Category Archives: วิธีคิด

ความอดทน คือ อะไร

ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูก กระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือ ไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่น เหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเท อะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรก หรือของดีงามก็ตาม

งานทุกชิ ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงาน เล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัย ปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอัน หนึ่งเป็นพื้นฐาน จึงจะสำเร็จได้ คุณธรรมอันนั้น คือ ขันติ

ถ้าขาดขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใด เลยสำเร็จได้เลย เพราะขันติเป็นคุณธรรมสำหรับทั้ง ต่อต้านความท้อถอยหดหู่ ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้ เกิดความขยัน และทำให้เห็นอุปสรรคต่าง ๆ เป็นเครื่องท้าทาย ความสามารถ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของงานทุก ชิ้น ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ อนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น

โดยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

” ยกเว้นปัญญาแล้ว เราสรรเสริญว่าขันติเป็นคุณ ธรรมอย่างยิ่ง “ลักษณะของความอดทนที่ถูกต้อง

ม ีความอดกลั้น คือ เมื่อถูกคนพาลด่า ก็ทำราวกับว่าไม่ได้ยิน ทำหูเหมือนหูกระทะ เมื่อเห็นอาการยั่วยุ ก็ทำราวกับว่าไม่ได้เห็น ทำตาเหมือนตาไม้ไผ่ ไม่สนใจใยดี ไม่ปล่อยใจให้เศร้าหมองไปด้วย ใส่ใจ สนใจ แต่ในเรื่องที่จะทำความเจริญให้แก่ตนเอง เช่น เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

——————–

เวลา………….หนึ่ง .สายน้ำ…………หนึ่ง
คำพูด…………หนึ่ง โอกาส …………หนึ่ง
ลูกปืน……….. หนึ่ง……

ถ้า….หลุดไปแล้ว ไม่สามารถเรียกคืนได้
คนพูด …….พูดไปแล้วอาจจะลืม
แต่คนฟัง .. ฟังแล้วตกถึงหู กระทบถึงใจ…

บางคนอาจจะลืม แต่ก็มีบางคนไม่สามารถลบเลือนไปจากใจได้เลย….ตลอดชีวิต

จาก http://ifew.exteen.com/20050920/entry

Share

การเสพทางอารมณ์ กับ การกิน

การเสพกับการกิน ผมเพิ่งค้นพบว่ามันเหมือนกันนะ

ในเชิงลบ
ก ารกิน เรากินขนม อร่อยมากเลย มีรสหวานมาก แต่ในขณะนั้นเรากำลังรับสารอาหารอะไรบ้างก็ไม่รู้ที่กำลังจะสะสมในร่างกาย สุดท้าย ถ้ากินเหมือนเดิมทุกวัน เราก็จะอ้วน หรือเป็นเบาหวานในที่สุด

ก ารเสพทางอารมณ์ สมมุติว่าเราปล่อยใจให้คิดถึงใครสักคน ในขณะนั้นเราจะไม่รู้ว่า มันจะมีอารมณ์อยาก รัก หลง เข้ามาเกี่ยวข้อง สุดท้ายแล้วถ้าเราคิดถึงทุกวันๆ เราก็จะกลายเป็นคนที่หลงและคลั่งใคล้ มีแต่ความอยากที่จะเจอ ตลอดเวลา พูดง่ายๆ เมหือนคนบ้า

ในเชิงบวก
ห ากเรากินพวกผักผลไม้ไปเรื่อยๆ เราไม่รู้เดี๋ยวนั้นหรอกว่า มันจะไปช่้วยอะไรในร่างกายเราบ้าง มันจะใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ผมเคยได้ยินเรื่องเล่าว่ามีชายแก่คนไทย ไปเที่ยวจีน เขาเดินบนกำแพงเมืองจีน ลุยหิมะ เพื่อจะเที่ยว ได้อย่างไม่หนาว และไม่เหนื่อย ซึ่งสอบถามไป เขาก็บอกว่า เขากินโสมมาตั้งแต่อายุประมาณ 18 จนตอนนี้จะ 80 ก็ยังกินอยู่

