Tag Archives: กรรม

บันทึก จาก ธรรมบรรยาย วิธีชนะกรรม ว.วชิรเมธี

คนไทยนิยมมีลัทธิอยู่สามอย่าง ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่พระพุทธศาสนา
1. กรรมลิขิต คือ ลัทธิที่เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมาจากกรรมเก่า เช่น ศาสนาเชน ศาสนาพราหมณ์
2. เทวนิยม คือ ลัทธิที่เชื่อว่าเทพเจ้าบรรดาล เช่น จตุคามรามเทพ พระพรหม ฯลฯ
3. ลิทธิหวังผลดลบรรดาล หรือ ลัทธิบริโภคนิยม เช่น “สาธุ.. วันที่ 1 ขอเจ๋งๆ 7 ตัว ถ้าได้นะเจ้าพ่อ ขอสร้างโบสถ์ให้หนึ่งหลัง” โดยคนพวกนี้มักจะมีพิธีกรรมของเขาเอง กราบนั่นไหว้นี่ แก้บนแบบนั้นแบบนี้ สารพัด เมื่อสมหวังและไม่สมหวังการกระทำบูชาก็กลับหน้ามือเป็นหลังมือ

ลัทธิในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่มีเรื่องกรรมเก่าอย่างเดียว
แต่ทัศนะของกรรม คือ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา
และเจตนานั้น สามารถเป็นได้ทั้งปัจจุบันกรรม อดีตกรรม อนาคตกรรม
อะไรที่ไม่มีเจตนาจะทำ เรียกว่า กริยา

แล้วกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะ?
กรรมเกิดขึ้นเพราะมีกิเลส
เกิดเพราะการเห็น ฟัง ได้กลิ่น สัมผัส ลิ้มรส (กิเลสภายนอก)
อยากได้ อยากมี อยากเป็น ชอบพอ เกลียด โกรธ (กิเลสภายใน) ฯลฯ
เมื่อมีกิเลสแล้วจึงเกิดการกระทำเพื่อตอบสนองกิเลสนั้นๆ
เมื่อทำแล้วจึงเกิดผลที่ตามมา จะดี จะชั่ว ก็แล้วแต่
ซึ่งกล่าวอย่างสั้นที่สุด คือ ขบวนการทั้งหมดเกิดขึ้นที่กิเลสภายใน หรือใจเรา นั่นเอง

ในกายกรรม (การกระทำทางกาย) มโนกรรม (การกระทำทางใจ) วจีกรรม (การกระทำทางคำพูด)
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า กรรมที่อันตรายที่สุดคือ มโนกรรม (กรรมทางใจ)
ท่านผู้รู้บอกไว้ว่า
เธอจงระวังความคิด เพราะความคิดก่อให้เกิดการกระทำ
เธอจงระวังการกระทำ เพราะการกระทำก่อให้เกิดนิสัย
เธอจงระวังการนิสัย เพราะนิสัยก่อให้เกิดบุคคลิก
เธอจงระวังบุคลิก เพราะถึงที่สุดแล้วบุคลิกจะเป็นตัวกำหนดชะตากรรมของเธอ
ซึ่งชะตากรรมที่ดีหรือไม่ดีของเธอนั้น เกิดจากความคิดของเธอนั่นเอง

การให้ผลของกรรม แท้ที่จริง ทุกครั้งที่เราคิดและเรากระทำผ่านทางกาย ไม่ว่าเป็น มือ เท้า กาย ปาก ลิ้น ตา หู ฯลฯ
ล้วนแสดงผลออกมาจากใจ(ความคิด) จึงเป็นข้อบ่งบอกว่า กรรมจึงส่งผลได้ในปัจจุบันทันที

กรรมให้ผลผ่าน 4 มิติ
1. ปัจจุบันขณะ คือ ในชีวิตนี้ พอใจคิด กายก็ทำ จึงให้ผล ณ ขณะนั้นเลย
2. ในชาติหน้า คือ ทุกอย่างที่ทำในชาตินี้ และไม่สามารถแสดงผลในชาตินี้ได้ ก็จะแสดงไปในชาติหน้า เช่น ทำบุญ ทำทาน
3. กรรมให้ผลในชาติต่อไป คือ กรรมที่เหลือจากชาติก่อนๆ ผสมกับชาติปัจจุบัน สะสมกันไปไม่จบสิ้น จนกว่าจะสิ้นสุดขบวนของกรรม
4. กรรมเลิกให้ผล (อโหสิกรรม) คือ กรรมที่ไม่มีโอกาสแสดงผล หรือผู้กระทำพ้นจากบ่วงกรรม (บรรลุนิพพาน)

