“คุณกาลิเลโอครับ คุณรู้ไหม.. มันช่างโดนใจผมจัง..”
เมื่อวานได้ดูภาพยนตร์ ตามหากาลิเลโอ แบบไม่ทันตั้งตัว
ก็ตามสไตล์ของค่าย GTH เขาหละครับ
ดูแล้วก็ “ฟีลกู๊ดๆ” (Feel Good) สลับ “อะโลนๆ” (Alone) อย่างบอกไม่ถูก
ก่อนจะดูเรื่องนี้ ตัวอย่างหนังมันบอกผมเนืองๆ ไว้แล้ว ว่า
มันคือ “Memo ฉบับ เต้ยต่ายทัวร์ยุโรป” นั่นเอง (ใครไม่รู้จัก memo ลองถามพี่กูได้)
แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะพูดถึงใน entry นี้หรอกนะ
“มันผิดสไตล์ผม!” (แม้ว่าอยากจะเขียนเรื่องเต้ยต่ายน่ารักจนมือสั่นยิกๆ)
แต่สิ่งที่ผมชอบและโดนใจมาก คือ แนวคิดของตั้ม (แสดงโดย เรย์ แม็คโดนัลด์)
ตั้มเป็นคนที่ใช้ชีวิตอิสระเสรี แต่ยอมทำตามทำเนียบและสังคมในแบบคนทั่วไป
ตั้มจัดงานศิลป อยากทำอะไรก็ทำ มีความคิดเป็นของตนเอง ไม่ทำตามคนอื่น
แต่ตั้มก็ยังรู้ว่าสิ่งที่ถูกคือถูก สิ่งที่ผิดก็คือผิด และยอมรับผิดโดยดี
ตั้ม พยายามบอกกับผู้ชมว่า “เราจะใช้ชีวิตซับซ้อนกันทำไมให้ยุ่งยาก”
ดีใจครับ ที่หนังเรื่องนี้ได้สื่อสารแนวคิดนี้ ให้คนทั้งประเทศได้รับรู้
(ซึ่งผมก็ไม่รู้หรอกนะ ว่า คนที่ดูแล้วเขาจะเห็นจุดนี้หรือคิดตามหรือเปล่า)
ทุกวันนี้ผมพบเจอหลายคน และรู้สึกว่าเขามักจะคิดอะไรยุ่งยากและซับซ้อนเสมอๆ
ทั้งๆ ที่ใช้ชีวิตปกติทั่วไปก็ยากพอแล้ว ยังจะทำอะไรให้มันซับซ้อนอีกทำไม?
ถ้าซับซ้อนแล้วทำให้ชีวิตเป็นสุขก็ทำไปเถอะ!
แต่ถ้าซับซ้อนแล้วทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ก็ไม่รู้จะทำกันไปทำไม?
แต่ที่ผมเห็นบ่อยๆ มักจะใช้ชีวิตซับซ้อนสำหรับเรื่องเลวๆ
และพอเจอปัญหา ก็ต้องแก้ด้วยวิธีที่ยากขึ้น จบด้วยความไม่มีความสุขเสมอๆ..
ในภาพยนตร์ ตามหากาลิเลโอ ก็มีอยู่สองตอนครับ ที่เชอรี่ (แสดงโดย ต่าย ชุติมา ทีปะนาถ)
ทำให้นุ่น (แสดงโดย เต้ย จรินทร์พร จุนเกียรติ) ซึ่งเป็นเพื่อนของตนเอง ต้องได้รับความลำบาก
เพียงเพราะการทำนิสัยมักง่ายและคิดว่าความคิดตัวเองถูกเสมอ (ตามแบบฉบับคนไทยส่วนใหญ่ในหลายพื้นที่)
ทำเรื่องเดือดร้อนแก่ตนเอง ตนเองได้รับผลก็ต้อง ยอมรับกันไป
แต่ทำแล้วให้คนอื่นต้องเดือดร้อนด้วย อันนี้ก็ไม่ไหว
สุดท้าย จากความที่จะไปเที่ยวอย่างสนุกโดยราบรื่นกับเพื่อนสุดน่ารัก
กลับต้องเจอปัญหาหลายๆ อย่าง ที่ตัวเองทำตัวเองแท้ๆ
จนต้องได้ประสบเคราะห์กรรม จนเห็นแก่ตนเองเสียก่อนนั่นแหละครับ ถึงจะรู้ซึ้งว่าผิดจริง
ทั้งๆ ที่ระดับปัญญาและมันสมอง ก็น่าจะคิดได้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี!
คิดแบบ ดีชั่วรู้หมด แต่อดไม่ได้ ว่าอันตรายแล้วนะครับ แต่ที่อันตรายกว่า คือ
คิด ทำชั่วแล้ว แต่คิดว่าตัวเองไม่ชั่ว แล้วอ้างนู่นอ้างนี่ นี่สิครับ น่ากลัวมาก
ซึ่ง ในเรื่อง เชอรี่ไปปลอมรายเซ็นอาจารย์เพื่อขอใช้ห้องเขียนแบบ อาจารย์จึงให้ F ในวิชานั้น
แต่เชอรี่แทนที่จะสำนึกผิด กลับมองว่าอาจารย์ไม่ยุติธรรมเสียอย่างนั้น
ผมเจอบ่อยครับ และผมก็รู้สึกสมเพชปนกับสงสารมากเช่นกัน
กับคนที่รู้ว่าทำผิด พอมีคนว่ากล่าวตักเตือน กลับประชดประชัน ทำผิดมากขึ้นไปอีก
อยากรู้ครับ จะทำไปเพื่ออะไรครับ? เพื่อความสะใจ?
แล้วใครเป็นทุกข์ครับ? ถ้าอีกคนเฉยๆ? ก็ตนเองนั่นแหละครับ ที่เป็นทุกข์?
แทนที่รู้ว่าทำผิด แล้วสำนึกปรับปรุงตัวทำให้ดี แค่นี้ก็จบ!
จะไปทำให้เรื่องซับซ้อนกันไปทำไม? ไม่เข้าใจ!
ดังนั้น ผมไม่ใช่คนมีความอดทนอะไรมากนัก
ถ้าผมเจอคนมาทำแบบนี้สักสองสามครั้ง ผมคงต้องปล่อยไป
พร้อมกับคำพูดที่ว่า “ถ้ายืนยันจะทำ แล้วมีปัญหาอีก ไม่ต้องมาบอกกรู กรูเตือนแล้ว!”
เขียนไปเขียนมา ของชักขึ้นแฮะ
เอาเป็นว่า ลองไปดูหนังเรื่องนี้สักรอบ
และลองสังเกตุตัวเอง และคนรอบข้างครับ
ว่า “เหนื่อยไหม กับชีวิตยุ่งยากๆ ที่สร้างมาเองกับมือ?”
จงจำไว้ครับ เมื่อใดคุณสร้างปัญหาจากความซับซ้อนในการชีวิต
คุณย่อมต้องหาทางแก้ด้วยวิธีที่ซับซ้อนมากขึ้นอีกหลายเท่า!
ทำเสแสร้งกับใครไว้มากเท่าไร วันใดเขารู้ความจริง แค่คิดก็ปวดหัวแล้ว… ฮ่าๆ
จริงไหม!?