Category Archives: วิธีคิด

ชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจ

ดองไปซะนาน แหะๆ เหม็นไปทั่ว blog เลย วันนี้เลยเอาเรื่องไทเก๊กมาฝาก

เมื่อวัน 15-17 ยอมโดดงานแต่งงานเจ้านาย ไปเข้าคอร์สอบรมไทเก๊กกับธาตุทั้ง 5 มา
พูดง่ายๆ ก็คือไปเรียนกำลังภายใน นั่นเอง รู้สึกว่าได้อะไรเยอะมากๆ และะรู้สึกคิดถึงพี่เชนอย่างสุดซึ้ง

อาจารย์ที่สอนคือ อาจารย์ฌานเดช พ่วงจีน เป็นหนึ่งในกระบวนกรของมูลนิธิสังคมวิวัฒน์ (Foundation for an Evolving Society) หรือเว็บ วงน้ำชา.คอม นั่นเอง

ขอเกริ่นนิดๆว่า รูปแบบการสอนของมูลนิธินี้จะเป็นรูปแบบที่เรียกว่า สุนทรียสนทนา (Dialogue) ทุกคนจะนั่งสบายๆ อยากนอนก็นอน นั่งก็นั่ง แล้วฟังอาจารย์สอน จากนั้น จะล้อมวง ซักถาม เสนอความคิดเห็น กัน ในระหว่างที่ใครพูด ทุกคนจะเงียบฟัง และอาจารย์จะให้คำตอบปิดท้ายในทีเดียว และในระหว่างการฟัง จะต้องแขวนความคิดของตนเองไว้ก่อน เพื่อให้ข้อมูลของคนอื่นไหลเข้ามา และคิดประมวลผลตอนจบในทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ใช้ได้เลยทีเดียว (เป็นหนึ่งในวิธีที่อาารย์ฌานเดชเอาไปสอนพวก ดร. ในกลุ่มของเครือซีเมนต์ไทย) และอีกอย่างที่มูลนิธินี้ได้ทำคือ โครงการ HomeSchool ที่เป็นวิธีการเลี้ยงลูกแบบอยู่กับบ้าน โดยเราสร้างแรงบรรดาลใจเพื่อให้เด็กเกิดความอยากเรียนรู้และตอบสนองในใจที่เ ขาต้องการ ซึ่งลูกของอาจารย์และลูกศิษย์ของท่านแต่ละคน ล้วนประสบความสำเร็จ จนผมทึ่งไปเลย
การเข้าไปฝึกครั้งนี้ เหมือนทำให้ผมรู้สึกว่าเข้าไปเรียนวิชาหมอจีนยังไงก็ไม่รู้ เพราะทั้งหมดผมเคยอ่านเจอในหนังสือแพทย์แผนจีนมาบ้าง แต่พอมาฝึก ก็ทำให้กระจ่างแจ้งในที่มาเลยทีเดียว นี่แหละเหตุผลที่ทำให้คิดถึงพี่เซน (ฮ่าๆ เชนที่รักขาาาา คิดถึงจังเลย) แต่ก็พอโชคดีบ้างที่มีลูกศิษย์อาจารย์เรียนแพทย์แผนธิเบตมาสอนร่วมด้วย อายุน้อยกว่าผมซะอีก ก็เลยพอจะซักถามอะไรบางส่วนได้บ้าง (ไม่ต้องรอมาถามที่รักเชน ฮ่าๆ) ถามว่าได้อะไรไหมมันได้นะ แต่ถ้าจะให้เล่า ก็ไม่รู้จะเล่าอะไร มันก็แปลกๆ เหมือนกัน เอาเป็นว่า ดูรูปที่ผมถ่ายมาละกัน

อันนี้สอนพื้นฐานของการฝึกว่า มันเริ่มจากสิ่งสูงสุดคือ ไท่ชิ หรือ ไท่จี๋ หรือ มวยไทจี๋ (ไทเก๊ก)
ซึ่งมวยก็จะแยกเป็น 2 ส่วนคือ หยิน (ฝึกภายใน) และ หยาง (ฝึกภายนอก)  ซึ่งในหยางก็มีหยิน ในหยินก็มีหยาง ลึกลงไปเรื่อยๆ อีกที
การฝึกภายในก็เป็นเรื่องของการฝึกกำลังภายใน การบ่มเพาะพลัง การเก็บพลัง การปล่อยพลัง การทำสมาธิ การหายใจทั้งหลายแหล่

ก ารฝึกภายนอกก็เป็นเรื่องของท่าทางที่ใช้  มีท่ารุกและรับ แยกเป็น 8 ท่า รวมท่าก้าวเท้าอีก 5 เป็น 13 ท่าพื้นฐานของไทเก๊กที่รำกันอยู่ทุกวัน ล้วนผลสมมาจาก เผิง หลีว์ จี่ อั้น ไฉ่ เลียะ โจ่ว โค่ว ทั้งนั้น

(ชักเริ่ม งง เว้ย)

และอาจารย์ก็ได้พูดเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของนาฬิกาชีวิต ที่ว่า เวลาไหน อวัยวะไหนทำงาน ชี่เดินทางไปไหน
เราควรดูแลอย่างไร ควรป้องกันและบำรุงมันได้อย่างไร ตรงนี้เอาไปใช้รักษาร่่างกายได้อย่างดีเลย

แต่นอกจากชี่จะเดินทางผ่านอวัยวะแล้วก็ยังมีจุดต่างๆ ที่ต้องรู้ด้วย และจุดเลห่านี้ก็สำคัญในการทำสมาธิ
บ่มเพาะ และเดินพลังเพื่อมาใช้งาน


รูปนี้คือสถานที่ฝึกและประลองยุทธ ฮ่าๆๆ (สถานปฏิบัติธรรม ธาราศัย ซอยสันติธรรม นครสวรรค์)

เรื่องมวยเป็นเรื่องที่อยากได้อยู่แล้ว แต่เรื่องที่เป็นของแถมติดตัวมา มีค่ามากกว่ามวยที่ผมเรียนเสียอีก
นั่นคือ การนำหลักการของมวย ความสมดุล ของหยินหยาง  ความเป็น เต๋า เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อให้เรามีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งกายและใจ ไม่ว่าจะเกิดกับตัวเองและคนรอบข้างของเราทั้งหลาย

ต้องรู้จักวาระของเรา วาระของเขา ว่าทุกคนล้วนมีเหตุผลเป็นของตนเอง แล้วจะทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่เขาคิด
เขาทำ เข้าใยความเป็นเราเป็นเขา แล้วจะทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั้งโลกและจักรวาลได้อย่างน่าทึ่ง

ม ันเป็นการตอบคำถามในสิ่งที่ผมคิดมานานได้เหมือกนันว่า ชีวิตเราจะอยู่ในทางโลก แต่ก็อยู่ในทางธรรมได้สมดุลได้อย่างไร ถึงแม้ว่าจะเป็นคำตอบที่ไม่กระจ่าง แต่ผมก็เชื่อว่า หากเริ่มทดลองทำตามที่รู้มา ไม่ว่าจะผ่านทางปรัชญาของมวย หรือ ปรัชญาของเต๋า หยินหยาง คิดว่าคงน่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

อาจารย์สอนไว้ว่า เมื่อมีอี้(ความคิด,จินตนาการ) ก็จะทำให้เกิดชี่(พลังชีวิต) เมื่อชี่และอี้พร้อม เสิน(ปัญญา)ก็จะมา

ห มายความว่า เมื่อเราคิดสิ่งใดก็มุ่งมั่นที่จะทำ ที่สำคัญจะต้องเชื่อว่ามันมีจริงและทำได้จริง มันจะทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดกับเราหรือเกิดกับสิ่งรอบตัวเรา ดังนั้น เมื่อกายพร้อมและใจพร้อม ปัญญาที่เอาไว้ให้เราหลุดพ้นจากปัญหามันจะเกิดขึ้น

เอวัง ด้วยประการฉะนี้..

