วรภัทร์ ภู่เจริญ “จุดตะเกียง ดีกว่าด่าความมืด”

ว่ากันว่าคนเราควรคิดบวก แล้วจะดีต่อชีวิต ถ้าคิดลบแล้วจะทำอย่างไร ลองอ่านอีกแง่คิดของนักวางยุทธศาสตร์คนนี้

หลายปีที่แล้ว เคยสนทนากับดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ อดีตวิศวกรองค์กรนาซา ที่ผันตัวมาใช้ชีวิตในเมืองไทยอย่างสร้างสรรค์ ด้านหนึ่งเป็นนักวางยุทธศาสตร์ ที่ปรึกษาการบริหารองค์กรและระบบบริหารจัดการให้บริษัทใหญ่หลายแห่ง เพื่อช่วยฝึกอบรมนักบริหารรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว โดยเขาตั้งบริษัทอริยชน จำกัด เพื่อทำงานด้านวิทยากรบรรยาย และผลิตหนังสือที่เขียนเอง Continue reading

Share

รำไทชิ ชี่กง ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเรื้อรัง


การรักษาด้วยยาอาจไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากการใช้ยาแบบพ่นเข้าปากเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมักป่วยด้วยโรคดังกล่าว วิธีรับมือที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการกำเริบ รวมไปถึงการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด ก็จะช่วยให้อาการกำเริบลดลง

ศ.พญ.สุมาลี เกียรติบุญศรี หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า วิธีของแพทย์ตะวันตกนิยมให้ออกกำลังกายที่ต้องอาศัยกล้ามเนื้อทุกส่วน เช่น วิ่งลู่ ปั่นจักรยาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เมื่อออกกำลังกายด้วยวิธีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง 20-30 นาทีต่อวัน จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 6 สัปดาห์ สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้ ทำให้อาการกำเริบลดน้อยลง

แต่สำหรับประเทศไทยวิธีดังกล่าวกลับไม่เป็นผลนัก ศ.พญ.สุมาลี อธิบายว่า ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยใช้วิธีดังกล่าวในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมาก่อน แต่ผู้เข้าร่วมน้อย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ บางทีวิ่งลู่แล้วมักจะหกล้ม และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงพยายามวิจัยวิธีออกกำลังกายแบบใหม่ที่สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้ สุดท้ายคือการออกกำลังกายด้วย “ไทชิ ชี่กง”

“ไทชิ ชี่กง เป็นการนำเอาท่ารำไทเก๊กของจีน 9 ท่า ซึ่งมีข้อดีคือเป็นการออกกำลังกายที่อาศัยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกส่วนแบบช้าๆ มาผสมผสานกับการใส่วิธีการหายใจที่ถูกต้องตามอย่างแพทย์ตะวันตก ทำให้เหมาะสมกับคนทุกวัย ที่สำคัญสามารถทำได้เองที่บ้านหรือทำพร้อมกันเป็นกลุ่มได้” ศ.พญ.สุมาลี กล่าว

สำหรับท่ารำไทชิ ชี่กง ทั้ง 9 ท่านั้น ศ.พญ.สุมาลี อธิบายว่า ท่ารำไทเก๊กมีจำนวนมาก จึงได้คัดเลือกท่าที่ง่ายต่อการใส่ลมหายใจประกอบมา 9 ท่า เพื่อทำการวิจัยและทดลอง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงประสบความสำเร็จ โดยแต่ละท่าจะมีการกำหนดลมหายใจ และต้องทำซ้ำกันไปมาวันละประมาณ 20-30 นาที จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์

“จากการศึกษาในผู้ป่วยตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวพบว่า ผู้ป่วยมีการเผาผลาญออกซิเจนน้อยลง มีปริมาตรการหายใจเพิ่มขึ้น สามารถออกกำลังกายสูงสุดได้มากขึ้น ปอดหายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เป็นต้น โดยรพ.รามาฯได้นำไทชิ ชี่กงมาใช้ในการบริการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2550 พบว่าอัตราคนไข้อาการกำเริบลดลง 26-27% ขณะที่การป่วยฉุกเฉินลดลงถึง 50% แม้จะหยุดออกกำลังกายก็พบว่าสามารถช่วยคงสมรรถภาพของปอดไปได้นานประมาณ 6 เดือน” ศ.พญ.สุมาลี กล่าว