หากเราเสพโดย เสพอารมณ์ทางสงบ เช่นการนั่งสมาธิ หรือทำใจให้ปลอดโปร่ง โอเคมันจะไม่ทำให้สติหรือสมาธิประทปัญญาคุณดีขึ้นทันตาเห็น แต่มันจะค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ จนเกิดขึ้นในอนาคต และมันจะมีผลกับร่างกายเหมือนการกินคือ เมื่ออารมร์ได้พักผ่อน ร่างกายก็จะได้พักผ่อนตาม หน้าตาและผิวพรรณของเราจะดี ให้คุณสังเกตุ คนแก่ที่เข้าวัดบ่อยๆ (เข้าด้วยใจนะ ไม่ใช่เข้าบังหน้า) จะมีหน้าตาดี สดใสมาก แม้แต่ผมช่วงที่เพิ่งสึกมาใหม่ๆ ก็มีคนทักว่าหน้าตาสดใสขึ้น เพราะช่วงบวชเราไม่ต้องคิดเรื่องใดๆให้ปวดหัว แล้วได้พักผ่อนที่เพียงพอทั้งทางกายและทางใจ

จาก http://ifew.exteen.com/20050921/entry-1 

Share

พระเจ้าหรือซาตาล

อ่า สืบเนื่องจาก blog เพื่อนผม ไอ้คุณโอ เรื่อง คุณอยากรู้มั๊ย มันทำให้ผมนึกถึง ความคิดๆ หนึ่งที่เคยวิ่งผ่านหัวของคนที่นับถือพุทธ

” ศาสนาที่มีพระเจ้า จะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่พระเจ้าสอนนั้นถูกต้องและดีงาม และพระเจ้าเหล่านั้นถ้าหากว่าเป็นซาตาลแปลงกายเป็นพระเจ้า เราจะรู้ได้อย่างไร และคำสอนเหล่านั้นทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ที่ดีแล้วพ้นทุกข์อย่างนั้นหรือ”

นี่คือสิ่งที่เรา ซึ่งนับถือพุทธ ได้ถามกับตนเอง ว่ามันดีหรือป่าว รวมไปถึงได้อ่านหนังสือที่ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ได้พูดไว้ทำนองว่า  “ศาสนา ที่ดีที่สุดในโลก เท่าที่มนุษย์
ชาติพึงมี ตัวไอน์สไตนเองยกย่อง พระพุทธเจ้ามากว่าเป็นผู้รู้จริง…เป็นศาสนาของคนที่ต้องการรู้จริง
เป็นศาสนาเดียวในโลกที่สามารถจะไขปริศนาของความลับโลก
ได้จากพลังจิตอันบริสุทธิ์ของผู้ที่ปฏิบัติ”
และก็พูดไว้อีกว่า  “พวกเราจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างมีเหตุผล ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดต่อไปได้”

ท ำให้เรากลับมคิดว่า หากพระเจ้าของบางศาสนา บอกให้ทำสงครามเพื่อศาสนาของตน มันถูกต้องแล้วหรือ, หากพระเจ้าของบางศาสนาสอนให้คนรักกันมันถูกแล้วหรือ

ม นุษย์ทุกคนต้องการความสุข ความสุขที่ศาสนาที่มีพระเจ้าคือความสุขทางโลกของศาสนาพุทธ หากต้องการความสุขที่แท้จริงจะต้องเป็นความสุขเหนือโลก ขึ้นไปอีก

ยกต ัวอย่างกรณีที่ผมได้กล่าวไว้ ว่าหากทำสงครามเพื่อศาสนา มันอาจจะมองในแง่ที่ว่าจงรักภักดีต่อพระเจ้าและศาสนา มันก็เป้นส่วนดี แต่มันเบียนเบียนและทำลายชีวิตผู้อื่น โลกมันจะสงบได้อย่างไร ตอให้ทั้งโลกนับถือเหมือนกันหมด คนในศาสนาเดียวกันแท้ๆ ยังฆ่ากันเลย อันนี้ผมมองว่าเป็นความเชื่อที่รุนแรงไป ไม่น่าพูดถึงต่อ

และบางพระเจ ้าสอนให้คนรักกัน ข้อนี้ไม่แรง ข้อนี้เป็นสุข เป็นสุขทางโลก ทำไมผมถึงบอกว่าเป็นสุขทางโลก ให้ลองไปถามคนมีความรักสิครับ คิดถึงเขาเป็นทุกข์ไหมว่าเขาจะเป็นอย่างไร เป็นห่วงเขาเป็นทุกข์ไหมว่าเขาจะอยู่อย่างไร รักเขาเป็นทุกข์ไหมว่าเขาจะมีคนอื่นไหม ได้อยู่กับเขาเป็นทุกข์ไหมว่าสักวันเขาจะพรากจากเราไป ทุกสิ่งที่พูดมาถ้าเรามองดูดีๆ มันเป็นอวิชชาบังตา ที่เราหลงเชื่อว่าความรักนั้นเป็นของดี มีความสุข แต่ถ้าคิดให้ดี มันมีความทุกข์แฝงอยู่ มีความยึดติดแฝงอยู่ (แม้แต่ผมเอง ยังหลงยึด)

