ยูนุส (Yunus) และ ธนาคารกรามีน (Grameen Bank) เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ 2006
ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นหนึ่งใน ฟันเฟือง สำคัญของระบบทุนนิยม เพราะการกู้เงินมาลงทุนในกิจการต่างๆ เป็นหนึ่งในกลไกหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสมัยใหม่ทั้งระบบ
มองจ ากมุมกว้างที่สุด ธนาคารทำหน้าที่เป็น สะพาน เชื่อมระหว่างนักลงทุน (ผู้ฝากเงิน) กับผู้ต้องการทุน (ผู้กู้เงิน) ที่ทรงประสิทธิภาพ และมีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนโดยตรงในตลาดทุน (เช่น ตลาดตราสารหนี้ หรือตลาดหลักทรัพย์) เพราะธนาคารมีความเชี่ยวชาญในการประเมินความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ ตลอดจนมีกระบวนการและเทคโนโลยีป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่ดีกว่า และมีราคาแพงเกินกว่าที่นักลงทุนส่วนใหญ่มีกำลังซื้อ
กำไรของธนา คารส่วนใหญ่ มาจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกหนี้ และดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารต้องจ่ายผู้ฝากเงินรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี แล้วแต่ประเภทบัญชี
แต่ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะเป็นฟันเ ฟืองที่ระบบทุนนิยมขาดไม่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ต้องการเงินทุน จะเดินเข้ามาใช้บริการของธนาคารได้
ธนาคารพาณิชย์มักเรียกร้องหล ักประกันจากลูกหนี้ เนื่องจากต้องการป้องกันความเสี่ยงจากกรณีที่ลูกหนี้อาจชำระหนี้ไม่ได้ กลายเป็นปรากฏการณ์ ธรรมดา ในระบบทุนนิยม คือยิ่งเราต้องการเงินเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องใช้เงิน (หรือทรัพย์สิน) เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ตรงกับคติฝรั่งว่า คุณต้องมีเงินในการหาเงิน (You need money to make money)
นี่เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย มี เงินกู้นอกระบบ จำนวนมาก ยิ่งประเทศมีคนจนมากเท่าไหร่ เงินกู้นอกระบบยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น เพราะคนจนไม่มีทรัพย์สินอะไรที่จะไปเสนอธนาคารได้ ทำให้ไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้นอกระบบสามารถเก็บดอกเบี้ยแพงกว่าธนาคารพาณิชย์หลายเท่า เช่น 30-40% เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยธนาคารประมาณ 5-10% ลูกหนี้นอกระบบต้องจำใจจ่ายดอกเบี้ยแพงลิบลิ่ว เพื่อแลกกับเงินกู้ไม่มีหลักประกัน และความยืดหยุ่นในการชำระเงินต้น
ก ลายเป็นวัฏจักร โง่-จน-เจ็บ ที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ และนักคิดนักวิจัยหลายท่านศึกษาวิเคราะห์มานานหลายสิบปี แต่ยากที่จะหาทางออกที่แท้จริง และยั่งยืน
โดย คอลัมน์ คนชายขอบ ใน open online วันที่ 18 ธันวาคม 2548