Category Archives: พุทธจากใจ

คำตอบของการจากลา

“ชั่วชีวิตมนุษย์…สิ่งที่บันดาลให้หดหู่ รันทด มิใช่การจำพราก…หากเป็นการอยู่ร่วม เพราะหากไม่เคยอยู่ร่วม ไหนเลยมีการจำพรากได้” – โกวเล้ง

อย่างที่โกวเล้งบอก ว่าการเสียใจมิใช่เกิดเพราะการจากลา
หากแต่เกิดเพราะการพบเจอ หรือ เคยอยู่ร่วมกัน

แต่ครั้นเมื่ีอชีวิตปุถุชนเดินดินแบบเรา
จะห้ามการพบเจอ การอยู่ร่วม มันคงเป็นเรื่องผิดปกติ

บ่อยครั้งผมมักขัดแย้งกับตัวเองเรื่องของพระพรหม
ฝ่ายหนึ่งคือ พรหมลิขิต ผมมักใช้ร่วมกับ ความหวัง ในอนาคต แล้วคิดว่ามันต้องเป็นจริงดั่งหวัง
แต่ฝ่ายหนึ่งคือ ผมลิขิต ผมมักใช้ร่วมกับสิ่งที่ผมทำอยู่ แล้วอยากให้เป็นอย่างที่คิด แต่ก็ไม่รู้หรอกว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
ผมจึงมักตีกันทางความคิดอยู่บ่อยๆ (ความคิดนี้ขอแทนด้วยตัวแปล A)

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามในความคิด A
มันทำให้เรามีโอกาสได้พบเจอใครสักคน หรือ อยู่ร่วมกับใครสักคน
และเราก็หวังต่างๆ นานากับคนๆ นั้นในเชิงบวก

เช่นกัน ของความคิด A เราก็ไม่สามารถรั้งเขาไว้ได้
ไม่สามารถขอร้องให้เขากลับคืนมาได้ด้วยตัวเราเอง
หากการจากลานั้นเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นแล้ว
ไม่ว่าจะด้วยเวลา ร่างกาย กรรม ฯลฯ

แล้วมนุษย์จะต้องสูญเสียอีกสักเพียงใด
มนุษย์จะเหลืออะไรนอกจากความทรงจำ

เพราะเป็นสิ่งหนึ่งในหลายๆ สิ่ง ที่เราช่วยกันลิขิตขึ้นมา

จาก http://ifew.exteen.com/20061129/entry 

Share

ความทุกข์

พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกไว้ว่า ความทุกข์ของมนุษย์จะมีดังนี้

1. ความเกิดก็เป็นทุกข์
2. เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
3. เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
4. เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ
และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์
5. เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
6. เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
7. และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

และพระองค์ทรงสรุปไว้ว่า

การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเรา หรือ เป็นของเขา
เป็นตัวทำให้ใจเราเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

หลังจากนั้นพระพุทธองค์ทรงกล่าววิธีแก้ทุกข์ให้เราว่า
ตัณหานี่แหละที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
แล้วตัณหาคืออะไรล่ะ

ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป
และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป
เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น
อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก

เมื่อรู้ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ทรงชี้ถึงวิธีดับ ตัณหาเพื่อพ้นทุกข์ไว้ว่า

การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละวาง ปล่อย
และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด
คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง

ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ

ปัญญาเห็นชอบ
ความดำริชอบ
วาจาชอบ
การงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความเพียรชอบ
การระลึกชอบ
และการตั้งจิตไว้ชอบ

คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์

ที่มา
ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร

แนะให้อ่านเพิ่มเติม
ความทุกคืออะไร


วันนี้จู่ๆ ก็นึกถึงเรื่อง ความทุกข์ ขึ้นมา
เลยขอเขียน blog เรื่องธรรมะนิดนึง
อย่างน้อยก็เตือนสติทุกท่านที่หลงเข้ามา
อย่างกลางก็เตือนสติตัวเอง
อย่างมากก็เตือนสติตัวเองและทุกท่านที่หลงเข้ามาจาก http://ifew.exteen.com/20070617/entry 