Share

Steve Jobs “จงหิวโหย จงโง่เขลา”

Positioning Magazine ตุลาคม 2548

สุนทรพจน์ที่สร้างความประทับใจไปทั่วโลกของ Steve Jobs ผู้ก่อตั้ง Apple และผู้สร้าง Macintoch

โอวาทที่ Steve Jobs ผู้สร้าง Macintosh แสดงในวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัย Stanford เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา ไม่เพียงสร้างความประทับใจให้แก่บัณฑิตจบใหม่ในวันนั้น แต่ยังรวมไปถึงโลกคอมพิวเตอร์ที่ Silicon Valley และยังคงได้รับการชื่นชมและกล่าวขวัญไปทั่วโลกจนถึงวันนี้

สุนทรพจน์วันนั้น Jobs เพียงแต่เล่าถึงบทเรียนในชีวิตของเขา 3 บท แต่เป็น 3 บทที่ทำให้เขาซึ่งแม้แต่แม่ที่แท้จริงก็ไม่ต้องการ กลายเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

บทเรียนบทแรกของ Jobs ซึ่งเขาเรียกมันว่า “การลากเส้นต่อจุด” เริ่มต้นด้วยการเล่าว่า ตัวเขาเองไม่เคยเรียนจบมหาวิทยาลัย เพราะได้ลาออกหลังจากเรียนในมหาวิทยาลัย Reed College ไปได้เพียง 6 เดือน ส่วนเหตุผลที่ทำให้เขาตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยนั้น Jobs กล่าวว่า มันเริ่มขึ้นตั้งแต่เขายังไม่เกิด

แม่ที่แท้จริงของเขา ซึ่งเป็นนักศึกษาสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน ไม่ต้องการเลี้ยงดูเขา และตัดสินใจยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นตั้งแต่เขายังไม่ลืมตาดูโลก แต่เธอมีเงื่อนไขว่า พ่อแม่บุญธรรมของลูกของเธอจะต้องเรียนจบมหาวิทยาลัย Jobs เกือบจะได้เป็นลูกบุญธรรมของนักกฎหมายที่จบมหาวิทยาลัยและมีฐานะ ถ้าเพียงแต่พวกเขาจะไม่เปลี่ยนใจในนาทีสุดท้ายว่า พวกเขาไม่ต้องการเด็กผู้ชาย

กว่า Jobs จะได้พ่อแม่บุญธรรม ซึ่งต่อมาเป็นผู้เลี้ยงดูเขาจนเติบใหญ่ ก็อีกหลายเดือนหลังจากเขาเกิด เนื่องจากแม่ที่แท้จริงของเขาเกิดจับได้ว่า ว่าที่พ่อแม่บุญธรรมของ Jobs ได้ปิดบังระดับการศึกษาที่แท้จริงซึ่งไม่ได้จบมหาวิทยาลัย และพ่อบุญธรรมของ Jobs ไม่ได้เรียนมัธยมด้วยซ้ำ แต่ต่อมาเธอก็ได้ยอมเซ็นยก Jobs ให้แก่พ่อแม่บุญธรรม เมื่อพวกเขารับปากว่าจะส่งเสียให้ Jobs ได้เรียนมหาวิทยาลัย

17 ปีต่อมา Jobs ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยสมตามความต้องการของแม่ที่แท้จริง ผู้ไม่เคยเลี้ยงดูเขาแต่กลับต้องการกำหนดชะตาชีวิตของลูกที่ตนไม่เคยเลี้ยงด ู เพียง 6 เดือนในมหาวิทยาลัย Jobs ใช้เงินเก็บที่พ่อแม่บุญธรรมซึ่งเป็นเพียงชนชั้นแรงงานได้สะสมมาตลอดชีวิต หมดไปกับค่าเล่าเรียนที่แสนแพง Jobs ตัดสินใจลาออก เพราะเขามองไม่เห็นคุณค่าของการเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่สามารถช่วยให้เขาคิดได้ว่า เขาต้องการจะทำอะไรในชีวิต

แม้ว่าตอนนี้เมื่อมองกลับไปเขาจะรู้สึกว่า การตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิ ตของเขา เพราะการลาออกทำให้เขาไม่ต้องฝืนเข้าเรียนในวิชาปกติที่บังคับเรียนซึ่งเขาไ ม่เคยชอบหรือสนใจ แต่สามารถเข้าเรียนในวิชาที่เขาเห็นว่าน่าสนใจได้

แต่เขาก็ยอมรับว่า นั่นเป็นชีวิตที่ยากลำบาก เมื่อเขาไม่ได้เป็นนักศึกษาจึงไม่มีห้องพักในหอพัก และต้องนอนกับพื้นในห้องของเพื่อน ต้องเก็บขวดโค้กที่ทิ้งแล้วไปแลกเงินมัดจำขวดเพียงขวดละ 5 เซ็นต์ เพื่อนำเงินนั้นไปซื้ออาหาร และต้องเดินไกล 7 ไมล์ทุกคืนวันอาทิตย์ เพื่อไปกินอาหารดีๆ สัปดาห์ละหนึ่งมื้อที่วัด Hare Krishna

อย่างไรก็ตาม เขาชอบที่หลังจากลาออก เขาสามารถที่จะไปเข้าเรียนวิชาใดก็ได้ที่สนใจ และวิชาทั้งหลายที่เขาได้เรียนในช่วงนั้น ซึ่งเขาใช้เวลาทั้งหมด 18 เดือน โดยเลือกเรียนตามแต่ความสนใจและสัญชาตญาณของเขาจะพาไป ได้กลายมาเป็นความรู้ที่หาค่ามิได้ให้แก่ชีวิตของเขาในเวลาต่อมา และหนึ่งในนั้นคือ วิชา ศิลปะการประดิษฐ์และออกแบบตัวอักษร (calligraphy)

Jobs ยอมรับว่า ในตอนนั้นเขาเองก็ยังมองไม่ออกเช่นกันว่า จะนำความรู้ที่ได้จากวิชานี้ไปใช้ประโยชน์อะไรได้ในอนาคตของเขา แต่ 10 ปีหลังจากนั้น เมื่อเขากับเพื่อนช่วยกันออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh เครื่องแรก วิชานี้ได้กลับมาเป็นประโยชน์ต่อเขาอย่างไม่เคยนึกฝันมาก่อน และทำให้ Mac กลายเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ที่มีการออกแบบตัวอักษรและการจัดช่องไฟที่สวยงาม

ถ้าหากเขาไม่ลาออกจากมหาวิทยาลัย เขาก็คงจะไม่เคยเข้าไปนั่งเรียนวิชานี้ และ Mac ก็คงไม่อาจจะมีตัวอักษรแบบต่างๆ ที่หลากหลาย หรือ font ที่มีการเรียงพิมพ์ที่ได้สัดส่วนสวยงาม รวมทั้งเครื่องพีซี ซึ่งใช้ Windows ที่ลอกแบบไปจาก Mac อีกต่อหนึ่งก็เช่นกัน คงจะไม่มีตัวอักษรสวยๆ ใช้อย่างที่มีอยู่ในตอนนี้

อย่างไรก็ตาม Jobs บอกว่า ในเวลาที่เขาตัดสินใจลาออกนั้น เป็นไปไม่ได้ที่เขาจะสามารถ “ลากเส้นต่อจุด” หรือหยั่งรู้อนาคตได้ว่า วิชาออกแบบและประดิษฐ์ตัวอักษร (คอลิกราฟฟี่) จะกลายเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ในการออกแบบ Mac เขาเพียงสามารถจะลากเส้นต่อจุดระหว่างวิชาลิปิศิลป์กับการคิดค้นเครื่อง Mac ได้อย่างชัดเจน ก็ต่อเมื่อมองย้อนกลับไปข้างหลังเท่านั้น

ในเมื่อไม่มีใครที่จะลากเส้นต่อจุดไปในอนาคตได้ ดังนั้นคำแนะนำของ Jobs ก็คือ คุณจะต้อง “ไว้ใจและเชื่อมั่น” ว่า จุดทั้งหลายที่คุณได้ผ่านมาในชีวิตคุณ มันจะหาทางลากเส้นต่อเข้าด้วยกันเองในอนาคต ซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา โชคชะตา ชีวิต หรือกฎแห่งกรรม ขอเพียงแต่คุณต้องมีศรัทธาในสิ่งนั้นอย่างแน่วแน่

บทเรียนชีวิตบทที่สองที่ Jobs เล่าต่อไปคือ ความรักและการสูญเสีย Jobs อายุเพียง 20 ปี เมื่อเขาเริ่มก่อตั้ง Apple กับเพื่อนที่โรงรถของพ่อ เพียง 10 ปีให้หลัง Apple เติบโตจากคนเพียง 2 คนกลายเป็นบริษัทใหญ่โตที่มีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์และพนักงานมากกว่า 4,000 คน

แต่หลังจากที่เขาเพิ่งเปิดตัว Macintosh ซึ่งเป็นประดิษฐกรรมสร้างสรรค์ที่ดีที่สุดของเขา ได้เพียงปีเดียว Jobs ก็ถูกไล่ออกจากบริษัทที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งเองกับมือ เมื่ออายุเพียงแค่ 30 ปี หลังจากเขาทะเลาะถึงขั้นแตกหักกับนักบริหารมืออาชีพ ที่เขาเองเป็นผู้ว่าจ้างให้มาบริหาร Apple และกรรมการบริษัทกลับเข้าข้างผู้บริหารคนนั้น

ข่าวการถูกไล่ออกของเขาเป็นข่าวที่ใหญ่มาก และเช่นเดียวกัน มันเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ในชีวิตของเขา Jobs กล่าวว่า เขาได้สูญเสียสิ่งที่เขาได้ทำมาตลอดชีวิตไปในพริบตา และเขารู้สึกเหมือนตัวเองพังทลาย เขาไม่รู้จะทำอะไรอยู่หลายเดือน และถึงกับคิดจะหนีออกจากวงการคอมพิวเตอร์ไปชั่วชีวิต