วิธีชนะกรรม
ไม่ว่าจะสร้างพระพุทธรูปแปดหมื่นองค์ สร้างโบสถ์ ทำบุญ บูชานั่นนี่ทั้งหลายแหล่
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่วิธีทางพระพุทธศาสนา จะได้ผลหรือไม่ได้ผล ก็ต้องไปถามศาสดาของศาสนาอื่น
แต่ในทัศนะพุทธศาสนามีอยู่เพียงวิธีเดียวคือ การปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 หรือเจริญวิปัสนากรรมฐานนั่นเอง
ผู้ที่เจริญวิปัสนากรรมฐานได้ คุณภาพจิตจะเปลี่ยนเป็นสัมมาทิฐฐิ คือเห็นชอบตามธรรมนองคลองธรรม
พอจิตเปลี่ยนคุณภาพดีขึ้น เห็นอะไรผิด อะไรชอบ การกระทำก็จะเปลี่ยน ชีวิตก็จะเปลี่ยน
ผลของการกระทำก็จะเปลี่ยนตาม ทำให้เราเป็นบุคคลใหม่

ชีวิตจึงเป็นผลของความคิด
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสต
โลกหมุนไปเพราะความคิดและจิต
โลกนี้หมายถึงชีวิตเรา จะหมุนไปข้างดีหรือข้างชั่ว สูงหรือต่ำ นั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราคิด
เพราะฉะนั้น หากอยากเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น ให้เปลี่ยนแปลงความคิดเสียก่อน
วิธีคิดเปลี่ยน ชีวิตก็เปลี่ยน เราจึงสามารถเปลี่ยนแปลงกฏแห่งกรรมของเราเอง

สรุปสั้นๆ การชนะกรรม หรือทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น ไม่ใช่แก้ด้วยปัจจัยภายนอก หรือคนอื่น แต่ให้แก้จากวิธีคิดของเราเอง

..

.

ผู้ใดเคยประมาทมาเพลาก่อน แต่กลับย้อนไม่ประมาทได้ในภายหลัง
ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว ดังหนึ่งจันทราพ้นจากเมฆาอันมืดมิด
– พระองคุลิมาล –

Share

กรรมคืออะไร ฤ ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน

กรรม คือ อะไร?
หากใครรู้ธรรมเพียงผิวเผิน หรือไม่เข้าใจความหมาย อาจจะเข้าใจผิดได้ว่า กรรม นั้น คือ ทุกข์ กรรม นั้น คือสิ่งต้องรับ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ กรรม นั้น เป็นสิ่งไม่ดี แม้แต่กรรมนั้นมีคนบัลดาลให้เกิดแก่เรา

แต่ในความเป็นจริงแล้ว กรรม แปลเป็นไทยคือ กากระทำ ซึ่งแบ่งเป็น 3 แบบ

1. ทำด้วยกาย เรียกว่า “กายกรรม”
2. ทำด้วยใจ เรียกว่า “มโนกรรม”
3. ทำด้วยคำพูด เรียกว่า “วจีกรรม”

พระพุทธเ้จ้าทรงตรัสไว้ว่า

“เรากล่าวเจตนา (ความจงใจ) ว่าเป็นกรรม เพราะคนจงใจ คือมีใจมุ่งแล้ว จึงทำทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง”

ดังนั้นถ้าแปลกลับกัน แปลว่า สิ่งใดไม่ จงใจทำนั่นไม่ใช่กรรม.เช่น เดินไปเหนียบมด นั่นถือว่าไม่จงใจ ไม่ใช่กรรม เรียกว่า กรรมสักแต่ว่าทำ ถึงไม่ตั้งใจแต่ก็อาจจะให้โทษได้เหมือนกัน ไม่มากก็น้อย

ดังนั้น สรุปความว่า กรรม คือ การกระทำ ที่จงใจ ของเรา ไม่จะจะแค่คิด แค่พูด หรือ กระทำให้เห็น ถือเป็นกรรมหมด

อะไรคือกรรม

หลายคนเชื่อแบบผิดๆ ว่า กรรม มีผู้บันดาลให้เกิดกับเรา ไม่ว่าจะทุกข์ หรือ สุข นี่จึงเป็นเหตุให้เราทั้งหลายกลัวกรรม กราบไหว้ผู้บันดาลกรรมทั้งหลาย และผู้ที่เราเชื่อว่าสามารถบันดาลกรรมดีให้แก่เราได้อย่างเกินพอดี

แม้แต่ในบางแห่ง ก็สอนแบบพระพุทธศาสนว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตน จะสุข จะทุกข์ ก็เพราะกรรม ทำให้คนกลัวกรรม เหมือน กลัวผู้บันดาล

