ถ้าคุณเอา 1 + 1 ก็จะได้เท่ากับ 2
แต่ทำไมเราเอา น้ำสองแก้วหรือทรายสองกอง รวมกันเป็น 1
เพราะมันละเอียดเกินกว่าจะใช้ความเป็นตรรกะในชีวิตมาตัดสินได้
(หากใช้ตรรกะในวิทยาศาสตร์ คงต้องมานั่งนับโมเลกุลของน้ำและทราย)
จากอาชีพผมที่เป็นโปรแกรมเมอร์ ผมต้องวุ่นวายกับ ตรรกะ เสมอๆ เพราะวัตถุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ต้องใช้ความเป็นตรรกะควบคุมการทำงาน เช่น กดปุ่มเปิด จึงทำงาน กดปุ่มผิด จึงหยุด
แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงและการใช้ชีวิต คนเราไม่สามารถนำตรรกะมาร่วมใช้ได้เสมอไป ถึงแม้จะมีกฏหมายมากำหนดความถูกผิดอยู่หลายมาตรา เช่น มีคนเห็นว่า ใครสักคนฆ่าคนตาย แต่ศาลยังไม่สั่งว่าผิด ก็แปลว่าคนนั้นไม่ผิด??
ในปัจจุบัน เรามักจะเจอ คนดังๆ ในบ้านเมืองเราหลายคน รอดดคี ทั้งๆที่หลายคนรู้ว่ามันมีเงื่อนงำและเปอร์เซ็นการทำผิดมีมากกว่า 50% แต่เพราะศาลยังไม่ตัดสินว่าผิด จึงไม่ได้กลายเป็นคนผิด
หรือแม้แต่ ผิดจริง แต่รอศาลตัดสิน ก็ยังเชิดหน้าชูตาว่าตัวเองยังบริสุทธิ์
ผมก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า คนเหล่านั้น คิดอะไรอยู่ และสังคมคิดอะไรกับเขาอยู่
เข้ามาใกล้ตัวนิดหนึ่ง เช่น เรื่องของความรู้สึก หรือ ลักษณะท่าทางการกระทำของคนๆ หนึ่ง ก็ไ่ม่สามารถบ่งบอกว่าเขาจะเป็นคนเช่นนั้นเสมอไป
เช่น ชอบมีคนมาบอกผมว่า “ผู้หญิงชอบผู้ชายขี้ตื๊อ”, “ตื๊อเท่านั้นที่ครองโลก”, “ผู้หญฺงชอบผู้ชายตลก” แต่เอ๊ะ บางครั้งผมก็ฟังจากปากผู้หญิง ว่าไม่ได้เป็นแบบนั้นนะ บางคนรำคาญเสียด้วยซ้ำที่มายุ่งในชีวิตเขา หรือบางคนก็รู้สึกว่าผู้ชายตลกๆ เป็นคนไม่จริงจังไม่เอาไหน
หากจะวกกลับมาเรื่องของธรรมะ ก็ย่อมเป็นดังที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“ทุกอย่าง ย่อม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป”
หรือแปลให้เข้ากับ entry นี้ก็คือ
“ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรคงที่ และไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน”
ดังนั้นแล้วจะไปหวังความแน่นอน ของ ตรรกะ กับเรื่องเหล่านี้ได้หรือ
“ทฤษฎีที่ถูกพิสูจน์”
“ตำราที่มียันทุกนับพันปี”
“กฏหมายดีๆ ที่ถูกกำหนด”
“ความรักที่มีคำมั่นสัญญา”
“ชีวิตที่เจอแต่ความสุขสบาย”
“ร่างกายที่แข็งแรงกำยำ”
ฯลฯ