แต่ความรู้สึกอย่างหนึ่งกลับค่อยๆ สว่างขึ้นข้างในตัวเขา และเขาก็พบว่า เขายังคงรักในสิ่งที่เขาทำมาแล้ว ความล้มเหลวที่ Apple มิอาจเปลี่ยนแปลงความรักที่เขามีต่อสิ่งที่ได้ทำมาแล้วแม้เพียงน้อยนิด เขาจึงตัดสินใจที่จะเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งต่อมาเขาพบว่า การถูกอัปเปหิจาก Apple กลับกลายเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในชีวิตของเขา เพราะความหนักอึ้งของการประสบความสำเร็จได้ถูกแทนที่ด้วยความเบาสบายของการเ ป็นมือใหม่อีกครั้ง และช่วยปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ จนสามารถเข้าสู่ช่วงเวลาที่สร้างสรรค์ที่สุดในชีวิตของเขา

ช่วง 5 ปีหลังจากนั้น Jobs ได้เริ่มตั้งบริษัทใหม่ชื่อ NeXT และ Pixar และพบรักกับ Laurence ซึ่งต่อมาเป็นภรรยาของเขา Pixar ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนจากคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องแรกของโลกนั่นคือ Toy Story และขณะนี้เป็นสตูดิโอผลิตการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก

ส่วน Apple กลับมาซื้อ NeXT ซึ่งทำให้ Jobs ได้กลับคืนสู่ Apple อีกครั้ง และเทคโนโลยีที่เขาได้คิดค้นขึ้นที่ NeXT ได้กลายมาเป็นหัวใจของยุคฟื้นฟูของ Apple

Jobs กล่าวว่า ความล้มเหลวเป็นยาขมแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้ เมื่อชีวิตเล่นตลกกับคุณ จงอย่าสูญเสียความเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณรัก Jobs เชื่อว่า สิ่งเดียวที่ทำให้เขาลุกขึ้นได้ในครั้งนั้น คือเขารักในสิ่งที่เขาทำ ดังนั้นคุณจะต้องหาสิ่งที่คุณรักให้เจอ เพราะวิธีเดียวที่จะทำให้คุณเกิดความพึงพอใจอย่างแท้จริง คือการได้ทำในสิ่งที่คุณเชื่อว่ามันยอดเยี่ยม และวิธีเดียวที่คุณจะทำให้คุณสามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ก็คือ คุณจะต้องรักในสิ่งที่คุณทำ และถ้าหากคุณยังหามันไม่พบ อย่าหยุดหาจนกว่าจะพบ และคุณจะรู้ได้เองเมื่อคุณได้ค้นพบสิ่งที่คุณรักแล้ว

ส่วนบทเรียนชีวิตบทสุดท้ายในโอวาทของเขาคือ ความตาย เมื่ออายุ 17 ปี Jobs ประทับใจในข้อความหนึ่งที่เขาได้อ่านมา ซึ่งเสนอแนวคิดให้คนมีชีวิตอยู่โดยคิดว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต และตลอด 33 ปีที่ผ่านมา Jobs จะถามตัวเองในกระจกทุกเช้าว่า ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายในชีวิตของเขา เขาจะยังคงต้องการทำสิ่งที่เขากำลังจะทำในวันนี้หรือไม่ ถ้าหากคำตอบเป็น “ไม่” ติดๆ กันหลายวัน เขาก็รู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องเปลี่ยนแปลง

Jobs กล่าวว่า วิธีคิดว่าคนเราอาจจะตายวันตายพรุ่ง เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเท่าที่เขาเคยรู้จักมา ซึ่งได้ช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจครั้งใหญ่ๆ ในชีวิตได้ เพราะเมื่อความตายมาอยู่ตรงหน้า แทบทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังของคนอื่น ชื่อเสียงเกียรติยศ ความกลัวที่จะต้องอับอายขายหน้าหรือล้มเหลว จะหมดความหมายไปสิ้น เหลือไว้ก็แต่เพียงสิ่งที่มีคุณค่าความหมายและความสำคัญที่แท้จริงเท่านั้น

วิธีคิดเช่นนี้ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้คุณไม่ตกลงไปในกับดักความคิดที่ว่า คุณมีอะไรที่จะต้องสูญเสีย เพราะความจริงแล้ว เราทุกคนล้วนมีแต่ตัวเปล่าๆ ด้วยกันทั้งนั้น

เมื่อปีที่แล้ว เขาได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่ตับอ่อนชนิดที่รักษาไม่ได้ และจะตายภายในเวลาไม่เกิน 3-6 เดือน แพทย์ถึงกับบอกให้เขากลับไปสั่งเสียครอบครัวซึ่งเท่ากับเตรียมตัวตาย

แต่แล้วในเย็นวันเดียวกัน เมื่อแพทย์ได้ใช้กล้องสอดเข้าไปตัดชิ้นเนื้อที่ตับอ่อนของเขาออกมาตรวจอย่าง ละเอียด ก็กลับพบว่า มะเร็งตับอ่อนที่เขาเป็นนั้นแม้จะเป็นชนิดที่พบได้ยากก็จริง แต่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด และเขาก็ได้รับการผ่าตัดและหายดีแล้ว

นั่นเป็นการเข้าใกล้ความตายมากที่สุดเท่าที่ Jobs เคยเผชิญมา และทำให้ขณะนี้เขายิ่งสามารถพูดได้เต็มปาก เสียยิ่งกว่าเมื่อตอนที่เขาเพียงแต่ใช้ความตายมาเตือนตัวเองเป็นมรณานุสติว่ า ไม่มีใครที่อยากตาย แม้แต่คนที่อยากขึ้นสวรรค์ก็ยังไม่อยากตายก่อนเพื่อจะไปสวรรค์ แต่ก็ไม่มีใครหลีกหนีความตายพ้น และเขาคิดว่า มันก็ควรจะเป็นเช่นนั้น Jobs เห็นว่า ความตายคือประดิษฐกรรมที่ดีที่สุดของ “ชีวิต” ความตายคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิต ความตายกวาดล้างสิ่งเก่าๆ ให้หมดไปเพื่อเปิดทางให้แก่สิ่งใหม่ๆ

ดังนั้น Jobs บอกว่า เวลาของคุณจึงมีจำกัด และอย่ายอมเสียเวลามีชีวิตอยู่ในชีวิตของคนอื่น จงอย่ามีชีวิตอยู่ด้วยผลจากความคิดของคนอื่น และอย่ายอมให้เสียงของคนอื่นๆ มากลบเสียงที่อยู่ภายในตัวของคุณ และที่สำคัญที่สุดคือ คุณจะต้องมีความกล้าที่จะก้าวไปตามที่หัวใจคุณปรารถนาและสัญชาตญาณของคุณจะพ าไป เพราะหัวใจและสัญชาตญาณของคุณรู้ดีว่า คุณต้องการจะเป็นอะไร

Jobs ปิดท้ายสุนทรพจน์ของเขา ด้วยการหยิบยกวลีที่อยู่ใต้ภาพบนปกหลังของวารสารฉบับสุดท้ายของวารสารเล่มหน ึ่งที่เลิกผลิตไปตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อน ซึ่งเขาเปรียบวารสารดังกล่าวเป็น Google บนแผ่นกระดาษ และเป็นประดุจคัมภีร์ของคนรุ่นเขา วารสารดังกล่าวมีชื่อว่า The Whole Earth Catalog จัดทำโดย Stewart Brand ส่วนวลีนั้นคือ “จงหิวโหย จงโง่เขลาอยู่เสมอ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาหวังจะเป็นเช่นนั้นเสมอมา

Fortune ฉบับเดือนกันยายน 2548

แปลและเรียบเรียงโดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์

——————————————————————

Original

I am honored to be with you today at your commencement from one of the finest universities in the world. I never graduated from college. Truth be told, this is the closest I’ve ever gotten to a college graduation. Today I want to tell you three stories from my life. That’s it. No big deal. Just three stories.

The first story is about connecting the dots.

I dropped out of Reed College after the first 6 months, but then stayed around as a drop-in for another 18 months or so before I really quit. So why did I drop out?

It started before I was born. My biological mother was a young, unwed college graduate student, and she decided to put me up for adoption. She felt very strongly that I should be adopted by college graduates, so everything was all set for me to be adopted at birth by a lawyer and his wife. Except that when I popped out they decided at the last minute that they really wanted a girl. So my parents, who were on a waiting list, got a call in the middle of the night asking: “We have an unexpected baby boy; do you want him?” They said: “Of course.” My biological mother later found out that my mother had never graduated from college and that my father had never graduated from high school. She refused to sign the final adoption papers. She only relented a few months later when my parents promised that I would someday go to college.

And 17 years later I did go to college. But I naively chose a college that was almost as expensive as Stanford, and all of my working-class parents’ savings were being spent on my college tuition. After six months, I couldn’t see the value in it. I had no idea what I wanted to do with my life and no idea how college was going to help me figure it out. And here I was spending all of the money my parents had saved their entire life. So I decided to drop out and trust that it would all work out OK. It was pretty scary at the time, but looking back it was one of the best decisions I ever made. The minute I dropped out I could stop taking the required classes that didn’t interest me, and begin dropping in on the ones that looked interesting.

