ความทุกข์

พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกไว้ว่า ความทุกข์ของมนุษย์จะมีดังนี้

1. ความเกิดก็เป็นทุกข์
2. เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
3. เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์
4. เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ
และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์
5. เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
6. เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์
7. และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์

และพระองค์ทรงสรุปไว้ว่า

การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเรา หรือ เป็นของเขา
เป็นตัวทำให้ใจเราเกิดทุกข์อย่างแท้จริง

หลังจากนั้นพระพุทธองค์ทรงกล่าววิธีแก้ทุกข์ให้เราว่า
ตัณหานี่แหละที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
แล้วตัณหาคืออะไรล่ะ

ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ
คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป
และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์
สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์
และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป
เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น
อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก

เมื่อรู้ดังนี้แล้ว พระพุทธองค์ทรงชี้ถึงวิธีดับ ตัณหาเพื่อพ้นทุกข์ไว้ว่า

การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละวาง ปล่อย
และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด
คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง

ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ

ปัญญาเห็นชอบ
ความดำริชอบ
วาจาชอบ
การงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความเพียรชอบ
การระลึกชอบ
และการตั้งจิตไว้ชอบ

คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์

ที่มา
ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร

แนะให้อ่านเพิ่มเติม
ความทุกคืออะไร


วันนี้จู่ๆ ก็นึกถึงเรื่อง ความทุกข์ ขึ้นมา
เลยขอเขียน blog เรื่องธรรมะนิดนึง
อย่างน้อยก็เตือนสติทุกท่านที่หลงเข้ามา
อย่างกลางก็เตือนสติตัวเอง
อย่างมากก็เตือนสติตัวเองและทุกท่านที่หลงเข้ามาจาก http://ifew.exteen.com/20070617/entry 

Share

ครั้งหนึ่งของพิชัยสงคราม

วันก่อนได้คุยกับพี่หมอเชน
พี่เชนถามเรื่องปัญหางานในบริษัท
ปัญหานี้มันเป็นสิ่งที่กระเพื่อมใต้น้ำมาตลอดเวลา
ทำให้บริษัทที่ผมทำงานด้วยสะดุดไม่เป็นท่าบ่อยๆ

บ่อยครั้งที่ผมปล่อยไปเพราะ ยังไงเสียฟ้าดินก็รู้
ฟ้าในที่นี้ผมหมายถึงผู้มีความคิดเหนือกว่า
และดินในที่นี้หมายถึงตัวของผู้กระทำ

การทำงานมันเป็นสิ่งซับซ้อนอย่างที่เราๆ ท่านๆ ได้เจอ
ผมพยายามกับมัน เพื่อรักษาความสมดุลให้เกิด
แม้ว่ามันจะต้องทำให้เพื่อนร่วมงานอดทนเผชิญอยู่กับผู้กระทำผิด

พี่เชนบอกว่า บางครั้ง ความสมดุลไม่ได้หมายถึงการอยู่ตรงกลาง
แต่เราต้องเอียงข้างบ้างเพื่อปรับสมดุล ” มันคือแก่น ”

ต้นหญ้าพริ้วไหวตามลม จึงอยู่รอด
ไม้ใหญ่ทนทานต้านลม จึงหักล้ม
ต้นหญ้ามิได้ปะทะลม จึงอยู่รอด
ไม้ใหญ่ปะทะลม จึงหักล้ม
ต้นหญ้ามิทำให้ลมแปรปรวน จึงอยู่รอด
ไม่ใหญ่ทำให้ลมแปรปรวน จึงหักล้ม

พี่เชนใช้คำนี้ว่า ” วีรบุรุษรู้สถานการณ์ ”
ถ้าไม่ถูก จำเป็นต้องเอียง ก็ต้องเอียงบ้าง

