ร่วมรยุติการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

ปัจจุบัน 1 ใน 3 ของเด็กและสตรี ถูกทำทารุณกรรม โดยการทุบตี ล่อลวงหรือล่วงละเมิด ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง

ยิ่งไปกว่านี้ เหยื่อผู้ถูกกระทำส่วนใหญ่ มักไม่ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ทั้งนี้เนื่องจากหวาดกลัวการถูกซ้ำเติม และเกรงสังคมจะตราหน้าให้อับอาย

จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมลงชื่อเพื่อแสดงจุดยืนในการสนับสนุน ให้มีการยุติการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และร่วมรณรงค์ให้วาระนี้ เป็นวาระเร่งด่วนของประชาคมโลก

ซึ่งในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นวันสากลแห่งการยุติความรุนแรงต่อสตรี กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเฟม (UNIFEM) จะมอบรายชื่อของทุกท่าน ที่ร่วมลงนาม ให้กับ นาย บัน คี มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ

อันเป็นการแสดงถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของคนไทย ในการร่วมกันต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรี

” หนึ่งเสียงของท่าน ช่วยยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง “

 

>>>>>> ร่วมลงนาม <<<<<

 

 

Share

กรรมคืออะไร ฤ ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน

กรรม คือ อะไร?
หากใครรู้ธรรมเพียงผิวเผิน หรือไม่เข้าใจความหมาย อาจจะเข้าใจผิดได้ว่า กรรม นั้น คือ ทุกข์ กรรม นั้น คือสิ่งต้องรับ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ กรรม นั้น เป็นสิ่งไม่ดี แม้แต่กรรมนั้นมีคนบัลดาลให้เกิดแก่เรา

แต่ในความเป็นจริงแล้ว กรรม แปลเป็นไทยคือ กากระทำ ซึ่งแบ่งเป็น 3 แบบ

1. ทำด้วยกาย เรียกว่า “กายกรรม”
2. ทำด้วยใจ เรียกว่า “มโนกรรม”
3. ทำด้วยคำพูด เรียกว่า “วจีกรรม”

พระพุทธเ้จ้าทรงตรัสไว้ว่า

“เรากล่าวเจตนา (ความจงใจ) ว่าเป็นกรรม เพราะคนจงใจ คือมีใจมุ่งแล้ว จึงทำทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง”

ดังนั้นถ้าแปลกลับกัน แปลว่า สิ่งใดไม่ จงใจทำนั่นไม่ใช่กรรม.เช่น เดินไปเหนียบมด นั่นถือว่าไม่จงใจ ไม่ใช่กรรม เรียกว่า กรรมสักแต่ว่าทำ ถึงไม่ตั้งใจแต่ก็อาจจะให้โทษได้เหมือนกัน ไม่มากก็น้อย

ดังนั้น สรุปความว่า กรรม คือ การกระทำ ที่จงใจ ของเรา ไม่จะจะแค่คิด แค่พูด หรือ กระทำให้เห็น ถือเป็นกรรมหมด

อะไรคือกรรม

หลายคนเชื่อแบบผิดๆ ว่า กรรม มีผู้บันดาลให้เกิดกับเรา ไม่ว่าจะทุกข์ หรือ สุข นี่จึงเป็นเหตุให้เราทั้งหลายกลัวกรรม กราบไหว้ผู้บันดาลกรรมทั้งหลาย และผู้ที่เราเชื่อว่าสามารถบันดาลกรรมดีให้แก่เราได้อย่างเกินพอดี

แม้แต่ในบางแห่ง ก็สอนแบบพระพุทธศาสนว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตน จะสุข จะทุกข์ ก็เพราะกรรม ทำให้คนกลัวกรรม เหมือน กลัวผู้บันดาล

แต่ในความเป็นจริง พระพุทธศานา สอนให้เรารู้จักกรรม และอยู่เหนือกรรม โดยการควบคุมการกระทำของตนเองในปัจจุบันให้ดีเท่านี้ก็เรียกว่าเราได้กระทำกรรมดีแล้ว ดังนั้นผลของกรรมที่จะได้รับ ย่อมดีตาม