It wasn’t all romantic. I didn’t have a dorm room, so I slept on the floor in friends’ rooms, I returned coke bottles for the 5¢ deposits to buy food with, and I would walk the 7 miles across town every Sunday night to get one good meal a week at the Hare Krishna temple. I loved it. And much of what I stumbled into by following my curiosity and intuition turned out to be priceless later on. Let me give you one example:

Reed College at that time offered perhaps the best calligraphy instruction in the country. Throughout the campus every poster, every label on every drawer, was beautifully hand calligraphed. Because I had dropped out and didn’t have to take the normal classes, I decided to take a calligraphy class to learn how to do this. I learned about serif and san serif typefaces, about varying the amount of space between different letter combinations, about what makes great typography great. It was beautiful, historical, artistically subtle in a way that science can’t capture, and I found it fascinating.

None of this had even a hope of any practical application in my life. But ten years later, when we were designing the first Macintosh computer, it all came back to me. And we designed it all into the Mac. It was the first computer with beautiful typography. If I had never dropped in on that single course in college, the Mac would have never had multiple typefaces or proportionally spaced fonts. And since Windows just copied the Mac, its likely that no personal computer would have them. If I had never dropped out, I would have never dropped in on this calligraphy class, and personal computers might not have the wonderful typography that they do. Of course it was impossible to connect the dots looking forward when I was in college. But it was very, very clear looking backwards ten years later.

Again, you can’t connect the dots looking forward; you can only connect them looking backwards. So you have to trust that the dots will somehow connect in your future. You have to trust in something — your gut, destiny, life, karma, whatever. This approach has never let me down, and it has made all the difference in my life.

My second story is about love and loss.

I was lucky — I found what I loved to do early in life. Woz and I started Apple in my parents garage when I was 20. We worked hard, and in 10 years Apple had grown from just the two of us in a garage into a $2 billion company with over 4000 employees.

We had just released our finest creation — the Macintosh — a year earlier, and I had just turned 30. And then I got fired. How can you get fired from a company you started? Well, as Apple grew we hired someone who I thought was very talented to run the company with me, and for the first year or so things went well. But then our visions of the future began to diverge and eventually we had a falling out. When we did, our Board of Directors sided with him. So at 30 I was out. And very publicly out. What had been the focus of my entire adult life was gone, and it was devastating.

I really didn’t know what to do for a few months. I felt that I had let the previous generation of entrepreneurs down – that I had dropped the baton as it was being passed to me. I met with David Packard and Bob Noyce and tried to apologize for screwing up so badly. I was a very public failure, and I even thought about running away from the valley. But something slowly began to dawn on me — I still loved what I did. The turn of events at Apple had not changed that one bit. I had been rejected, but I was still in love. And so I decided to start over.

I didn’t see it then, but it turned out that getting fired from Apple was the best thing that could have ever happened to me. The heaviness of being successful was replaced by the lightness of being a beginner again, less sure about everything. It freed me to enter one of the most creative periods of my life.

During the next five years, I started a company named NeXT, another company named Pixar, and fell in love with an amazing woman who would become my wife. Pixar went on to create the worlds first computer animated feature film, Toy Story, and is now the most successful animation studio in the world. In a remarkable turn of events, Apple bought NeXT, I retuned to Apple, and the technology we developed at NeXT is at the heart of Apple’s current renaissance. And Laurene and I have a wonderful family together.

I’m pretty sure none of this would have happened if I hadn’t been fired from Apple. It was awful tasting medicine, but I guess the patient needed it. Sometimes life hits you in the head with a brick. Don’t lose faith. I’m convinced that the only thing that kept me going was that I loved what I did. You’ve got to find what you love. And that is as true for your work as it is for your lovers. Your work is going to fill a large part of your life, and the only way to be truly satisfied is to do what you believe is great work. And the only way to do great work is to love what you do. If you haven’t found it yet, keep looking. Don’t settle. As with all matters of the heart, you’ll know when you find it. And, like any great relationship, it just gets better and better as the years roll on. So keep looking until you find it. Don’t settle.

My third story is about death.

When I was 17, I read a quote that went something like: “If you live each day as if it was your last, someday you’ll most certainly be right.” It made an impression on me, and since then, for the past 33 years, I have looked in the mirror every morning and asked myself: “If today were the last day of my life, would I want to do what I am about to do today?” And whenever the answer has been “No” for too many days in a row, I know I need to change something.

Remembering that I’ll be dead soon is the most important tool I’ve ever encountered to help me make the big choices in life. Because almost everything — all external expectations, all pride, all fear of embarrassment or failure – these things just fall away in the face of death, leaving only what is truly important. Remembering that you are going to die is the best way I know to avoid the trap of thinking you have something to lose. You are already naked. There is no reason not to follow your heart.

About a year ago I was diagnosed with cancer. I had a scan at 7:30 in the morning, and it clearly showed a tumor on my pancreas. I didn’t even know what a pancreas was. The doctors told me this was almost certainly a type of cancer that is incurable, and that I should expect to live no longer than three to six months. My doctor advised me to go home and get my affairs in order, which is doctor’s code for prepare to die. It means to try to tell your kids everything you thought you’d have the next 10 years to tell them in just a few months. It means to make sure everything is buttoned up so that it will be as easy as possible for your family. It means to say your goodbyes.

I lived with that diagnosis all day. Later that evening I had a biopsy, where they stuck an endoscope down my throat, through my stomach and into my intestines, put a needle into my pancreas and got a few cells from the tumor. I was sedated, but my wife, who was there, told me that when they viewed the cells under a microscope the doctors started crying because it turned out to be a very rare form of pancreatic cancer that is curable with surgery. I had the surgery and I’m fine now.

This was the closest I’ve been to facing death, and I hope its the closest I get for a few more decades. Having lived through it, I can now say this to you with a bit more certainty than when death was a useful but purely intellectual concept:

No one wants to die. Even people who want to go to heaven don’t want to die to get there. And yet death is the destination we all share. No one has ever escaped it. And that is as it should be, because Death is very likely the single best invention of Life. It is Life’s change agent. It clears out the old to make way for the new. Right now the new is you, but someday not too long from now, you will gradually become the old and be cleared away. Sorry to be so dramatic, but it is quite true.

Your time is limited, so don’t waste it living someone else’s life. Don’t be trapped by dogma — which is living with the results of other people’s thinking. Don’t let the noise of others’ opinions drown out your own inner voice. And most important, have the courage to follow your heart and intuition. They somehow already know what you truly want to become. Everything else is secondary.

When I was young, there was an amazing publication called The Whole Earth Catalog, which was one of the bibles of my generation. It was created by a fellow named Stewart Brand not far from here in Menlo Park, and he brought it to life with his poetic touch. This was in the late 1960’s, before personal computers and desktop publishing, so it was all made with typewriters, scissors, and polaroid cameras. It was sort of like Google in paperback form, 35 years before Google came along: it was idealistic, and overflowing with neat tools and great notions.

Stewart and his team put out several issues of The Whole Earth Catalog, and then when it had run its course, they put out a final issue. It was the mid-1970s, and I was your age. On the back cover of their final issue was a photograph of an early morning country road, the kind you might find yourself hitchhiking on if you were so adventurous. Beneath it were the words: “Stay Hungry. Stay Foolish.” It was their farewell message as they signed off. Stay Hungry. Stay Foolish. And I have always wished that for myself. And now, as you graduate to begin anew, I wish that for you.

Stay Hungry. Stay Foolish.

Thank you all very much.

Stanford Report, June 14, 2005 ‘You’ve got to find what you love,’ Jobs says

This is the text of the Commencement address by Steve Jobs, CEO of Apple Computer and of Pixar Animation Studios, delivered on June 12, 2005.

Share

วาทะของบิลล์ เกตส์ ในวันรับปริญญาเมื่ออายุเกือบ 52 ปี

ถอดความโดย ดร. ไสว บุญมา

คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า บิลล์ เกตส์ ผู้ครองตำแหน่งอภิมหาเศรษฐีหมายเลขหนึ่งของโลกในช่วงเวลา 13 ปีที่ผ่านมา ออกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก่อนเรียบจบหลักสูตรปริญญาตรี ปัจจัยที่ทำให้เขาออกกลางคันได้แก่ความต้องการที่จะทุ่มเทเวลา ให้กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผลของความทุ่มนั้นเป็นที่รู้กันอย่างทั่วถึงแล้ว ตอนนี้ บิลล์ เกตส์ อายุยังไม่ครบ 52 ปี แต่ได้ประกาศว่าเขาจะเกษียณจากบริษัทไมโครซอฟท์ในราวอีก 1 ปี หลังจากนั้นเขาจะทุ่มเทเวลาให้กับการแก้ปัญหาของโลกผ่านมูลนิธิซึ่งขณะนี้มี เงินทุนที่ได้รับจากเขาราว 30,000 ล้านดอลลาร์และกำลังจะได้รับจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหาเศรษฐีหมายเลขสองของโลกอีก 37,000 ล้านดอลลาร์
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ประสาทปริญญากิตติมศักดิ์ให้ บิลล์ เกตส์ และได้เชิญให้เขากล่าวคำปราศรัยในพิธีประสาทปริญญาของผู้จบการศึกษาในปีนี้ด ้วย ผมเห็นว่าคำปราศรัยของเขามีแง่คิดที่น่าใส่ใจยิ่ง จึงนำมาถอดความสำหรับผู้ที่อาจไม่มีโอกาสฟังหรืออ่านคำปราศรัยนั้น เนื่องจากคำปราศรัยอ้างถึงภูมิหลังบางอย่างซึ่งผู้อ่านอาจไม่คุ้นเคย เพื่อความกระจ่างและเพื่อให้เห็นมุกขบขันของเขา ผมได้เพิ่มคำอธิบายสั้น ๆ ไว้ในวงเล็บ […] คำปราศรัยนั้นอาจถอดได้ดังนี้ :
——————————————————————–