ผมนับถือจริงๆ คนแบบนี้
ช่างจัดชีวิตได้ลงตัว และ สมบูรณ์แบบ…

บ่อยครั้ง ตาโอ เตือนสติผมหลายครั้งด้วยพิชัยสงคราม
แม่ทัพสั่งการครั้งแรก ลูกทัพไม่ทำตาม
เป็นความผิดที่แม่ทัพ สั่งการไม่ชัดเจน
จึงต้องอธิบาให้ชัดเจน และถามความเข้าใจ
หากเมื่อเข้าใจดีแล้วจึงสั่งการครั้งต่อไป
แต่เมื่อแม่ทัพสั่งการครั้งที่สอง ลูกทัพไม่ทำตาม
จึงเป็นความผิดที่ ลูกทัพประการเดียว
สิ่งที่ต้องทำคือ ” ตัดหัว ”

วันนี้..
ในหนังสือเชิญพนักงานออก
จึงมีชื่อผมร่วมรับทราบอยู่ในนั้นด้วย

ที่จริงมันควรจะเกิดขึ้นตั้งนานมาแล้ว
แต่ผมคงมีกังวลหลายๆอย่าง
จึงเป็นคนที่คอยทัดทานอยู่ตลอดเวลา
แม้ขณะจรดปากกา ผมยังคงคิดเสมอ

“เราคิดถูกแล้วใช่ไหม..
จะมีปัญหาใดตามมาไหม..
และเราจะรับมือได้อย่างไร..”

เพราะสิ่งที่ผมกลัว ผมไม่ได้กลัวการมาแบบซึ่งๆ หน้า
แต่ผมกลัวการเผชิญศึกแบบกองโจร

แม้ว่าสิ่งที่ทำมันคือการเอียงเพื่อรักษาสมดุล
และสามารถทำตามกฏแห่งการปกครองได้

แต่หากทำกับคนพาลแล้ว
สิ่งที่ตามมาย่อมเป็นความชั่วช้า
และไม่สามารถคาดเดาตามรูปแบบปกติได้อย่างแน่นอน

ผมเกลียดจริงๆ…

จาก http://ifew.exteen.com/20070524/entry 

Share

bla bla bla

– ผมลืมหลักการที่ผมต้องใช้ดำเนินชีวิตไปหมดสิ้น
– ผมไม่สามารถตื่นได้ตามเวลาที่กำหนด และไม่นอนต่อ
– ผมยอมโดดงานเพียงเพราะไม่สบายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
– เพียงเพราะมีโอกาสโดดงาน ผมจึงอยากหาโอกาสนี้ไปนั่งดูหนัง
– หนทางไม่ไกลนัก ผมไม่สามารถเดินเองได้
– เว็บไซต์ง่ายๆ เพียง 1 เว็บ ผมไม่สามารถทำมันเสร็จได้ภายใน 1 วัน
– คำพูดเพียงไม่กี่นาทีที่ผ่านไป ผมกลับลืมมันอย่างคาดไม่ถึง
– หนังสือเพียง 200 กว่าหน้า ผมใช้เวลาอ่าน 1 เดือนก็ยังไม่จบ
– ผมลืมความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่จะปล่อยให้ชีวิตเขาเดินทางของเขาเอง
– ผมผูกตัวเองไว้กับสังคมเกินกว่าที่ควรจะเป็น
– ผมฟุ้งซ่านและเสียใจบ่อย จนอาจจะหรือทำให้คนรอบข้างผมรำคาญ
– ผมแก้ปัญหาทางใจด้วยการหมกมุ่นกับสิ่งรอบข้าง และสังคม โดยไม่ยอมแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
– ผมหวังพึ่งคนอื่นว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาให้ได้มากเกินไป
– ผมปล่อยให้อารมณ์เหนือตัวเองมากเกินไป

เมื่อผมรู้ตัว

ผมว่าผมน่าจะกลับไปเป็นคนเดิมแล้วนะ

จาก http://ifew.exteen.com/20061130/bla-bla-bla 

Share