แ ต่สำหรับศาสนาพุทธ ถึงแม้ว่าจะไม่เคยสอนให้คนรักกัน แต่ศาสนาพุทธสอนให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (หรือพูดอีกนัยหนึ่งให้เขาใจก็อาจจะเรียกว่ารัก แต่เป็นรักที่หวังดี รักที่อยู่อย่างมีสุขที่แท้ รักที่ไม่ยึดติด รักที่เป็นกลาง) ซึ่งอาศัย พรหมวิหาร 4 มาอธิบายได้ดังนี้

ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

มี เมตตา ( การปรารถนาดีรักใคร่ต่อสัตว์ทั้งหลาย
เมตตาคือความไม่โกรธ
  ความรักใคร่ชื่นชมนี้ มี 2 อย่าง คือ (1) เมตตาอโทสะ
(2) ตัณหาเปมะ ใน ๒ อย่างนี้ เมตตาอโทสะ เป็นความ
รักใคร่ชื่นชมปรารถนาดี ไม่มีการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร
ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง แต่อย่างใด ถึงจะจากไป
อยู่ที่อื่นก็ไม่เดือดร้อน ส่วนตัณหาเปมะนั้น เป็นความรักใคร่ชื่นชม
ด้วยการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี
ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงและแยกจากกันไม่ได้ ดังนั้นความรักใคร่ชื่นชม
ชนิดที่เป็นชนิดตัณหาเปมะนี้ จึงได้ชื่อว่า เป็นเมตตาเทียม เพราะยัง
มีโลภะอยู่ด้วย
)

มี กรุณา ( เมื่อเห็นสัตว์ทั้งหลายได้รับ
ความลำบาก จิตใจของสัปบุรุษ (สัปบุรุษ – สัตบุรุษ คือ คนสงบ
คนดี คนมีศีลธรรม คนที่ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม – พจนานุกรม
พุทธศาสน์) ก็เกิดความหวั่นไหว นิ่งดูอยู่ไม่ได้ หรืออีกนัยหนึ่ง
หมายความว่า ย่อมช่วยผู้ที่ได้รับความลำบากนั้นให้ได้รับความสุข
ดังแสดงวจนัตถะว่า
ปรทุกฺเข สติ สาธูนํ หทยกมฺปนํ กโรตีตี = กรุณา
ธรรมชาติใดย่อมทำให้จิตใจของสัปบุรุษทั้งหลาย หวั่นไหว
อยู่นิ่งไม่ได้ เมื่อผู้อื่นได้รับความลำบาก ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น
ชื่อว่า กรุณา
กิณาติ ปรทุกฺขํ หึสติ วินาเสตีติ = กรุณา
ธรรมชาติใดย่อมเบียดเบียนทำลายความลำบากของผู้อื่นเสีย
ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กรุณา
)

มี มุทิตา ( ความรื่นเริงบันเทิงใจ
ในความสุขความสมบูรณ์ของผู้อื่น  มี ๒ อย่าง คือ มุทิตาแท้และ
มุทิตาเทียม ใน ๒ อย่างนี้ มุทิตาแท้ แม้ว่าจะมีความรื่นเริง
บันเทิงใจต่อสัตว์ที่มีสุขอยู่ หรือจะได้รับความสุขต่อไป
ข้างหน้าก็ดี จิตใจหาได้มีการยึดถือหรืออยากโอ้อวดต่อผู้อื่น
แต่อย่างใดไม่ มีแต่ความเบิกบานแจ่มใสอันเป็นตัวมหากุศล … 

สำหรับมุทิตาเทียมนั้น แม้จะมีความยินดีปรีดาก็จริง
แต่ก็มีการยึดถืออยากได้ดีมีหน้า ซ่อนอยู่เบื้องหลัง
ส่วนมากย่อมเกิดขึ้นเมื่อได้เห็นบิดา มารดา ญาติพี่น้อง
บุตร ธิดา มิตรสหายของตนมียศ มีทรัพย์ อำนาจ หรือ
ได้ทราบว่าจะได้รับยศอำนาจในวันหน้า โดยความยึดถือ
ว่าผู้นั้นเป็นบิดา มารดา ฯลฯ ของตน
)