Share

พุทธศาสนาเนื้องอก

ย้อนกลับไปอ่าน “คู่มือมนุษย์”*1 ของ ท่านพุทธทาส. ได้กล่าวถึงคำว่า “พุทธศาสนาเนื้องอก” แล้วย้อนกลับไปคิดถึงชาวคริสเตียนท่านหนึ่งบอกว่าเคยนับถือพุทธ ทำบุญตักบาตรทุกวัน เป็นผู้นำสวดมนตร์ อ่านพระไตรปิฏก แต่แล้วก็ไม่ช่วยอะไรเลย ไม่มีความสุข ไม่พ้นทุกข์

ม ีความรู้สึกว่าหากชาวพุทธเป็นเช่นนี้ อาจจะไม่ถึงอีก 2,500 ปี*2 ศาสนาพุทธ ก็คงสูญสิ้นไปจากโลก ไม่ใช่เพราะศาสนาอื่นมากลืนเรา แต่เป็นเพราะชาวพุทธยึดถือ “พุทธศาสนา เนื้องอก” นั่นเอง

ว่าดังนี้แล้ว ก็ขอเอาปัญญาอันน้อยนิดของผม ตีแผ่ลงใน entry นี้ เพื่อเป็นเกราะป้องกัน พุทธศาสนาเนื้องอกและการหลงผิดทั้งหลาย

แ ก่นของพุทธศาสนาจริงๆ แล้ว คือ การพ้นทุกข์ การพ้นทุกข์ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ไม่มีทุกข์แล้วมีสุข แต่หมายถึง การอยู่เหนือทุกข์และสุขทั้งหลาย ซึ่งโลกแห่งการเหนือสิ่งสองสิ่งนี้เรียกว่า โลกุตระ*3

ลองมองไปรอบๆ ตัวเรา เราจะพบว่าไม่มีอะไรเราสามารถควบคุมมันได้ แม้แต่ตัวเราเอง ห้ามผมหยุดหงอก ห้ามหนังเหี่ยวย่น ห้ามเท้าเหน็บชา ห้ามไม่สบาย ดังนั้น สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้แปลว่ามันไม่ใช่ของเราที่แท้จริง ถ้ามันเป็นของเรา เราจะต้องควบคุมได้ ใช่หรือไม่?

สรุปคือ ไม่มีสิ่งใดเป็นของเราแม้แต่ตัวเราเอง สิ่งต่างๆ ยิ่งไม่ต้องคิดเลยว่าจะควบคุมมันได้ (ถ้าจะบอกว่าแฟนที่รักกันปานจะดม ชี้นิ้วสั่งได้ ถ้าอย่างนั้นต้องลองสั่งให้เขาห้ามตาย ห้ามแก่)

เมื่ อเราเข้าใจดังนี้แล้ว เราจะพบว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบเรื่อง ไตรลักษณ์ ที่มี อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (ความเป็นทุกข์) อนัตตา (ความไม่มีตัวตน) เป็นเรื่องจริง แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ทรงหนีไม่พ้น

เ มื่อมันเป็นเช่นนี้ เราคงไม่สามารถอ้อนวอนพระเจ้าองค์ใด*4 หรือ ใช้เวทมนตร์คาถา ปัดเป่าให้ ความทุกข์หายไปได้ แล้วคราวนี้เราจะทำอย่างไรล่ะ

พุทธศาสนาให้คำตอบในข้อนี้ไว้ว่า “คุณไม่ควรไปยึดติดสิ่งใดๆ” หรือพูดอีกลักษณะหนึ่งว่า “ปล่อยวาง” นั่นเอง

