Category Archives: บันทึกของชีวิต

ความสมบูรณ์

เมื่อตอนเที่ยง ตื่นมา ซัดแซนวิช รู้สึกเกลียดผัก เพราะเราไม่ชอบผัก ชอบกินแต่แฮม แต่ก็ฝืนกิน รวมๆกันแล้วอร่อยดี ความคิดเลยบรรเจิด ชีวิตเราต้องมีสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ สิ่งที่ดีและไม่ดี หากมันดีไปทั้งหมด มันก็ไม่ใช่ความสมบูรณ์

นึกถึงนิทานเซนอยู่เรื่องหนึ่ง ที่มีชายคนหนึ่งไปเรียนวิชาตกแต่งสวนกับสุดยอดปรมาจารย์ เมื่อเรียนเสร็จจึงกลับไปตกแต่งสวนที่บ้าน แต่แล้วก็รู้สึกว่ามันแปลกๆ ไม่สวยเหมือนที่อาจารย์จัดสวนให้ดู วันหนึ่งชายคนนั้นได้รู้ข่าวว่าอาจารย์จะมาที่บ้านของตน จึงเรียกคนใช้ให้มาช่วยจัดสวนเพื่อต้อนรับอาจารย์ โดยทำแบบทุกๆวันที่จัด คือ ตัดแต่งต้นไม้ เก็บใบไม้ ตัดหญ้า กวาดพื้นหญ้า ทุกอย่างเรียบร้อยมาก

พ ออาจารย์มาถึงสวนของชายคนนี้ อาจารย์จึงบอกกับชายคนนี้ว่าสวนนี้ไม่สมบูรณ์ ชายคนนี้จึงถามว่าทำไมถึงไม่สมบูรณ์ เพราะตนเองก็คิดเช่นกันว่ามันดูแปลกๆ แต่บ้านอื่นเขาก็ทำแบบนี้ อาจารย์จึงบอกว่า ที่จริงสวนนี้ก็สวยอยู่ แต่ที่บอกว่าไม่สมบูรณ์เพราะมันสวยเกินไป เรียบร้อยเกินไป ความสมบูรณ์อยู่ที่ความเป็นธรรมชาติ ที่จะต้องมีบ้างที่ใบไม้ร่วงลงบนพื้นหญ้า มีบ้างที่หญ้าจะขึ้นมาไม่เท่ากัน มีบ้างที่จะมีการไล่เฉดสีของใบไม้ และพื้นหญ้า มีบ้างที่หญ้าจะแหว่ง และดอกไม้จะขึ้นแซมผสมควมงดงาม นั่นแหละคือความสมบูรณ์

ไม่ขอทิ้งท้ายนะครับ ทุกคนอาจจะมีความคิดอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้างแล้วก็ได้

Share

วิถีบูรพา

วันนี้หลังจากอ่านหนังสือโลกานุวัฒของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล จบ ก็รีบไปหาหนังสือมาเช่าต่อทันทีตอนพักเที่ยง เพื่อเตรียมอ่านฆ่าเวลาตอนนั่งเรียน DBMS ช่วงบ่าย ไม่งั้นง่วง และฟุ้งซ่านชิบเป๋ง

ห นังสือที่ผมยืมมา ชื่อ วิถีบูรพา ของ ดร.สุวินัย ภรณวลัย มีอยู่บทหนึ่งท่านกล่าวถึง สุดยอดเคล็ดวิชา “ดาบอยู่ที่ใจ” ของท่านทากุอันในคัมภีร์ “ฟุโดจิชินเมียวโรกุ” หรือ คัมภีร์พระอจลนาถ (คัมภีร์แห่งจิตพระผู้ไม่หวั่นไหว) ซึ่งหาอ่านได้ยากมากๆ ซึ่งคัมภีร์นี้ไม่เพียงแต่ประยุกต์ใช้ในวิชาดาบ แต่ยังให้แง่คิดและทางสว่าง เพื่อใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ด้วย ซึ่งบางทีมันทำให้ผมคิดว่าเหมือนเป็นคำตอบที่ผมเคยถามตัวเอง ผมจะขอสรุปสั้นๆ มาให้อ่านสองบทครับ

บทที่ 1 “ว่าด้วยใจที่ไม่ยึดติด”
อวิชชาและจิตที่ยึดติด คือ ที่มาแห่งทุกข์
อวิชชา คือ ความหลง คือ ความไม่รู้แจ้ง
จิตที่ยึดติด คือ การที่ไปจดจ่อไปอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ห ากท่านอยู่ต่อหน้าคู่ต่อสู้ที่กำลังฟันดาบ และท่าน “คิด” ที่จะยกดาบตั้งรับ นั่นคือ จิดท่านอยู่ที่ดาบ มันจะทำให้การเคลื่อนไหวไม่สมบูรณ์ และท่านจะเป็นฝ่ายที่ถูกฟัน แต่สิ่งที่ท่านทำคือควรจะดู แต่แค่จงดูเท่านั้น อย่าจดจ่อ แต่เคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับการทำงานของดาบ โดยไม่คิดฟันตอบ ไม่คิดแพ้ ไม่คิดชนะ ไม่คิดแบ่งเขาแบ่งเรา เพียงเมื่อท่านเห็นดาบ และไม่ลังเลว่าจะกระโจนเข้าใส่ ดาบมันจะทำหน้าที่ของมันเอง ต่อให้ท่านไม่มีดาบ ก็จะชิงดาบจากศัตรูได้ ในเซนจะเรียกว่า “การคว้าหอกปรปักษ์มาแทงปรปักษ์ที่มุ่งหมายจะมาทิ่งแทงเรา” (อ่านแล้วคล้ายๆพิชัยสงครามซุนวูที่ผมเคยบอกไว้ว่า “ชนะโดยไม่คิดที่จะเอาชนะ”)