 มี อุเบกขา ( วามวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลาย
โดยมีจิตใจที่ปราศจากอาการทั้ง ๓ กล่าวคือ ไม่น้อมไปในความ
ปรารถนาดี ในการที่จะบำบัดทุกข์ ในการชื่นชมยินดี ในความสุข
ของสัตว์แต่อย่างใดทั้งสิ้น … พิจารณาในสัตว์ทั้งหลายพอประมาณ
ด้วยการที่ไม่รักไม่ชัง คือ สละความวุ่นวายที่เนื่องด้วยเมตตา กรุณา
มุทิตา … และมีสภาพเข้าถึงความเป็นกลาง
 

การวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลายนั้น มีอยู่ด้วยกัน ๒ อย่าง คือ
เป็นไปด้วยอำนาจแห่งตัตตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์
นั้นๆ / ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง) …
นี้เป็นอุเบกขาแท้

 ส่วนที่เป็นไปด้วยอำนาจโมหะนั้น เมื่อได้ประสบกับสิ่งที่น่ารัก
ก็ไม่รู้จักรัก น่าขวนขวายอยากได้ก็ไม่มีการขวนขวายอยากได้
เฉยๆ ไป น่าเคารพเลื่อมใสก็ไม่รู้จักทำการเคารพเลื่อมใส
น่ากลัวน่าเกลียดก็ไม่รู้จักกลัวจักเกลียด ควรสนับสนุนส่งเสริม
ก็ไม่รู้จักสนับสนุนส่งเสริม ควรแก้ไขปรับปรุงให้ดีให้สมบูรณ์
ในการงานทั้งปวงก็นิ่งเฉยเสีย นี้เป็นอุเบกขาเทียม
)

ที่มาของคำแปล http://board.dserver.org/e/easydharma/00000024.html

ซ ึ่งถ้าใครยังไม่เข้าใจอวิชชาบังตา ก็ลองดูคาวมหมายของ พรหมวิหาร 4 แต่ละตัวก็ได้ เช่น คำว่า อุเบกขา ถ้าเรารู้อย่างคร่าวๆ เราจะรู้ว่ามันคือการวางตัวเป้นกลาง ไม่ถือดีถือร้ายใดๆ นี่แหละยังเรียกว่าบังตา แต่สิ่งที่เรียกว่าวิชชา คือเราจะรู้ลึกซึ้งไปกว่านี้ว่า “มันมีแยกเป็น 2 แบบนะ คือการวางเฉยแบบอารมณ์และจิตเป็นกลาง กับการวางเฉยแบบใครจะทำอะไรก็ปล่อยมัน ไม่สนใจ”

คราวนี้กลับมาหัวข้อข องเรา ว่า พระเจ้าหรือซาตาล …. สิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วคือบางศาสนาสอนให้สุขทางโลก คือให้อยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย ถึงแม้จะสุขแค่ไหนก็ยังมีทุกข์แฝงอยู่เป็นเรื่อยๆ เป็นศาสนาที่ยึดติดกับพระเจ้า พระเจ้าไม่ชอบสิ่งใด ต้องทำสิ่งนั้นให้ มันเป็นทางโลก

แต่ศาสนาที่เหนือโลก (หรือที่เรียกว่าโลกุตระ) มันอยู่เหนือการยึดติดกับพระเจ้า อยู่เหนือการยึดติดกับความทุกข์ หรือแม้แต่ความสุข ( หลายคนชาวพุทธมักเชื่อว่า ศาสนาพุทธที่สุดคือการพ้นทุกข์และมีสุข แต่ที่จริงแล้วสูงสุดคือการ พ้นจากทุกข์และพ้นจากสุข อยู่ในสภาพเป็นกลาง)

ถ ึงแม้ว่าการปฏิบัติอย่าที่กล่าวมาทางพุทธ จะเป็นเรื่องยาก เป็นการปฏิบัติชั้นพระอริยะ แต่สิ่งที่พุทธสอนให้ปุถุชนใช้ในทางโลกคือ ศีล 5 ก็เพียงพอแล้วสำหรับทางโลก แล้วมันจะเป้นรากฐานไปสู่ความเป็นพระอริยะ และพ้นทุกข์ถึงพระนิพพานต่อไป

** ปล. ความคิดเห็นส่วนตัวเด้อ ว่าศาสนาแตกต่างอย่างไร แต่มิได้จะว่าพระเจ้าของศาสนาใดๆ ว่าไม่ดี เพียงแต่อยากเสนองแง่มุมของคนที่ไม่มีพระเจ้าให้แก่คนที่มีพระเจ้าได้ทราบว่ าพวกเราคิดอย่างไร

จาก http://ifew.exteen.com/20050922/entry 

Share