Category Archives: วิธีคิด

วิถีบูรพา

วันนี้หลังจากอ่านหนังสือโลกานุวัฒของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล จบ ก็รีบไปหาหนังสือมาเช่าต่อทันทีตอนพักเที่ยง เพื่อเตรียมอ่านฆ่าเวลาตอนนั่งเรียน DBMS ช่วงบ่าย ไม่งั้นง่วง และฟุ้งซ่านชิบเป๋ง

ห นังสือที่ผมยืมมา ชื่อ วิถีบูรพา ของ ดร.สุวินัย ภรณวลัย มีอยู่บทหนึ่งท่านกล่าวถึง สุดยอดเคล็ดวิชา “ดาบอยู่ที่ใจ” ของท่านทากุอันในคัมภีร์ “ฟุโดจิชินเมียวโรกุ” หรือ คัมภีร์พระอจลนาถ (คัมภีร์แห่งจิตพระผู้ไม่หวั่นไหว) ซึ่งหาอ่านได้ยากมากๆ ซึ่งคัมภีร์นี้ไม่เพียงแต่ประยุกต์ใช้ในวิชาดาบ แต่ยังให้แง่คิดและทางสว่าง เพื่อใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ด้วย ซึ่งบางทีมันทำให้ผมคิดว่าเหมือนเป็นคำตอบที่ผมเคยถามตัวเอง ผมจะขอสรุปสั้นๆ มาให้อ่านสองบทครับ

บทที่ 1 “ว่าด้วยใจที่ไม่ยึดติด”
อวิชชาและจิตที่ยึดติด คือ ที่มาแห่งทุกข์
อวิชชา คือ ความหลง คือ ความไม่รู้แจ้ง
จิตที่ยึดติด คือ การที่ไปจดจ่อไปอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ห ากท่านอยู่ต่อหน้าคู่ต่อสู้ที่กำลังฟันดาบ และท่าน “คิด” ที่จะยกดาบตั้งรับ นั่นคือ จิดท่านอยู่ที่ดาบ มันจะทำให้การเคลื่อนไหวไม่สมบูรณ์ และท่านจะเป็นฝ่ายที่ถูกฟัน แต่สิ่งที่ท่านทำคือควรจะดู แต่แค่จงดูเท่านั้น อย่าจดจ่อ แต่เคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับการทำงานของดาบ โดยไม่คิดฟันตอบ ไม่คิดแพ้ ไม่คิดชนะ ไม่คิดแบ่งเขาแบ่งเรา เพียงเมื่อท่านเห็นดาบ และไม่ลังเลว่าจะกระโจนเข้าใส่ ดาบมันจะทำหน้าที่ของมันเอง ต่อให้ท่านไม่มีดาบ ก็จะชิงดาบจากศัตรูได้ ในเซนจะเรียกว่า “การคว้าหอกปรปักษ์มาแทงปรปักษ์ที่มุ่งหมายจะมาทิ่งแทงเรา” (อ่านแล้วคล้ายๆพิชัยสงครามซุนวูที่ผมเคยบอกไว้ว่า “ชนะโดยไม่คิดที่จะเอาชนะ”)

เปรียบเทียบในชีวิตประจำวันของเรา ครั้งหนึ่งผมกินมะขาม ต้องการปาออกนอกหน้าต่างที่มีลูกกรงอยู่ เล็งอย่างดี แต่มันก็โดนลูกกรงแล้วเด้งกลับมา แต่เมื่อตั้งใจโยน แต่ไม่คิดไม่เล็ง(ไม่จดจ่อ) มันดันออกไปนอกหน้าต่างได้ หรือางครั้งไม่ตั้งใจทำอะไร แต่กลับออกมาสวยงาม เออ แปลกดี คิดว่าทุกคนคงเคยเจอ

บทที่สอง “เคลื่อนเหมือนไม่เคลื่อน”
ปัญญาที่ไม่หวั่นไหวของเหล่าพุทธะ
ไ ม่ใช่หมายถึงไม่เคลื่อนเหมือนหินนะครับ แต่หมายถึงไม่ถูกยึดติดโดยสิ่งใดนั่นเอง เช่น มีคนถือดาบจะฟันเราสิบคน ถ้าเรารับการโจมตีของแต่ละคนได้อย่างต่อเนื่องโดยใจของเราไม่ให้ใจของเราไปต ิดขัดกับใครๆ หรือที่ใดๆ หรือดาบเล่มใด เราย่อมต่อกรได้อย่างไม่มีปัยหา สรุปคือ ไม่ไปยึดติดกับใครสักคน มันจะไม่ติดขัด แต่หากยึดกับคนหนึ่ง แต่คงต้องเสียท่าให้กับคนที่สอง เพระาไม่เคลื่อนไหวไม่ได้อย่างอิสระอีกต่อไปแล้ว เพราะมีความจดจ่อนั่นเอง