(สำหรับภาษาอังกฤษ หาอ่านได้ที่นี่ครับ http://www.networkworld.com/news/2007/060807-gates-commencement.html )

ท่านอธิการบดีบอค, ท่านอดีตอธิการบดีรูเดนสไตน์, ท่านอธิการบดีที่จะเข้ามารับตำแหน่งต่อไปเฟาสต์, สมาชิกของบรรษัทฮาร์วาร์ดและคณะกรรมการดูแลมหาวิทยาลัย, คณาจารย์, พ่อแม่, และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง, บัณฑิต:

ผมคอยมา 30 ปีที่จะพูดว่า “คุณพ่อครับ, ผมบอกคุณพ่อเสมอมาใช่ไหมว่าวันหนึ่งผมจะกลับมาเอาปริญญาให้ได้” [ผู้ฟังหัวเราะกันอย่างทั่วถึง]

ผมขอขอบคุณมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ป ระสาทปริญญาให้ผมทันเวลาพอดิบพอดี. ผมจะเปลี่ยนงานปีหน้า … และมันน่าจะดีเมื่อในที่สุดผมจะมีปริญญาพ่วงท้ายในใบประกาศคุณสมบัติของผมเส ียที. [เสียงหัวเราะจากผู้ฟัง]

ผมขอปรบมือให้ผู้จบการศึกษาวันนี้ที่ เดินไปสู่จุดมุ่งหมายด้วยทางสายตรง. สำหรับผม, ผมมีความสุขที่หนังสือพิมพ์คลิมสัน [หนังสือพิมพ์รายวันของนักศึกษาฮาร์วาร์ด] ให้สมญาผมว่า “ผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในหมู่ผู้เรียนไม่จบของฮาร์วาร์ด” ผมเดาเอาว่านั่นหมายถึงผมคือผู้ทำคะแนนได้สูงสุดในรุ่นพิเศษของผม … ผมทำได้ดีที่สุดในหมู่ผู้สอบตกด้วยกัน. [เสียงหัวเราะจากผู้ฟัง]

แต่ผมต้องการได้รับการยอมรับว่าผมเป็นผู้ที่ทำให้สตีฟ บอลล์เมอร์ [เพื่อนซี้ของ บิลล์ เกตส์ ซึ่งขณะนี้เป็นประธานผู้บริหารของบริษัทไมโครซอฟท์] เลิกเรียนวิชาบริหารธุรกิจ. ผมมักชักนำคนไปในทางเสีย. นั่นคือเหตุผลที่ผมได้รับเชิญมาพูดในวันรับปริญญาของคุณ. ถ้าผมมาพูดในวันปฐมนิเทศของคุณ, คุณบางคนอาจยังเรียนไม่จบในวันนี้ก็ได้. [เสียงหัวเราะจากผู้ฟัง]

ฮาร์วาร์ดเป็นประสบการณ์อันแสนพิเศษสำหรับผ ม. ชีวิตการเรียนประทับใจยิ่ง. ผมได้เข้าไปนั่งฟังวิชาต่าง ๆ มากมายซึ่งผมไม่ได้แม้กระทั่งลงทะเบียนเรียน. และชีวิตในหอพักก็สุดยอด. ผมพักที่แรดคลิฟฟ์ [วิทยาลัยหญิงซึ่งต่อมายุบรวมกับฮาร์วาร์ด], ในหอพักชื่อเคอร์รี่เออร์.
มีคนจำนวนมากเข้ามาอยู่ในห้องของผมตอนดึก ๆ เพื่อคุยกันถึงเรื่องต่าง ๆ เสมอ, เนื่องจากทุกคนรู้ว่าผมไม่ค่อยวิตกเรื่องการจะต้องลุกจากที่นอนหรือไม่ในวัน รุ่งขึ้น. นั่นคือที่มาของการเป็นผู้นำของกลุ่มต่อต้านสังคมของผม. เราเกาะกลุ่มกันเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าเราไม่เอาด้วยกับพวกสังคมจัดทั้งห ลาย.

แรดคลิฟฟ์เป็นที่อยู่อันยอดเยี่ยม. มีสาว ๆ ยั้วเยี้ยไปหมด, และหนุ่ม ๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกวิทย์-คณิต. ปัจจัยทั้งสองรวมกันเอื้อให้ผมมีโอกาสสูงยิ่ง, คุณคงพอจะรู้ว่าผมหมายถึงอะไรใช่ไหม [เสียงหัวเราะ]. ณ จุดนี้เองที่ผมเรียนรู้เรื่องชวนหดหู่ใจว่า การเพิ่มโอกาสไม่นำไปสู่ความสำเร็จเสมอไป. [เสียงหัวเราะ]

ความทรงจำ อันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งเกี่ยวกับฮาร์วาร์ดของผมเกิดขึ้นในเดือนมกร าคม 1975, เมื่อผมโทรศัพท์จากหอพักเคอร์รี่เออร์ไปหาบริษัทหนึ่งที่เมืองอัลบูเคอร์คี [ในรัฐนิวเม็กซิโก] ซึ่งได้เริ่มทำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกในโลก. ผมเสนอขายซอฟท์แวร์ให้เขา.

ผมกังวลว่าเขาจะรู้ว่าผมเป็นเพียงนักศึกษ าในหอพักและจะไม่พูดด้วย. แต่เขากลับพูดว่า “เรายังไม่เสร็จเรียบร้อยนัก, เดือนหน้าค่อยมาหาเราก็แล้วกัน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี, เพราะเรายังไม่ได้เขียนซอฟท์แวร์ชิ้นนั้นเลย. นับแต่เสี้ยววินาทีนั้นเอง, ผมทำโครงการเพื่อเอาคะแนนพิเศษเล็ก ๆ ชิ้นนั้นแบบหามรุ่งหามค่ำ ซึ่งเป็นจุดพลิกผันที่นำไปสู่การยุติการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของผม ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางอันพิเศษสุดกับบริษัทไมโครซอฟท์.

สิ่งที่ผมจำได้เหนืออื่นใดเกี่ยวกับฮาร์วาร์ดได้แก่การอยู่ท่ามกลางพลังงานแ ละปัญญา. มันอาจทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวา, น่าขวัญเสีย, บางทีถึงกับน่าท้อถอย, แต่ก็มีความท้าทายเสมอ. มันเป็นอภิสิทธิ์อันน่าทึ่ง – และแม้ว่าผมจะออกไปก่อนเรียนจบ, ผมได้ถูกปฏิรูปขนานใหญ่จากเวลาที่ผมอยู่ในฮาร์วาร์ด, จากมิตรภาพที่ผมได้สร้างขึ้น, และจากแนวคิดที่ผมได้พัฒนา.

แต่เมื่อมองย้อนกลับไปจริง ๆ … ผมมีความสลดใจอยู่อย่างหนึ่ง.

ผมออกจากฮาร์วาร์ดไปโดยไม่มีความตระหนักอย่างแท้จริงเลย ถึงความไม่เสมอภาคอันแสนโหดร้ายในโลก ความเหลื่อมล้ำอันน่าขนหัวลุกในด้านสุขภาพ, และด้านทรัพย์สิน, และด้านโอกาสซึ่งสาปแช่งคนเรือนล้านให้มีชีวิตอันสิ้นหวัง.

ผมได้เรี ยนรู้แนวคิดใหม่ ๆ ด้านเศรษฐศาสตร์และด้านการเมืองอย่างมากมายที่ฮาร์วาร์ด. ผมได้สัมผัสใกล้ชิดถึงความก้าวหน้าซึ่งกำลังเกิดขึ้นในด้านวิทยาศาสตร์.

ทว่าความก้าวหน้าของมนุษยชาติไม่ได้ขึ้นอยู่กับการค้นพบ แต่อยู่ที่การค้นพบเหล่านั้นถูกนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดความไม่เสมอภาคกันได้อย่างไรต่างหาก. ไม่ว่าจะผ่านทางระบอบประชาธิปไตย, การศึกษาที่แข็งแกร่ง, ระบบดูแลสุขภาพที่ดี, หรือโอกาสทางเศรษฐกิจที่กว้างขวาง การลดความไม่เสมอภาคกันถือเป็นผลสำฤทธิ์อันสูงที่สุดของมนุษย์เรา.