เ มื่อคุณไม่ยึดติดว่า คนนี้สวยหรือไม่สวย อาหารนี้อร่อยหรือไม่อร่อย กลิ่นนี้หอมหรือไม่หอม เสียงนี้ไพเราะหรือไม่ไพเราะ สัมผัสนี้นุ่มนวลหรือไม่นุ่มนวล. มันจะทำให้คุณปล่อยวางจากสิ่งเหล่านั้น สามารถมองสิ่งๆ นั้นตามความเป็นจริง

ตัวอย่างเช่น ผมเคยกินผัดไทยยาย มาตลอด อร่อยมากๆ แต่พอได้มีโอกาสไปลองกินผัดไทยร้านเจ๊แดง กลับรู้สึกว่ามันอร่อยกว่า ดังนี้แล้วผมยึดติดว่า เวลากินผัดไทย ต้องเจ๊แดงเท่านั้น เวลาให้ใครซื้อ ซื้อมาผิดร้านจะไม่พอใจ หรือวันไหนอยากกินแต่ไม่ได้กินก็จะกระวนกระวายใจ

ซึ่งตัวอย่างที่บอกเป็นอาการของการเกิดความทุกข์ เนื่องจากการยึดติดผัดไทยเจ๊แดง

แ ต่เมื่อมองในความเป็นจริง ผัดไทยเป็นเพียงอาหารเพื่อบรรเทาความหิวของเราเท่านั้น ไม่มีกินเลยสิสำคัญกว่า เราก็จะเริ่มคลายความยึดติดได้ในระดับหนึ่ง. แต่หากต้องการความปล่อยวางมากกว่านั้น ก็พิจารณากันไปเลยว่า ผัดไทยคือเส้นแป้ง ผสมนั่นผสมนี่ ออกมาเป็นรสชาติอย่างนี้ ซึ่ง เรากินเพราะอยาก ไม่ได้กินเพราะหิว หากบรรเทาความหิว เรากินอะไรก็ได้ เพราะดีกว่าไม่มีกิน แล้วทำให้ร่างกายต้องเป็นทุกข์

ดังนั้น หากวันหนึ่งผมปล่อยวางได้ ผมจะกินผัดไทยร้านไหนก็ได้ สบายมาก ไม่ต้องเสียอารมณ์เวลาใครซื้อเจ้าอื่นมา หรือไม่ต้องกระวนกระวายว่าต้องร้านนี้เท่านั้น

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เราต้องนั่งทำงานที่บ้าน แต่เสียงรถผ่านไปมามันดังมากๆ เราจะรู้สึกหงุดหงิด ไม่มีสมาธิ เสียอารมณ์ต่างๆนานา

แ ต่พุทธศาสนาสอนให้เราเข้าใจโลก ให้ปล่อยวาง เราไม่สามารถไปปิดเสียงนั้นได้ ไม่สามารถห้ามการจราจร ไม่สามารถห้ามรถวิ่งได้ เพราะเสียงนั้นมันดังของมันอยู่แล้ว ถ้าไม่ดังจะเรียกว่าเสียง ถ้าไม่เข้าหูจะเรียกว่าได้ยินได้เช่นไร เมื่อเข้าใจโลกเช่นนี้ จะรู้ึสึกผ่อนคลายทันทีว่าไม่ต้องไปสนใจมัน มันเป็นของมันเช่นนั้นอยู่แล้ว

จากตัวอย่าง ดังนั้น เราจะพบว่า การปล่อยวาง การไม่ยึดติด จะทำให้พ้นทุกข์ได้

แ ละจากตัวอย่าง เราจะพบว่า ทำไมพระพุทธศาสนาถึงกล่าวเรื่องของจิตใจ เรื่องตัวเรา เรื่องการพัฒนาตัวเรา เพราะด้วยเหตุที่ว่า ทุกอย่างมันเป็นของมันเช่นนั้น แต่เรานั่นเองเป็นผู้สร้างทุกข์ สร้างสุข จากสิ่งนั้นเอง ไม่ได้เกี่ยวกับใคร อะไร หรือพระเจ้าองค์ใดทั้งสิ้น