เ ปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันของเรา ให้ท่านเพ่งเกสรดอกไม้ ท่านก็จะเห้นเกสรดอกไม้ จะเห็นทั้งดอกได้อย่างไร จะเห็นความสวยงามของดอกไม้ได้อย่างไร (เอาไว้อ้างอาจารย์เวลานั่งหลังห้องว่า ผมไม่อยากนั่งหน้าเพราะโฟกัสมันแคบ จดจ่อได้เป็นจุดๆ เลยต้องนั่งหลัง เห็นทั่วกระดานและทั่วห้องดี :D)

อ่านแล้วก็ได้อะไรเยอะดีครับ แห่งวิถีบูรพา

จาก http://ifew.exteen.com/20060109/entry 

Share

จริต 6

ในหนังสือ Passion ได้นำเรื่องของ จริต 6 มากล่าว เพื่อเข้าใจลูกค้า และ คนอื่นๆ
ดังนั้น ผมก็เลยขอเอาเนื้อหาของจริต 6 ใน ธรรมะ มาให้อ่านกันซะเลย

จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยวหรืออารมณ์เป็นที่ชอบท่องเที่ยวของ จิตนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงประมวลไว้เป็น ๖ ประการด้วยกัน คือ

๑. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล รวมความว่าอารมณ์ที่ท่องเที่ยวไปในราคะ คือ ความกำหนัด ยินดีนี้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของจริต มีอารมณ์หนักไปในทางรักสวยรักงาม ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต มีกิริยาท่าทางละมุนละไมนิ่มนวล เครื่องของใช้สะอาดเรียบร้อย บ้านเรือนจัดไว้อย่างมี ระเบียบ พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะสกปรก การแต่งกายก็ประณีต ไม่มีของใหม่ก็ ไม่เป็นไร แม้จะเก่าก็ต้องสะอาดเรียบร้อย ราคจริต มีอารมณ์จิตรักสวยรักงามเป็นสำคัญ อย่าตี ความหมายว่า ราคจริต มีจิตมักมากในกามารมณ์ ถ้าเข้าใจอย่างนั้นพลาดถนัด

๒. โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธเป็นเจ้าเรือน เป็นคนขี้โมโหโทโส อะไรนิดก็โกรธ อะไร หน่อยก็โมโห เป็นคนบูชาความโกรธว่าเป็นของวิเศษ วันหนึ่งๆ ถ้าไม่ได้โกรธเคือง โมโหโทโส ใครเสียบ้างแล้ว วันนั้นจะหาความสบายใจได้ยาก คนที่มีจริตหนักไปในโทสจริตนี้ แก่เร็ว พูด เสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ ไม่ใคร่ละเอียดถี่ถ้วน แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว

๓. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าการจ่ายออก ไม่ว่า อะไรเก็บดะ ผ้าขาดกระดาษเก่า ข้าวของตั้งแต่ใดก็ตาม มีค่าควรเก็บหรือไม่ก็ตามเก็บดะไม่เลือก มีนิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ชอบเอารัดเอาเปรียบชาวบ้าน ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล รวมความว่าเป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้

๔. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด มีเรื่องที่จะต้องพิจารณานิดหน่อย ก็ต้องคิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสิน คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น ร่างกายแก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก

๕. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุไร้ผล พวกที่ ถูกหลอกลวงก็คนประเภทนี้ มีใครแนะนำอะไรตัดสินใจเชื่อโดยไม่ได้พิจารณา

๖. พุทธจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาดเฉลียว มีปฏิภาณไหวพริบดี การคิดอ่านหรือการทรงจำก็ดีทุกอย่าง อารมณ์ของชาวโลกทั่วไป

