคัญมากๆๆๆๆๆ
มหาบุรุษ ทรง เข้า ฌาน เพื่อบรรลุ ญาณ ไปจนถึง…
ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ “อาสวักขญาณ” คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
* เสริม 2. ถ้าผมจำไม่ผิด พระองค์ทรงตรัสรู้ประมาณรุ่งเช้าพอดี จำช่วงเวลาไม่ได้

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จ ปรินิพพาน ณ ร่มต้นสาละ คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า ” ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บ ริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน
* เสริม 3. ปรินิพพาน คือ การไม่กลับมาเกิด ไม่กลับมาสร้างภพ สร้างชาติอีกต่อไป
* เสริม 4. ปัจฉิมโอวาท คือคำที่พระองค์ได้ตรัสเป็นครั้งสุดท้าย
* เสริม 5. ช่วงที่พระองค์จะปรินิพพาน 3 เดือนจนถึงปรินิพพาน เป็นช่วงที่ผมอ่านแล้วซึ้งมาก น้ำตาไหลๆ ลองหาอ่านดูนะครับแนะนำ บทที่เรียบเรียงโดย อ.วสิน อินทสระ (ถ้าพิมพ์ผืดต้องขออภัย แหะๆ)

จาก http://ifew.exteen.com/20060512/entry

Share

ความทุกข์

พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกไว้ว่า ความทุกข์ของมนุษย์จะมีดังนี้

1. ความเกิดก็เป็นทุกข์
2. เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
3. เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
4. เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ
และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์
5. เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
6. เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
7. และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

และพระองค์ทรงสรุปไว้ว่า

การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเรา หรือ เป็นของเขา
เป็นตัวทำให้ใจเราเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

หลังจากนั้นพระพุทธองค์ทรงกล่าววิธีแก้ทุกข์ให้เราว่า
ตัณหานี่แหละที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
แล้วตัณหาคืออะไรล่ะ

ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป
และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป
เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น
อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก

เมื่อรู้ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ทรงชี้ถึงวิธีดับ ตัณหาเพื่อพ้นทุกข์ไว้ว่า

การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละวาง ปล่อย
และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด
คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง

ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ

ปัญญาเห็นชอบ
ความดำริชอบ
วาจาชอบ
การงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความเพียรชอบ
การระลึกชอบ
และการตั้งจิตไว้ชอบ

คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์

ที่มา
ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร

แนะให้อ่านเพิ่มเติม
ความทุกคืออะไร


วันนี้จู่ๆ ก็นึกถึงเรื่อง ความทุกข์ ขึ้นมา
เลยขอเขียน blog เรื่องธรรมะนิดนึง
อย่างน้อยก็เตือนสติทุกท่านที่หลงเข้ามา
อย่างกลางก็เตือนสติตัวเอง
อย่างมากก็เตือนสติตัวเองและทุกท่านที่หลงเข้ามาจาก http://ifew.exteen.com/20070617/entry 

Share