เช่น ทำกรรมด้วยการ บริจาคทาน หรือ นั่งสมาธิ ผลที่ได้คือความสุข ความอิ่มเอิบใจ ใจเบาสบาย นั่นคือเกิดความสุขแก่เรา หรือภาษาศาสนา เรียกว่า เกิดบุญแก่เรา

ดังนั้น เวลาเราจะแผ่เมตตา ให้เรานึกถึง และ รับรู้ความรู้สึกถึงความสุขที่เราเคยกระทำดีไว้ ผลบุญที่ได้จะบังเกิดมหาศาล และเพิ่มความสุขให้เราเข้าไปอีก (เพิ่มบุญ)

ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน

ในหนังสือ The Top Secret ของทันตแพทย์สม สุจีรา ได้เขียนไว้ว่า

“มนุษย์มีกรรมเหมือนสัตว์อื่นๆ แต่มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียว ที่เปลี่ยนแปลงกรรมได้”

เพราะมนุษย์มีความคิด ความรู้สึก เลือกที่จะทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะดี หรือจะชั่ว
ไม่ว่ากรรมเก่าเราจะทำให้ชีวิตชาตินี้เราจะตกทุกข์ได้ยากเพียงใด
เราก็สามารถอดทน ขยัน และเปลี่ยนแปลงชีวิตในทางที่ดีได้เช่นกัน

ตายจากชาติที่แล้ว เกิดมาใหม่ในชาตินี้ ก็เปรียบเหมือน การนอนหลับแล้วตื่นขึ้นมาวันใหม่
เมื่อวาน ขี้เกียจ ไม่ไปเดินเร่ขายของ จงไม่มีรายได้
แต่วันนี้ ตื่นมาพร้อมความไม่มีเงินเมหือนเดิม แต่ตั้งมั่นว่าจะขายของ และก็ออกเดินเร่ขายของ จึงทำให้วันนี้มีเงิน

นี่คือการเปลี่ยนแปลงกรรม หรือเรียกว่า ลิขิตชีวิตตัวเองจากมานะของตนเอง โดยปราศจากการอ้อนวอนแล้วนั่งนอนรอผู้บันดาล

ดังนั้นมนุษย์ไม่เหมือนกับสัตว์เดรัจฉาน ที่มีวิถีชิวิตเป็นรูปแบบ ไม่สามารถทำอะไรได้ เกิดมาชาติหนึ่ง รู้จักแต่เพียง กิน ถ่าย ผสมพันธุ์ นอน เท่านั้นเอง

แต่ก็มีมนุษย์หลายคน ทำตัวเหมือนสัตว์เดรัจฉาน และบ่นถึงชีวิตตัวเองว่าเกิดมาอาภัพ ทุกสิ่งไม่เพรียบพร้อมได้แต่ อ้อนวอนผู้บันดาล แล้วนั่งงอมืองอเท้ารอไปวันๆ

เลือกที่จะเป็น

ดังนั้น จึงมี ผู้รู้ เปรียบเทียบการมาการไปของคน ไว้ 4 แบบ

1. มาสว่าง ไปสว่าง – อดีตทำดี ปัจจุบันก็ยังทำดี
2. มาสว่าง ไปมืด – อดีตทำดี แต่ปัจจุบันทำชั่ว
3. มามืด ไปสว่าง – อดีตทำชั่ว แต่ปัจจุบันกลับใจทำดี
4. มามือ ไปมืด – อดีตทำชั่ว ปัจจุบันก็ยังชั่วเหมือนเดิม

เราเกิดแบบเช่นไร เกิดมาแบบอาภัพ(มืด) หรือเกิดแบบเพรียบพร้อม(สว่าง) เราย่อมรู้ตัวเอง
ส่วนปัจจุบัน เลือกดูก็แล้วกัน ว่าจะ ไปแบบอาภัพ(มืด) หรือไปแบบเพรียบพร้อม(สว่าง)