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลอารมณ์ว่า อยู่ในกฎ ๖ ประการตามที่กล่าวมาแล้วนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง ๖ อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อย ยิ่งหย่อนกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในการละในชาติที่เป็นอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้าย คลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกัน ทั้งนี้ก็เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน ใครมีบารมี ที่มีอบรมมามาก บารมีในการละมีสูงอารมณ์จริตก็มีกำลังต่ำไม่รุนแรง ถ้าเป็นคนที่อบรมในการละ มีน้อย อารมณ์จริตก็รุนแรง จริตมีอารมณ์อย่างเดียวกันแต่อาการไม่สม่ำเสมอกันดังกล่าวแล้ว

ที่มา : http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=1868
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=605
ข้อมูลเพิ่มเติมและวิธีแก้ไข : http://dhamma-isara.org/vidhi3_2.html << แนะนำ!!

ถ ้าอยากรู้เรื่อง จริต 6 แบบใช้ภาษาง่ายๆ พร้อมวิธีแก้ไข และจำแนกบุคคล เช่น เจ้านาย ลุกน้อง แฟน ลูก ก็ลองหาหนังสือ เล่มนี้มาอ่านครับ

จริต ๖ : ศาสตร์ในการอ่านใจคน
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
โดย : ดร.อนุสร จันทพันธ์; ดร.บุญชัย โกศลธนากุล

Share

การค้นพบ

4500 ปี ก่อน คศ. มนุษย์เข้าสู่ยุคสัมฤทธิ์
4000 ปี ก่อน คศ. มนุษย์เริ่มสร้างเขื่อน(อียิป), มนุษย์เริ่มวางแผนสร้างชุมชน(จีน)
3400 ปี ก่อน คศ. มนุษย์รู้จักตัวเลขในการนับ (อียิป)
3300 ปี ก่อน คศ. มนุษย์รู้จักตัอักษรแทนคำพูด (อียิป)
3100 ปี ก่อน คศ. มนุษย์รู้จักการจับปลา (อียิป)
2650 ปี ก่อน คศ. มนุษย์รู้จักผ้าไหม (จีน)
2500 ปี ก่อน คศ. มนุษย์รู้จักห้องสมุด (บาบิโลน)
2400 ปี ก่อน คศ. มนุษย์รู้จักปฏิทิน (ซูเมอเรียน)
1790 ปี ก่อน คศ. มนุษย์รู้จักใช้กฏหมาย (บาบิโลน)
1500 ปี ก่อน คศ. มนุษย์ รู้จักเหล็ก (อาเมเนีย)
คศ. 105 มนุษย์รู้จักกระดาษ (จีน)
คศ. 618 มนุษย์รู้จัก เครื่องถ้วยชาม (จีน)
คศ. 845 มนุษย์รู้จักใช้กระดาษเป็นเงิน (จีน)
คศ. 868 มนุษย์รู้จักการพิมพ์หนังสือ (จีน)
คศ. 1250 มนุษย์รู้จักปืน
คศ. 1492 มนุษย์รู้จัก อเมริกา (อังกฤษ)
คศ. 1665 มนุษย์รู้จัก เซลล์
คศ. 1865 มนุษย์รู้จักพันธุกรรม (ออสเตรีย) , มนุษย์รู้จักการฆ่าเชื่อโรค (ฝรั่งเศส)
คศ. 1876 โทรศัพท์
คศ. 1895 มนุษย์รู้จักโรงหนัง (ฝรั่งเศส), รู้จักรังสี X (เยอรมัน)
คศ. 1935 มนุษย์รู้จัก เรดาร์
คศ. 1945 มนุษย์รู้จัก atomic bomb (อเมริกา)
คศ. 1961 มนุษย์ออกนอกโลก
คศ. 1969 มนุษย์เหยียบดวงจันทร์ (อเมริกา)
คศ. 1971 มนุษย์รู้จัก ไมโครโพรเซสเซอร์ (อเมริกา)
คศ. 1975 คอมพิวเตอร์ส่วนตัว (อเมริกา)
ฯลฯ

แต่สุดท้าย มนุษย์ไม่เคยรู้จักตัวเองและรู้จักคนที่ยืนอยู่เคียงข้างเราเลย
รู้สึกเสียใจจัง ที่เมื่อก่อนไม่รู้จักตัวเองให้ดีกว่านี้ว่าต้องการอะไร

จาก http://ifew.exteen.com/20060419/entry 

Share