มออกจากมหาวิทยาลัยไปโดยแทบไม่รู้เลยว่าเยาวชนนับล้านคน ถูกโกงโอกาสทางการศึกษาในประเทศของเรานี่เอง. และผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคนเป็นล้าน ๆ ที่ต้องมีชีวิตอยู่กับความยากจนแสนสาหัสและโรคร้ายในประเทศกำลังพัฒนา.

เป็นเวลาหลายทศวรรษกว่าผมจะค้นพบ.

คุณ ๆ บัณฑิตทั้งหลายมาเรียนที่ฮาร์วาร์ดในช่วงเวลาที่ต่างไปจากเดิม. คุณรู้เกี่ยวกับความไม่เสมอภาคกันในโลกมากกว่ารุ่นที่มาก่อนคุณ. ในช่วงเวลาที่คุณอยู่ที่นี่, ผมหวังว่าคุณจะมีโอกาสได้คิดว่า ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าในอัตราเร่งนี้ ในที่สุดเราจะสามารถประจัญกับความไม่เสมอภาคกันเหล่านั้นได้, และเราก็จะเอาชนะมันได้ด้วย.

ลองจินตนาการดูซิ, นี่เพียงเพื่อคิดเล่น ๆ เท่านั้นนะ, ว่าคุณมีเวลาสองสามชั่วโมงต่อสัปดาห์และมีเงินสองสามดอลลาร์ต่อเดือน สำหรับอุทิศให้เพื่ออะไรสักอย่าง และคุณต้องการใช้เวลาและเงินนั้นในที่ซึ่งมีผลสูงสุดในด้านการช่วยชีวิตและก ารปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น. คุณคิดว่าคุณจะใช้เวลาและเงินนั้นที่ไหน ?

สำหรับเมลินดา [ภรรยาของบิลล์ เกตส์] กับผม, ความท้าทายก็เหมือนกัน นั่นคือ เราจะทำอย่างไรให้เกิดผลดีที่สุดต่อคนจำนวนมากที่สุดจากทรัพยากรที่เรามีอยู ่.

ในระหว่างที่เราปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับคำถามนี้, เมลินดาและผมได้อ่านบทความเกี่ยวกับเด็กในประเทศยากจนนับล้านคน ซึ่งตายไปทุกปีจากโรคที่เราทำให้หมดอันตรายไปนานแล้วในประเทศนี้. หัด, มาลาเรีย, ปอดชื้น, ไวรัสบีในตับ, ไข้เลือดออก. โรคหนึ่งซึ่งผมไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย,นั่นคือโรตาไวรัส, คร่าชีวิตเด็กปีละครึ่งล้านคน ไม่มีเด็กในสหรัฐอยู่ในกลุ่มนั้นแม้แต่คนเดียว.

เรารู้สึกตกใจ. เราคิดว่าถ้าเด็กเป็นล้านคนกำลังจะตาย แต่จริง ๆ แล้วพวกเขาอาจรอดหากได้รับความช่วยเหลือ, ชาวโลกคงจะเร่งค้นหาและส่งยาไปช่วยชีวิตแก่พวกเขา. แต่ชาวโลกก็ไม่ทำ. ด้วยเงินเพียงไม่ถึงดอลลาร์เท่านั้น, มีความช่วยเหลือซึ่งจะช่วยชีวิตพวกเขาได้ที่ไม่ถูกส่งไป.

หากคุณเชื่ อว่าทุกชีวิตมีค่าเท่ากัน, มันช่างน่าอับอายยิ่งเมื่อเรียนรู้ว่าบางชีวิตถูกมองว่ามีค่าพอน่าช่วยไว้แล ะบางชีวิตไม่มีค่าพอ. เราบอกกับตัวเราเองว่า “นี่มันไม่จริง. แต่ถ้ามันจริง, มันเป็นสิ่งที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือในลำดับต้น ๆ ของเรา”

ดังนั้นเราจึงเริ่มงานของเราในแนวเดียวกันกับทุกคนที่นี่คงจะเริ่ม. เราถามว่า “ชาวโลกปล่อยเด็กเหล่านั้นตายได้อย่างไร ?”

คำตอบนั้นง่าย, แต่บาดหู. ระบบตลาดไม่ให้รางวัลต่อการช่วยชีวิตเด็กเหล่านั้น, และรัฐบาลไม่ให้เงินสนับสนุน. ดังนั้นเด็กจึงตายเพราะแม่และพ่อของพวกเขาไม่มีอำนาจในตลาด และไม่มีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นในระบบ.

แต่คุณกับผมมีทั้งสองอย่าง.

เราจะทำให้อานุภาพของตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นสำหรับคนจน หากเราสามารถพัฒนาระบบทุนนิยมให้มีความสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นได้ ถ้าเราสามารถขยายอานุภาพของตลาดออกไปจนทำให้คนจำนวนมากขึ้นแสวงหากำไรได้, หรืออย่างน้อยก็พอทำมาหาเลี้ยงชีพได้, จะเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ต้องรับเคราะห์จากความไม่เสมอภาคที่โหดร้ายที่สุด. เราสามารถกดดันรัฐบาลทั่วโลกให้ใช้เงินของผู้เสียภาษีไปในทางที่สะท้อนคุณธร รมของผู้เสียภาษีได้ดีขึ้น.

หากเราสามารถค้นหากลวิธีที่จะสนองความต้ องการของคนจนได้ ด้วยหนทางที่ทำกำไรให้ภาคธุรกิจและสร้างคะแนนเสียงให้นักการเมืองได้พร้อม ๆ กัน, เราก็จะพบหนทางที่ยั่งยืนสำหรับลดความไม่เสมอภาคกันในโลก. กิจอันนี้ไม่มีขอบเขต. มันไม่มีวันสิ้นสุด. แต่ความพยายามอันเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น ที่จะเผชิญกับความท้าทายนี้จะเปลี่ยนโลกอย่างแน่นอน.

ผมมองว่าเราทำไ ด้, แต่ผมคุยกับผู้ที่มีความกังขาซึ่งอ้างว่าไม่มีหวัง. พวกเขากล่าวว่า “ความไม่เสมอภาคกันอยู่กับเรามาตั้งวันแรก, และก็จะอยู่กับเราไปจนวันสุดท้าย ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรา … ไม่มี … น้ำใจ.” ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ.

ผมเชื่อว่าเรามีน้ำใจมากจนไม่รู้ว่าจะใช้ทำอะไรหมด.

เราทุกคนในที่นี้, ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง, ได้เคยเห็นโศกนาฏกรรมของเพื่อนมนุษย์ที่ทำให้หัวใจของเราแตกสลาย, แต่เราก็มิได้ทำอะไรลงไป ไม่ใช่เพราะเราไม่มีน้ำใจ, หากเพราะเราไม่รู้ว่าจะทำอะไร. หากเรารู้ว่าจะช่วยเขาอย่างไร, เราคงได้ทำไปแล้ว.

อุปสรรคของความเปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่ที่การมีน้ำใจน้อยเกินไป; หากอยู่ที่ความสลับซับซ้อนมากเกินไป.

เพื่อจะแปลงความมีน้ำใจไปสู่การปฏิบัติ, เราต้องเข้าใจปัญหา, มองเห็นทางแก้ไข, และมองเห็นผลลัพธ์. แต่ความสลับซับซ้อนปิดกั้นขั้นตอนทั้งสามจนหมดมิด.

แม้จะมีระบบอินเต อร์เนตและข่าวตลอด 24 ชั่วโมงแล้วก็ตาม, มันยังเป็นภารกิจที่สลับซับซ้อนยิ่งที่จะทำให้คนเราเข้าใจปัญหาอย่างทะลุปรุ โปร่ง. เมื่อเครื่องบินตก, เจ้าหน้าที่จะออกแถลงการณ์ทันที. เขาสัญญาว่าจะสืบสวน, พิจารณาสาเหตุ, และป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกในอนาคต.

แต่ถ้าเจ้าหน้าที่มีความตรง ไปตรงมาจริง ๆ, เขาคงจะพูดว่า: “ในบรรดาผู้เสียชีวิตทั้งหมดในโลกที่ตายลงในวันนี้จากสาเหตุที่ป้องกันได้, ราวครึ่งเปอร์เซ็นต์ของพวกเขาอยู่ในเครื่องบินลำนั้น. เราตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าเราจะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อแก้ปัญหาที่คร่าชีวิตข องคนครึ่งเปอร์เซ็นต์นั้น”

ปัญหาที่ใหญ่กว่าไม่ใช่การตกของเครื่องบิน, หากเป็นความตายของคนเป็นหลักล้านที่ป้องกันได้.

เราไม่ค่อยได้อ่านข่าวเกี่ยวกับความตายพวกนี้. สื่อรายงานเฉพาะสิ่งใหม่ ๆ และเรื่องคนตายเป็นหลักล้านไม่มีอะไรใหม่. ดังนั้นมันจึงเป็นเพียงเรื่องประกอบ, ซึ่งง่ายต่อการมองข้าม. แต่เมื่อเราเห็นหรืออ่านพบ, ก็ยังยากที่จะเฝ้าดูปัญหานั้น. มันยากยิ่งที่จะมองดูความทุกข์ร้อนในเมื่อสถานการณ์แสนจะสลับซับซ้อน จนเราไม่รู้ที่จะช่วยอย่างไร. และดังนั้นเราจึงเมินหน้าหนี.