เ มื่อกล่าวเช่นนี้ มันก็สามารถโยงไปถึงเรื่องกรรม*5 ที่ว่า เราได้ทำอย่างหนึ่งขึ้น จึงเกิดผลอย่างหนึ่ง และส่งผลไปอีกหลายๆ อย่าง ต่อเนื่องกันไป ซึ่งอนาคตเราก็ต้องไปเจอผลของมันอีกครั้ง

ตัวอย่างเช ่น กรรมระหว่างไปซื้อผัดไทย ต้องขี่มอไซต์ไปกิน ตากแดด เสียเงิน เพื่อระบายความใคร่ ผลของกรรมนี้คือ ตัวดำและเสียเงิน และเมื่อกลับถึงบ้าน หลายคนมักจะบ่นว่า ร้อนอิ๊บอ๋าย ตัวดำหมดเลย ประเทศไทยน่าจะอากาศเหมือนเมืองนอก แม่งเงินก็หมด กูน่าจะรวยๆ ทั้งๆ ที่ เป็นผู้คิด ผู้ทำเองทั้งนั้น แดดมันก็มีของมันอยู่แล้ว เงินก็มีอยู่เท่าที่หาได้อยู่แล้ว (แค่เหตุการนี้ มันต้องสาวไปหลายๆกรรมย้อนหลัง ว่าเพระาอะไรถึงอยาก เพระาอะไรเงินน้อย เพราะอะไรต้องขี่มอไซไป เพราะอะไรต้องตัวดำ โอ้ย สารพัดเกี่ยวโยง หากเปรียบว่า กรรม เหมือน world wide web ก็คงไม่ผิดนัก)

คราวนี้ ถ้าเรารู้จักปล่อยวาง เราก็อาจจะต้มมาม่ากืน ที่แม่เราซื้อมาให้ เพื่อระบายความหิว ตัวเราก็จะไม่ดำ ไม่เปลืองน้ำมัน เงินก็ยังอยู่ในกระเป๋า เพราะว่ากรรมที่ไปซื้อผัดไทย เราไม่ได้ก่อไว้ เราก็ไม่ต้องรับผลของมัน

ดังนั้น ทุกอย่างถูกกำหนดด้วย กรรม หรือ การกระทำ ของเรา ทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าก็ทรงได้ให้หลักปฏิบัติเรื่อง มรรค 8*6 หรือหนทางทั้ง 8 (ซึ่งมี ๑.เห็นชอบ ๒.ดำริชอบ ๓.เจรจาชอบ ๔.ทำการชอบ ๕.เลี้ยงชีพชอบ ๖.เพียรชอบ ๗.ระลึกชอบ ๘.ตั้งจิตมั่นชอบ) ซึ่งหนทางนี้เองที่จะเป็นแนวทางในการทำกรรมดีที่สุด ไม่ให้เราสุดโต่งไป หรือ ตึงไป (ทางสายกลาง) เป็นทางอันประเสริฐ ที่ให้ทำกรรมอันประเสริฐ และจะไม่ทุกข์เพราะกรรมที่ทำตามมรรค 8 นี้

หนทางแห่งมรรค 8 นี้ เป็นหนทางไปสู่นิพพานเลยทีเดียว เพราะเราทำแต่กรรมดี ตัดขาดกรรมชั่ว ทั้งหลาย ดังนี้แล้วเราจะขึ้นชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา อย่างแท้จริง

เ มื่อมีปัญญาคิดได้แล้ว สิ่งที่จะดำรงปัญญาให้คงอยู่ไว้กับเรา นั่นคือสมาธิ ตัวอย่างนี้ดูผมเป็นต้น ผมอ่านธรรมะ ผมรู้ธรรมะ แต่ผมเหมือนคนผีเข้าผีออก เดี๋ยวก็คิดได้ เดี่ยวก็เสียใจ เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นสุข เพราะผมรู้ว่าควรทำอย่างไร แต่สมาธิผมไม่มี ผมจะปฏิบัติตามที่รู้ ก็ได้เพียงระยะสั้นๆ ไม่กี่วัน พอสมาธิเสื่อม เริ่มลืมในสิ่งที่คิดได้ มันก็กลับมาบ้าบอเหมือนเดิม นี่แหละ ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดเจนดี

ดัง นั้นผมจึงต้องปฏิบัติเรื่องสมาธิให้มากๆ ที่สุดเมื่อมีโอกาส ไม่ว่าจะรำไทเก๊ก ทำงาน หรืออื่นๆ แต่สมาธิเหล่านี้เป็นสมาธิชั่วคราว สมาธิทางโลก สมาธิเพื่อคิดในเรื่องที่กำลังทำ ไม่ใช่สมาธิในทางสงบ หรือสมาธิเพื่อรู้จักตนเอง แต่ก็ยังดีที่มีสมาธิ ดีกว่าไม่มีเลย เพระาถ้าไม่มีสมาธิตัวนี้ งานคงไม่เสร็จ จำอะไรก็คงจำไม่ได้ ทำอะไรก็คงไม่สำเร็จ ดังนั้นมนุษย์เราก็คงต้องเริ่มจากสมาธิในการใช้ชีวิตก่อน แล้วเมื่อมีเวลาว่างก็ไปทำสมาธิเพื่อความสงบดูบ้าง ( สอนตัวเองไปในตัว 😀 )

แ ละวิธีเริ่มต้นที่จะทำให้สมาธิเราดีได้นั้น เริ่มจากการถือศีล เอาเพียงศีล 5 ก็พอ เมื่อมีศีล จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ทำอะไรที่เป็นเหตุให้ฟุ้งซ่าน อาการกังวลไม่มี สมาธิก็เกิดง่าย

มาถึงจุดนี้ เราจะสรุปได้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรทำ จะทำอะไรก่อนก็ได้ แล้วแต่ใครจะถนัด หรือแล้วแต่โอกาส อย่างผมสนใจอ่านธรรมะ พอจะมีปัญญาบ้างเล็กๆน้อยๆ ดังนั้น ผมก็ควรพัฒนาเรื่องสมาธิ และ ศีล

นี่คือแก่นธรรมที่แท้จริง ที่กลั่นมาจากประสบการณ์และการวิเคราะห์ของผม ผิดบ้างถูกบ้างก็ขออภัย แล้ว เชิญ ติชม ได้เลยนะครับ น้อมรับความเห็น

ยังไม่จบๆ เพราะผมยังไม่ได้กล่าวถึง พุทธศาสนาเนื้องอก

ใ นศาสนาพุทธเอง ไม่มีพิธีกรรมใดๆ และพระพุทธเจ้าเองก็ไม่ทรงยกย่องการทำพิธีกรรมใดๆ เพราะมันไม่เกิดผลทำให้เราพ้นทุกข์อะไรขึ้นมา แต่เนื่องจากพุทธไปผสมกับพราหม ในอินเดียเองก็ดี ในบ้านเราเองก็ดี เลยทำให้เกิดเนื้องอกเหล่านี้ขึ้น

เช่น การใส่เงินทำบุญ เราก็ทำตามพอสมควรของเรา เพื่อยืดอายุศาสนา ให้ทางวัดได้นำไปใช้ในทางธรรม หรือ ค่าน้ำค่าไฟ อะไรก็ว่าไป ไม่ใช่ไปบริจาคมากมาย เพื่อหวังขึ้นสวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ หรือทำให้อนาคตจะได้รวยๆ รวย ตามที่เข้าใจ หรือตามที่วัดบางแห่งได้บอกไว้ เพราะ ถ้าเช่นนั้น เราก็ทำบุญ 20 แล้วเราก็นอนรอเงินล้านตามที่ภาวนาไว้ก็ได้สิ