แต่ในความเป็นจริง พระพุทธศานา สอนให้เรารู้จักกรรม และอยู่เหนือกรรม โดยการควบคุมการกระทำของตนเองในปัจจุบันให้ดีเท่านี้ก็เรียกว่าเราได้กระทำกรรมดีแล้ว ดังนั้นผลของกรรมที่จะได้รับ ย่อมดีตาม

เช่น ทำกรรมด้วยการ บริจาคทาน หรือ นั่งสมาธิ ผลที่ได้คือความสุข ความอิ่มเอิบใจ ใจเบาสบาย นั่นคือเกิดความสุขแก่เรา หรือภาษาศาสนา เรียกว่า เกิดบุญแก่เรา

ดังนั้น เวลาเราจะแผ่เมตตา ให้เรานึกถึง และ รับรู้ความรู้สึกถึงความสุขที่เราเคยกระทำดีไว้ ผลบุญที่ได้จะบังเกิดมหาศาล และเพิ่มความสุขให้เราเข้าไปอีก (เพิ่มบุญ)

ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน

ในหนังสือ The Top Secret ของทันตแพทย์สม สุจีรา ได้เขียนไว้ว่า

“มนุษย์มีกรรมเหมือนสัตว์อื่นๆ แต่มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียว ที่เปลี่ยนแปลงกรรมได้”

เพราะมนุษย์มีความคิด ความรู้สึก เลือกที่จะทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะดี หรือจะชั่ว
ไม่ว่ากรรมเก่าเราจะทำให้ชีวิตชาตินี้เราจะตกทุกข์ได้ยากเพียงใด
เราก็สามารถอดทน ขยัน และเปลี่ยนแปลงชีวิตในทางที่ดีได้เช่นกัน

ตายจากชาติที่แล้ว เกิดมาใหม่ในชาตินี้ ก็เปรียบเหมือน การนอนหลับแล้วตื่นขึ้นมาวันใหม่
เมื่อวาน ขี้เกียจ ไม่ไปเดินเร่ขายของ จงไม่มีรายได้
แต่วันนี้ ตื่นมาพร้อมความไม่มีเงินเมหือนเดิม แต่ตั้งมั่นว่าจะขายของ และก็ออกเดินเร่ขายของ จึงทำให้วันนี้มีเงิน

นี่คือการเปลี่ยนแปลงกรรม หรือเรียกว่า ลิขิตชีวิตตัวเองจากมานะของตนเอง โดยปราศจากการอ้อนวอนแล้วนั่งนอนรอผู้บันดาล

ดังนั้นมนุษย์ไม่เหมือนกับสัตว์เดรัจฉาน ที่มีวิถีชิวิตเป็นรูปแบบ ไม่สามารถทำอะไรได้ เกิดมาชาติหนึ่ง รู้จักแต่เพียง กิน ถ่าย ผสมพันธุ์ นอน เท่านั้นเอง

แต่ก็มีมนุษย์หลายคน ทำตัวเหมือนสัตว์เดรัจฉาน และบ่นถึงชีวิตตัวเองว่าเกิดมาอาภัพ ทุกสิ่งไม่เพรียบพร้อมได้แต่ อ้อนวอนผู้บันดาล แล้วนั่งงอมืองอเท้ารอไปวันๆ

เลือกที่จะเป็น

ดังนั้น จึงมี ผู้รู้ เปรียบเทียบการมาการไปของคน ไว้ 4 แบบ

1. มาสว่าง ไปสว่าง – อดีตทำดี ปัจจุบันก็ยังทำดี
2. มาสว่าง ไปมืด – อดีตทำดี แต่ปัจจุบันทำชั่ว
3. มามืด ไปสว่าง – อดีตทำชั่ว แต่ปัจจุบันกลับใจทำดี
4. มามือ ไปมืด – อดีตทำชั่ว ปัจจุบันก็ยังชั่วเหมือนเดิม

เราเกิดแบบเช่นไร เกิดมาแบบอาภัพ(มืด) หรือเกิดแบบเพรียบพร้อม(สว่าง) เราย่อมรู้ตัวเอง
ส่วนปัจจุบัน เลือกดูก็แล้วกัน ว่าจะ ไปแบบอาภัพ(มืด) หรือไปแบบเพรียบพร้อม(สว่าง)

เลือกแบบไหน ก็ทำแบบนั้น เมื่อรู้ว่ากำหนดชะตาตัวเองได้ ก็เริ่มกำหนดเสียตั้งแต่ตอนนี้
เพราะไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะตายหรือเปล่า ถ้าไม่ทำ แล้วเกิดชาติใหม่แบบอาภัพคงไม่มีใครช่วยได้

ข้อมูลอ้างอิง
กรรมคืออะไร โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
กรรมคืออะไร
ดับข้อง…ไขใจ 11 วัดสังฆทานธรรม

Share