เปรียบเทียบในชีวิตประจำวันของเรา ครั้งหนึ่งผมกินมะขาม ต้องการปาออกนอกหน้าต่างที่มีลูกกรงอยู่ เล็งอย่างดี แต่มันก็โดนลูกกรงแล้วเด้งกลับมา แต่เมื่อตั้งใจโยน แต่ไม่คิดไม่เล็ง(ไม่จดจ่อ) มันดันออกไปนอกหน้าต่างได้ หรือางครั้งไม่ตั้งใจทำอะไร แต่กลับออกมาสวยงาม เออ แปลกดี คิดว่าทุกคนคงเคยเจอ

บทที่สอง “เคลื่อนเหมือนไม่เคลื่อน”
ปัญญาที่ไม่หวั่นไหวของเหล่าพุทธะ
ไ ม่ใช่หมายถึงไม่เคลื่อนเหมือนหินนะครับ แต่หมายถึงไม่ถูกยึดติดโดยสิ่งใดนั่นเอง เช่น มีคนถือดาบจะฟันเราสิบคน ถ้าเรารับการโจมตีของแต่ละคนได้อย่างต่อเนื่องโดยใจของเราไม่ให้ใจของเราไปต ิดขัดกับใครๆ หรือที่ใดๆ หรือดาบเล่มใด เราย่อมต่อกรได้อย่างไม่มีปัยหา สรุปคือ ไม่ไปยึดติดกับใครสักคน มันจะไม่ติดขัด แต่หากยึดกับคนหนึ่ง แต่คงต้องเสียท่าให้กับคนที่สอง เพระาไม่เคลื่อนไหวไม่ได้อย่างอิสระอีกต่อไปแล้ว เพราะมีความจดจ่อนั่นเอง

เ ปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันของเรา ให้ท่านเพ่งเกสรดอกไม้ ท่านก็จะเห้นเกสรดอกไม้ จะเห็นทั้งดอกได้อย่างไร จะเห็นความสวยงามของดอกไม้ได้อย่างไร (เอาไว้อ้างอาจารย์เวลานั่งหลังห้องว่า ผมไม่อยากนั่งหน้าเพราะโฟกัสมันแคบ จดจ่อได้เป็นจุดๆ เลยต้องนั่งหลัง เห็นทั่วกระดานและทั่วห้องดี :D)

อ่านแล้วก็ได้อะไรเยอะดีครับ แห่งวิถีบูรพา

จาก http://ifew.exteen.com/20060109/entry 

Share

คำตอบของการจากลา

“ชั่วชีวิตมนุษย์…สิ่งที่บันดาลให้หดหู่ รันทด มิใช่การจำพราก…หากเป็นการอยู่ร่วม เพราะหากไม่เคยอยู่ร่วม ไหนเลยมีการจำพรากได้” – โกวเล้ง

อย่างที่โกวเล้งบอก ว่าการเสียใจมิใช่เกิดเพราะการจากลา
หากแต่เกิดเพราะการพบเจอ หรือ เคยอยู่ร่วมกัน

แต่ครั้นเมื่ีอชีวิตปุถุชนเดินดินแบบเรา
จะห้ามการพบเจอ การอยู่ร่วม มันคงเป็นเรื่องผิดปกติ

บ่อยครั้งผมมักขัดแย้งกับตัวเองเรื่องของพระพรหม
ฝ่ายหนึ่งคือ พรหมลิขิต ผมมักใช้ร่วมกับ ความหวัง ในอนาคต แล้วคิดว่ามันต้องเป็นจริงดั่งหวัง
แต่ฝ่ายหนึ่งคือ ผมลิขิต ผมมักใช้ร่วมกับสิ่งที่ผมทำอยู่ แล้วอยากให้เป็นอย่างที่คิด แต่ก็ไม่รู้หรอกว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
ผมจึงมักตีกันทางความคิดอยู่บ่อยๆ (ความคิดนี้ขอแทนด้วยตัวแปล A)

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามในความคิด A
มันทำให้เรามีโอกาสได้พบเจอใครสักคน หรือ อยู่ร่วมกับใครสักคน
และเราก็หวังต่างๆ นานากับคนๆ นั้นในเชิงบวก

เช่นกัน ของความคิด A เราก็ไม่สามารถรั้งเขาไว้ได้
ไม่สามารถขอร้องให้เขากลับคืนมาได้ด้วยตัวเราเอง
หากการจากลานั้นเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นแล้ว
ไม่ว่าจะด้วยเวลา ร่างกาย กรรม ฯลฯ

แล้วมนุษย์จะต้องสูญเสียอีกสักเพียงใด
มนุษย์จะเหลืออะไรนอกจากความทรงจำ

เพราะเป็นสิ่งหนึ่งในหลายๆ สิ่ง ที่เราช่วยกันลิขิตขึ้นมา

จาก http://ifew.exteen.com/20061129/entry 

Share