การบวชนาค ในสมัยพระพุทธเจ้าเองก็ไม่มี อยากบวชก็แค่ขออนญาติพ่อแม่ แล้วก็บวชเลย แต่เดี่ยวนี้ กลายเป็นต้อง เลี้ยงที่บ้านก่อนบวช 1 วัน เลี้ยงที่วัดวันบวชอีก 1 วัน แล้วกลับมากินที่บ้านต่อ เสียเงินเสียทอง กินเหล้าเมายา บางคนเป็นหนี้เป็นสิน เพราะไปกู้เขา อยากได้หน้าได้ตา จัดงานใหญ่โต อย่างนี้เรียกว่าทำบุญหรือบาป? ทุกข์หรือสุข?

การสวดอ้ อนวอนพระพุทธเจ้าอย่างนั้นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ได้บอกไปแล้วว่า สัตย์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำอะไรไว้ก็ได้ผลอย่างนั้น ยกเว้น บางครั้งกรรมเก่าๆ ชาติก่อน หรือชาตินี้ส่งผลให้เห็นทันที อาจจะช่วยไว้ได้ ซึ่งตรงนี้ไม่ได้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เพียงแต่อาจจะบังเอิญไปสวดอ้อนวอน แล้ว กรรรมส่งผลพอดี ก็เป็นปาฏิหารย์ของชีวิตไป แต่ให้เข้าใจไว้ว่าเป็นเพราะกรรม ไม่ใช่เพราะสวด ไม่เช่นนั้น จะหลงทางไปสู่ พุทธแบบเนื้องอกทันที

ห้ามงอก และห้ามหลง

พิมพ ์มายาวมาก ขอจบเท่านี้ดีกว่าบางที entry นี้อาจจะโชว์โง่ ที่มาสอนจระเข้ว่ายน้ำ แต่ก็กลั่นกรองมาจากการชีวิตจริงที่พยายามเอาธรรมะมาขัดตัวเองให้เป็นมนุษย์ กับเขาเสียที

หากเบื่อโลกมากๆ ต้องปฏิบัติธรรม เพื่อพบนิพพาน จะได้ไม่ต้องกลับมาเกิดใหม่อีก 😀

ขอทุกท่านเจริญในธรรม

เอวัง ก็มีด้วยประการเท่านี้แล…

หมายเหตุ
*1 คู่มือมนุษย์ มีผู้ทำออกมาหลายเล่ม เนื้อหาจะไม่เหมือนกันเป๊ะ แต่แก่นแท้เรื่องเดียวกันหมด อย่างเล่มที่ผมมีจะพูดถึง พุทธศาสนาเนื้องอก ในบทที่ 9 แต่เล่มที่เพิ่งอ่านวันนี้พูดในบทที่ 1
*2 พระพุทธเจ้าทำนายไว้ว่า 5,000 ปี ศาสนาพุทธจะสูญ ตอนนี้ผ่านมาแล้ว ครบ 2549 ปี เมื่อ วันอาสาฬหบูชา ที่ผ่านมา (ครบพระรัตนตรัย ถือว่าเป็นวันที่มีพุทธศาสนาเป็นวันแรก)
*3 โลกุตระ หมายถึง พ้นจากโลก,เหนือโลก,พ้นวิสัยของโลก,ไม่เนื่องในภพทั้งสาม
*4 ในหนังสือยกตัวอย่างว่า แม่น้ำคงคา เป็นแม่น้ำศักสิทธิ์ที่เชื่อกัน สามารถล้างบาปได้ ดังนั้นแล้ว กุ้งหอยปูปลาในนั้นคงจะบริสุทธิ์ทุกตัว 😀
*5 กรรม หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา แต่ผมขอแปลว่า การกระทำ ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนา มันก็ได้กระทำลงไปแล้ว อย่างนี้จะเข้าใจง่ายกว่า
*6 มรรค หมายถึง ทาง, หนทาง 1. มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

จาก http://ifew.exteen.com/20060720/entry 

Share