เลือกแบบไหน ก็ทำแบบนั้น เมื่อรู้ว่ากำหนดชะตาตัวเองได้ ก็เริ่มกำหนดเสียตั้งแต่ตอนนี้
เพราะไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะตายหรือเปล่า ถ้าไม่ทำ แล้วเกิดชาติใหม่แบบอาภัพคงไม่มีใครช่วยได้

ข้อมูลอ้างอิง
กรรมคืออะไร โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
กรรมคืออะไร
ดับข้อง…ไขใจ 11 วัดสังฆทานธรรม

Share

ตรรกะใช้ไม่ได้ในชีวิต

ถ้าคุณเอา 1 + 1 ก็จะได้เท่ากับ 2
แต่ทำไมเราเอา น้ำสองแก้วหรือทรายสองกอง รวมกันเป็น 1

เพราะมันละเอียดเกินกว่าจะใช้ความเป็นตรรกะในชีวิตมาตัดสินได้
(หากใช้ตรรกะในวิทยาศาสตร์ คงต้องมานั่งนับโมเลกุลของน้ำและทราย)

จากอาชีพผมที่เป็นโปรแกรมเมอร์ ผมต้องวุ่นวายกับ ตรรกะ เสมอๆ เพราะวัตถุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ต้องใช้ความเป็นตรรกะควบคุมการทำงาน เช่น กดปุ่มเปิด จึงทำงาน กดปุ่มผิด จึงหยุด

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงและการใช้ชีวิต คนเราไม่สามารถนำตรรกะมาร่วมใช้ได้เสมอไป ถึงแม้จะมีกฏหมายมากำหนดความถูกผิดอยู่หลายมาตรา เช่น มีคนเห็นว่า ใครสักคนฆ่าคนตาย แต่ศาลยังไม่สั่งว่าผิด ก็แปลว่าคนนั้นไม่ผิด??

ในปัจจุบัน เรามักจะเจอ คนดังๆ ในบ้านเมืองเราหลายคน รอดดคี ทั้งๆที่หลายคนรู้ว่ามันมีเงื่อนงำและเปอร์เซ็นการทำผิดมีมากกว่า 50% แต่เพราะศาลยังไม่ตัดสินว่าผิด จึงไม่ได้กลายเป็นคนผิด

หรือแม้แต่ ผิดจริง แต่รอศาลตัดสิน ก็ยังเชิดหน้าชูตาว่าตัวเองยังบริสุทธิ์

ผมก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า คนเหล่านั้น คิดอะไรอยู่ และสังคมคิดอะไรกับเขาอยู่

เข้ามาใกล้ตัวนิดหนึ่ง เช่น เรื่องของความรู้สึก หรือ ลักษณะท่าทางการกระทำของคนๆ หนึ่ง ก็ไ่ม่สามารถบ่งบอกว่าเขาจะเป็นคนเช่นนั้นเสมอไป

เช่น ชอบมีคนมาบอกผมว่า “ผู้หญิงชอบผู้ชายขี้ตื๊อ”, “ตื๊อเท่านั้นที่ครองโลก”, “ผู้หญฺงชอบผู้ชายตลก” แต่เอ๊ะ บางครั้งผมก็ฟังจากปากผู้หญิง ว่าไม่ได้เป็นแบบนั้นนะ บางคนรำคาญเสียด้วยซ้ำที่มายุ่งในชีวิตเขา หรือบางคนก็รู้สึกว่าผู้ชายตลกๆ เป็นคนไม่จริงจังไม่เอาไหน

หากจะวกกลับมาเรื่องของธรรมะ ก็ย่อมเป็นดังที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

“ทุกอย่าง ย่อม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป”

หรือแปลให้เข้ากับ entry นี้ก็คือ

“ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรคงที่ และไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน”

ดังนั้นแล้วจะไปหวังความแน่นอน ของ ตรรกะ กับเรื่องเหล่านี้ได้หรือ

“ทฤษฎีที่ถูกพิสูจน์”
“ตำราที่มียันทุกนับพันปี”
“กฏหมายดีๆ ที่ถูกกำหนด”
“ความรักที่มีคำมั่นสัญญา”
“ชีวิตที่เจอแต่ความสุขสบาย”
“ร่างกายที่แข็งแรงกำยำ”
ฯลฯ

Share