หากเราเ ข้าใจปัญหาจริง ๆ, ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก, เราจะมาถึงขั้นตอนที่สอง นั่นคือ การทะลุทะลวงความสลับซับซ้อนเพื่อให้ได้มาซึ่งทางแก้ไข.

การค้นหาทาง แก้ไขให้พบนั้นสำคัญยิ่งหากเราจะใช้ความมีน้ำใจของเราให้ได้ผลสู งสุด. หากเรามีคำตอบที่ชัดเจนและได้พิสูจน์มาแล้วเมื่อองค์กรหรือบุคคลใดถามว่า “ผมจะช่วยได้อย่างไร ?” เราจะดำเนินการได้ทันที – และเราจะสามารถทำให้เกิดความมั่นใจได้เลยว่าไม่มีน้ำใจในโลกนี้ ที่จะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์แม้แต่หยดเดียว. แต่ความสลับซับซ้อนทำให้ยากแก่การที่จะวางแนวทางดำเนินการสำหรับทุก ๆ คนที่มีน้ำใจ และนั่นแหละที่มันยากที่จะทำให้การมีน้ำใจของพวกเขาบรรลุผล.

การทะลุทะลวงความสลับซับซ้อนเพื่อค้นหาทางแก้ไขมีขั้นตอนที่พอจะคาดได้อยู่ส ี่ขั้นด้วยกันคือ พิจารณาจุดหมาย, ค้นหากลวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด, แสวงหาเทคโนโลยีทีเหมาะสมที่สุดสำหรับกลวิธีนั้น, และในระหว่างที่แสวงหาอยู่, ก็ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วอย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ต้องใช้ความรอบรู้ค่อนข้างสูง, เช่น ยา, หรือชนิดที่ง่ายกว่า, เช่น มุ้ง.

ขอยกการแพร่ระบาดของโรคเอดส์มาเป็น ตัวอย่าง. จุดหมายกว้าง ๆ, แน่ละ, ย่อมได้แก่การกำจัดโรคนั้น. กลวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้แก่การป้องกัน. เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดน่าจะเป็นวัคซีนที่ฉีดเพียงครั้งเดียวแล้วคุ้มครอ งได้ตลอดชีวิต. ดังนั้นรัฐบาล, บริษัทยา, และมูลนิธิทั้งหลายจะต้องสนับสนุนเงินแก่การวิจัยวัคซีน. แต่งานวิจัยคงใช้เวลาเกินทศวรรษ, ดังนั้นในระหว่างที่งานวิจัยกำลังดำเนินไป, เราต้องใช้สิ่งที่เรามีอยู่ในมือแล้ว และกลวิธีป้องกันที่ดีที่สุดที่เรามีในปัจจุบันได้แก่การชักจูงผู้คนให้หลีก เลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง.

การจะไปให้ถึงจุดหมายนั้นต้องเริ่มจากวงจรที่มีสี่ขั้นตอนด้วยกันอีก. นี่คือรูปแบบ.
ส ิ่งสำคัญคือต้องไม่หยุดคิดและหยุดทำ และจะหัวเด็ดตีนขาดอย่างไรจะต้องไม่ทำสิ่งที่เราทำกับมาลาเรีย และวัณโรคในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 – ซึ่งได้แก่การยอมแพ้แก่ความสลับซับซ้อนและวางมือไปเลย.

ขั้นตอนสุดท้ าย – หลังจากเข้าใจปัญหาและค้นพบกลวิธีแล้ว ได้แก่การวัดผลงานของคุณและเผยแพร่ความสำเร็จและความล้มเหลวของคุณ เพื่อคนอื่นจะได้เรียนรู้จากความพยายามของคุณ.

คุณต้องมีข้อมูล, แน่ละ. คุณต้องแสดงให้เห็นได้ว่าโครงการหนึ่งฉีดวัคซีนให้เด็กจำนวนล้าน. คุณต้องแสดงให้เห็นได้ว่าจำนวนเด็กที่ตายด้วยโรคร้ายเหล่านั้นลดลง. นี่มีความสำคัญยิ่งไม่เฉพาะต่อการปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น, แต่เพื่อช่วยดึงการลงทุนเพิ่มขึ้นจากภาคธุรกิจและรัฐบาลด้วย.

แต่ถ้า คุณต้องการดลใจให้คนอื่นเข้าร่วม, คุณจะต้องแสดงให้เห็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือตัวเลข; คุณต้องแสดงให้เห็นถึงผลดีที่งานนั้นมีต่อบุคคลในแบบที่ให้ภาพชนิดติดตา เพื่อให้คนอื่นเกิดความรู้สึกว่าการช่วยชีวิตหนึ่งนั้นสำคัญแค่ไหนต่อครอบคร ัวที่ได้รับผล.

ผมจำได้ครั้งผมไปดาวอส [การพบปะกันประจำปีของผู้นำทางธุรกิจและการเมือง ณ เมืองสำหรับพักผ่อนซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาของสวิตเซอร์แลนด์] เมื่อหลายปีมาแล้วและเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการซึ่ง กำลังปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับหนทางที่จะช่วยชีวิตคนเป็นหลักล้าน. หลักล้านนะครับ ! ลองนึกถึงความตื่นเต้นของการช่วยชีวิตคนเพียงคนเดียว แล้วคูณด้วยหลักล้าน. … ทว่านั่นเป็นคณะกรรมการที่น่าเบื่อที่สุดที่ผมเคยมีส่วนร่วม น่าเบื่อที่สุดในประวัติศาสตร์.
น่าเบื่อเสียจนผมเองก็ทนไม่ไหว.

สิ่งที่ทำให้ประสบการณ์ครั้งนั้นโดดเด่นเป็นพิเศษได้แก่ ผมเพิ่งมาจากรายการที่เราเปิดตัวซอฟท์แวร์รุ่นที่ 13 ชิ้นหนึ่ง, และเราทำให้คนกระโดดขึ้นลงและส่งเสียงดังลั่นด้วยความตื่นเต้น. ผมชอบทำให้คนตื่นเต้นเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ แต่ทำไมเราสร้างความตื่นเต้นเกินนั้นไม่ได้ในการช่วยชีวิตคน ?

คุณจะ ทำให้ผู้คนตื่นเต้นไม่ได้หากคุณไม่สามารถทำให้เขามองเห็น และเกิดความรู้สึกต่อผลลัพธ์ที่จะออกมา. และคุณจะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร – เป็นคำถามที่สลับซับซ้อน.

อย่างไรก็ดี, ผมยังมีความเชื่อมั่นว่าทำได้. ใช่, ความไม่เสมอภาคกันมีอยู่คู่กับเรามาชั่วกัปชั่วกัลป์แล้ว, แต่เครื่องมือใหม่ที่เรามีสำหรับทะลุทะลวงความสลับซับซ้อนมิได้มีอยู่คู่กับ เรามาชั่วกัปชั่วกัลป์ด้วย. มันเป็นของใหม่ มันจะช่วยทำให้ความมีน้ำใจของเราเกิดผลสูงสุด และนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมอนาคตจึงอาจต่างจากอดีตได้.

นวัตกรรมที่ย ิ่งใหญ่และที่กำลังเกิดขึ้นในยุคนี้ – เทคโนโลยีชีวภาพ, คอมพิวเตอร์, ระบบอินเตอร์เนต – ให้โอกาสซึ่งเราไม่เคยมีมาก่อนแก่เรา ที่จะกำจัดความยากจนข้นแค้นระดับแสนสาหัสสุด ๆ และกำจัดความตายจากโรคร้ายที่ป้องกันได้.

เมื่อหกสิบปีที่แล้ว, จอร์จ มาร์แชล [นายพลเมริกันซึ่งต่อมาดำรงทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีต่างประเทศ ] มาในพิธีประสาทปริญญานี้และได้แถลงเกี่ยวกับโครงการเพื่อช่วยเหลือประเทศในย ุโรปหลังสงคราม [โลกครั้งที่ 2]. เขาพูดว่า “ผมคิดว่าความยากลำบากอย่างหนึ่งได้แก่ปัญหานั้นแสนสลับซับซ้อน จนทำให้ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่สื่อและวิทยุนำมาเสนอต่อสาธารณชนยากเกินสำหรับค นทั่วไป ที่จะประเมินสถานการณ์ได้อย่างแจ้งชัด. จากระยะทางอันแสนไกลนี้ เป็นไปไม่เลยที่จะรู้ซึ้งถึงความหมายที่แท้จริงทั้งหมดของสถานการณ์.”

สามสิบปีหลังจากวันที่มาร์แชลกล่าวคำปราศรัย, เมื่อเพื่อนร่วมรุ่นของผมจบการศึกษาโดยปราศจากผม, เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาขึ้นมาใหม่จะทำให้โลกใบนี้เล็กลง, เปิดกว้างขึ้น, เห็นได้ง่ายขึ้น, ลดระยะทางลง.

การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคา ต่ำทำให้เกิดโครงข่ายอันทรงพลังอย่างหน ึ่ง ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนโอกาสเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการติดต่อสื่อสาร.

สิ่งมหัศจรรย์เกี่ยวกับโครงข่ายนี้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะที่มันทำให้ระยะทางหดหา ยไป และทำให้ทุกคนเป็นเพื่อนบ้านของคุณเท่านั้น. มันยังช่วยเพิ่มจำนวนของผู้ที่มีปัญญาเฉียบแหลมทั้งหลาย ที่เราจะให้ทำงานเพื่อแก้ปัญหาเดียวกันอีกด้วย และนั่นได้ยกระดับอัตราของนวัตกรรมให้สูงขึ้นอย่างไร้เทียมทานทีเดียว.

ในขณะเดียวกัน, ต่อทุกคนในโลกที่เข้าถึงเทคโนโลยีนี้, จะมีอีกห้าคนที่เข้าไม่ถึง.
น ั่นหมายความว่าผู้มีปัญญาทางสร้างสรรค์จำนวนมากถูกปล่อยทิ้งไว้นอกวงของการป รึกษาหารือนี้ นั่นหมายถึงคนฉลาดที่มีความรอบรู้อันเกิดจากการปฏิบัติงาน และจากประสบการณ์อันตรงกับปัญหาซึ่งไม่มีเทคโนโลยีสำหรับฝึกฝนตนเอง หรือมีส่วนร่วมในการให้แนวคิดแก่ชาวโลก.

เราต้องการให้คนจำนวนมากที่ สุดเท่าที่จะมากได้เข้าถึงเทคโนโลยีนี้, เพราะความก้าวหน้าเหล่านี้กำลังจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติในด้านที่มนุษยชาติ สามารถทำอะไรให้กันและกัน. มันไม่ได้ช่วยเฉพาะรัฐบาลเท่านั้น, แต่ยังช่วยมหาวิทยาลัย, บริษัท, องค์กรเล็ก ๆ, และบุคคล, ให้เข้าใจปัญหา, มองเห็นกลวิธี, และวัดผลของความพยายามของพวกเขาในด้านการแก้ปัญหาความหิวโหย, ความยากจน, และภาวะสิ้นหวังที่จอร์จ มาร์แชลล์ พูดถึงเมื่อ 60 ปีที่แล้ว.

ท่านสมาชิกของครอบครัวฮาร์วาร์ดครับ ณ ที่นี้มีการรวมตัวกันอันยิ่งใหญ่ของผู้ที่มีพรสวรรค์ทางปัญญาของโลก.

รวมตัวกันเพื่ออะไรครับ ?

แน่นอนละที่คณาจารย์, ศิษย์เก่า, นักศึกษา, และผู้บริจาคทรัพย์ให้แก่ฮาร์วาร์ดได้ใช้พลังอำนาจของตนช่วยปรับปรุงชีวิตขอ งคนที่นี่และทั่วโลก. แต่ว่าเราจะทำมากกว่านี้อีกได้ไหม ?
ฮาร์วาร์ดสามารถจะอุทิศพลังทางปัญญาของตนเพื่อช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้คน ที่ไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อของตนได้ไหม ?

ผมใคร่จะขอสิ่งหนึ่งจากท่านคณบดีและท่านศาสตราจารย์ – ผู้นำทางปัญญาของฮาร์วาร์ด นั่นคือ เมื่อท่านจ้างคณาจารย์, มอบตำแหน่งถาวรให้อาจารย์, ทบทวนหลักสูตร, และพิจารณาคุณสมบัติสำหรับประสาทปริญญา, กรุณาถามตัวของท่านเองดังนี้:

สติปัญญาชั้นยอดเยี่ยมของเรานั้นควรจะอุทิศให้แก่การแก้ปัญหาที่หนักหนาสาหัสที่สุดของเราหรือไม่ ?

ฮาร์วาร์ดควรจะกระตุ้นคณาจารย์ให้ประจัญกับความไม่เสมอภาคที่หนักหนาสาหัสที ่สุดของโลกหรือไม่ ? นักศึกษาของฮาร์วาร์ดควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความลึกล้ำของความยากจนบนผืนโลก หรือไม่ … ความแพร่หลายของความหิวโหยของชาวโลก … ความขาดแคลนน้ำสะอาด … เด็กผู้หญิงไร้โอกาสเรียนหนังสือ … เด็กซึ่งตายจากโรคร้ายที่เราสามารถเยียวยาได้ ?

ผู้ที่มีอภิสิทธิ์มากที่สุดในโลกควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของผู้ที่มีอภิสิทธิ์ต่ำที่สุดในโลกหรือไม่ ?

นี่มิใช่คำถามเชิงเล่นคำ – ท่านจะตอบด้วยนโยบายของท่าน.

คุณแม่ของผม, ผู้ซึ่งแสนจะภูมิใจเมื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้รับผมเข้าเรียน ไม่เคยเลิกกดดันผมให้ช่วยผู้อื่นให้มากขึ้น. ไม่กี่วันก่อนวันแต่งงานของผม, ท่านจัดงานเป็นเกียรติแก่เจ้าสาว, ซึ่งในงานนั้นเองที่ท่านอ่านจดหมายเกี่ยวกับชีวิตแต่งงานที่ท่านเขียนถึงเมล ินดาออกมาดัง ๆ. คุณแม่ของผมกำลังป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งในตอนนั้น, แต่ท่านเห็นโอกาสอีกครั้งที่จะส่งสารด้านแก่นคิดของท่าน, และในตอนจบจดหมายท่านพูดว่า “จากผู้ที่ได้รับมากทั้งหลาย, มีความคาดหวังว่าพวกเขาจะให้มากด้วย”

เมื่อท่านพิจารณาสิ่งที่เราทั้ งหลายในที่นี้ได้รับ – ในด้านพรสวรรค์, ด้านอภิสิทธ์, และด้านโอกาส โลกมีสิทธิ์คาดหวังจากเราอย่างแทบไม่จำกัด.

ในกรอบของความเป็นไปได้ในยุคนี้, ผมขอแนะนำบัณฑิตแต่ละคนในที่นี้ให้หยิบประเด็นขึ้นมาสักประเด็น ปัญหาที่สลับซับซ้อน, ความไม่เสมอภาคที่ลึกล้ำ, และสร้างความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเด็นนั้นขึ้นมา. หากคุณทำให้มันเป็นจุดมุ่งเน้นในชีวิตการงานของคุณ, นั่นจะวิเศษยิ่ง. แต่คุณไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นเพื่อให้เกิดผลดี. ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์, คุณอาจใช้อานุภาพที่กำลังเพิ่มขึ้นของระบบอินเตอร์เนตเพื่อเรียนรู้, สืบหาผู้ที่มีความสนใจคล้ายกัน,
ทำความเข้าใจถึงอุปสรรค, และหาทางทะลุทะลวงมัน.

อย่าให้ความสลับซับซ้อนยับยั้งคุณ. จงเป็นนักเคลื่อนไหว. เลือกประจัญกับความไม่เสมอภาคที่ร้ายแรง. มันจะเป็นประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ในชีวิตของคุณ.

คุณ ๆ บัณฑิตทั้งหลายเติบใหญ่ขึ้นมาในช่วงเวลาอันน่าทึ่งยิ่ง. เมื่อคุณออกจากฮาร์วาร์ดไป, คุณมีเทคโนโลยีที่สมาชิกในรุ่นผมไม่เคยมี. คุณมีความตระหนักในความไม่เสมอภาคกันในโลก, ซึ่งเราไม่มี. และกับความตระหนักนั้น, คุณคงจะมีจิตวิญญาณที่รอบรู้ซึ่งจะตามหลอนคุณหากคุณทอดทิ้งคนที่ชีวิตของเขา คุณอาจเปลี่ยนได้ด้วยความพยายามเพียงน้อยนิด.
คุณมีมากกว่าเรามี. คุณต้องเริ่มให้เร็วกว่า, และสู้ต่อไปให้ยาวนานกว่า.

ในเมื่อคุณรู้สิ่งที่คุณรู้, คุณจะงอมืองอเท้าอยู่ได้อย่างไร ?

และผมหวังว่าคุณจะกลับมาที่ฮาร์วาร์ดนี่อีก 30 ปีจากวันนี้ไป และมาไตร่ตรองถึงการใช้พรสวรรค์และพลังงานของคุณ. ผมหวังว่าคุณจะวินิจฉัยตัวคุณเองไม่เฉพาะในด้านของความสำเร็จในอาชีพเท่านั้น, แต่ในด้านผลงานของคุณที่เกี่ยวกับความไม่เสมอภาคกันอันล้ำลึกที่สุดด้วย … ในด้านที่เกี่ยวกับคุณได้ปฏิบัติต่อคนที่อยู่คนละฟากโลกได้ดีแค่ไหนในเมื่อคนเหล่านั้น ไม่มีอะไรร่วมกับคุณเลยเว้นแต่ความเป็นมนุษย์ของพวกเขาเท่านั้น.

ขอให้โชคดีครับ.

Share