นอกจากโรงพยาบาลรามาธิบดีแล้ว ล่าสุดพบว่า มีอีกหลายโรงพยาบาลที่นำ “ไทชิ ชี่กง” ไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ศ.พญ.สุมาลี เล่าว่า เนื่องจากได้ไปนำเสนอต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งมีความสนใจ โดยได้ทำเป็นซีดีไกด์ไลน์ให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆในการนำไปบริการรักษาผู้ป่วย ซึ่งไม่ได้เป็นการบังคับ แต่สปสช.มีค่าตอบแทนให้แก่หน่วยบริการหากสามารถลดอัตราการป่วยหรือการกำเริบได้

ทั้งนี้ ในวันที่ 11 พ.ย.นี้ โรงพยาบาลรามาธิบดีจะเปิดการสาธิตการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ไทชิ ชี่กง ให้แก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่เวลา 07.00-12.00 น. ซึ่งภายในงานจะมีการทดสอบสมรรถภาพปอด การเป่าเครื่องวัดอัตราลมหายใจออกสูงสุด การสอนวิธีการใช้ยาสูดพ่น และเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย

โดย…สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์

ที่มา: http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000136865

Share

เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์ไม่ควรจะกินเนื้อสัตว์ !?

ในทางธรรมชาติบำบัดแล้วต่างเห็นพ้องต้องกันเป็นส่วนใหญ่ว่าความจริงแล้วมนุษย์ไม่เหมาะที่จะบริโภคเนื้อสัตว์ และเนื้อสัตว์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์เกิดโรคร้ายต่างๆเป็นจำนวนมาก

ข้อทักท้วงที่ตามมาโดยทันทีก็คือแล้วเช่นนั้นถ้าไม่ทานเนื้อสัตว์มนุษย์ก็จะขาดโปรตีนและไม่แข็งแรง ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์สามารถหาโปรตีนได้จากถั่วและธัญพืชหลายชนิด เช่น ธัญพืชมีโปรตีน 8% – 12% ถั่วเหลืองมีโปรตีน 40% หรือ 2 เท่าของโปรตีนในเนื้อสัตว์ แม้แต่เนื้อสันในที่เชื่อกันว่าดีที่สุด ก็มีโปรตีนที่นำมาใช้ได้เพียง 20% เท่านั้น ในขณะที่ถั่วและเมล็ดพืชต่างๆมีโปรตีน 30%


เราจึงพบว่านักกีฬาที่มีชื่อเสียงในระดับโลกกินอาหารจากพืชเป็นหลักที่มีไขมันต่ำแต่กลับทำให้ร่างการแข็งแกร่งมากขึ้น เช่น นักกรีฑาคาร์ล ลูอิส, นักเทนนิสชื่อดังมาตินา นาฟราติโลวา, นักมวลปล้ำระดับโลกอย่างคริสต์ แคมเบลล์ หรือนักวิ่งมาราธอน รูทส์ เฮลดริคช์ ฯลฯ

หรือจะดูย้อนไปไกลกว่านั้นถึงความสำเร็จของนักกีฬาที่รับประทานอาหารมังสวิรัติและทำสถิติโลกสำคัญ เช่น เมอร์เร่ย์ โรส นักกีฬาว่ายน้ำผู้ที่เคยได้รับ 4 เหรียญทองและทำลายสถิติโลกในกีฬาโอลิมปิค, เอ. แอนเดอร์สัน นักยกน้ำหนักที่ทำลายสถิติโลกหลายครั้ง หรือแม้แต่ จอห์นนี่ ไวส์ มูลเลอร์ ผู้ทำลายสถิติว่ายน้ำของโลกถึง 56 ครั้ง

แต่สำหรับคนที่กินเนื้อสัตว์นั้นควรจะต้องตระหนักว่า สัตว์ที่ตกใจกลัวสุดขีดเพราะการถูกฆ่าจะมีสารพิษในร่างกายเกิดขึ้นโดยทันที เช่น การหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) และกรดยูริค (Uric Acid)ซึ่งขับออกมาด้วยความหวาดกลัวหรือได้รับความเจ็บปวดอย่างรุนแรง ซึ่งภาวะความเป็นพิษเหล่านี้จะกระจายไปทั่วร่างของสัตว์และตกค้างอยู่ตามเส้นเลือดและเนื้อเยื่อ และเมื่อย่อยสลายแล้วจะมีความเป็นกรดสูงในร่างกายมนุษย์

และด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เราได้สารแปลกปลอมในเนื้อสัตว์อีกมากมายเพื่อให้มนุษย์ได้มีความพึงพอใจกับรูปลักษณ์ขอเนื้อสัตว์เหล่านั้น เช่น การใช้ฮอร์โมนหรือยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งให้สัตว์มีร่างกายเจริญเติบโตได้เร็ว การใช้ฟอร์มารีนเพื่อกันเน่าเสีย การใช้สารเร่งเนื้อแดงเพื่อหลอกให้เชื่อว่าเนื้อมีความสดใหม่ แต่ประเด็นนี้แม้ในพืช ผัก และผลไม้ของไทยก็เต็มไปด้วยสารพิษจากยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน (นอกจากประเทศไทยจะมีการปฏิรูปอาหารครั้งใหญ่)

พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ถ้ามนุษย์ไม่มีอาวุธอยู่ในมือ หรือมีเครื่องปรุงที่กลบเกลื่อนเนื้อสัตว์ เราจะไม่สามารถไล่ล่าหรือกัดกินเนื้อสัตว์ตามธรรมชาติได้เลย

ในขณะที่คุณณรงค์ โชควัฒนา ซึ่งเป็นผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติมาหลายสิบปี ก็ให้ความเห็นว่าความจริงแล้วมนุษย์ไม่ได้มีความอยากอาหารเมื่อเห็นสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือแม้แต่เห็นซากสัตว์ หรือได้กลิ่นคาวเลือดจากเนื้อสัตว์ มนุษย์จึงต้องเปลี่ยนแปรสภาพด้วยการสับ บด ต้ม หรือทอดด้วยน้ำมัน และใช้เครื่องปรุงอาหารและเครื่องเทศเพื่อเปลี่ยนรสชาติกลบเกลื่อนเนื้อสัตว์เหล่านั้นเสีย ให้กลายเป็นอาหารประเภทอีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น

และหากจะพิจารณาลักษณะสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังในการแบ่งกลุ่มกินเนื้อ กินหญ้า และผลไม้แล้ว เราจะได้ข้อมูลเปรียบเทียบที่น่าสนใจหลายประการ ดังนี้

สัตว์กินเนื้อจะมีเล็บงุ้มแหลมคมและแข็งแรงสำหรับการตะปบ แต่สัตว์กินหญ้าและใบไม้ ตลอดจนสัตว์กินผลไม้จะเล็บแบน ซึ่งมนุษย์ก็เล็บแบนเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อพิจารณาลักษณะนิ้วและเล็บของมนุษย์แล้วเหมาะสำหรับการเด็ดจับผลไม้หรือพืชเท่านั้น ไม่ได้มีความสามารถในการต่อสู้กับสัตว์ด้วย 2 มือเปล่าได้

สัตว์กินเนื้อฟันหน้าจะแหลมคมเพื่อเอาไว้ฉีกเนื้อ และไม่มีฟันกรามด้านหลังสำหรับบดอาหาร สัตว์กินเนื้อจึงไม่ต้องบดเคี้ยวเอื้องและกินเร็วมาก ส่วนสัตว์ที่ไม่กินเนื้อทั้งสัตว์กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ จะมีฟันหน้าไม่แหลมคมและมีฟันกรามด้านหลังสำหรับบดอาหารและใช้เวลานานกว่า ส่วนมนุษย์ไม่มีลักษณะฟันที่จะจัดกลุ่มกินเนื้อได้เลย

นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำลายของสัตว์กินเนื้อตามปกติจะเป็นกรด และไม่มีน้ำย่อยทายลินสำหรับย่อยอาหารจำพวกข้าวในขั้นต้น อีกทั้งยังมีต่อมน้ำลายเล็กๆในปาก เนื่อจากไม่จำเป็นต้องย่อยอาหารประเภทข้าวหรือผลไม้ในขั้นต้น ในขณะที่มนุษย์เหมือนสัตว์กินพืช ผัก ผลไม้ คือเมื่อสุขภาพดีน้ำลายจะเป็นด่าง มีน้ำย่อยทายลินเพื่อย่อยอาหารประเภทข้าว และมีต่อมน้ำลายที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจำเป็นสำหรับการย่อยอาหารประเภทข้าว หรือผลไม้ในขั้นต้น

ผิวหนังของสัตว์กินเนื้อจะมีความหยาบกระด้าง ไม่มีรูขุมขน คายน้ำโดยรู้ที่ลิ้นเพื่อให้ร่างกายเย็น ในขณะที่มนุษย์มีลักษณะเหมือนสัตว์กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ คือ มีการขับเหงื่อโดยรุขุมขนนับล้านตามผิวหนัง

ในกระเพาะอาหารสัตว์กินเนื้อจะมีกรดไฮโดรคลอริกอยู่มากเหมาะสำหรับย่อยกล้ามเนื้อ กระดูก และส่วนอื่นๆของสัตว์ และมีความเป็นกรดสูงกว่ามนุษย์ และ สัตว์กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ถึง 20 เท่า

ลำไส้ของสัตว์กินเนื้อจะยาวเพียง 3 เท่าของร่างกายเท่านั้น เพื่อขับถ่ายเนื้อที่เน่าเสียออกได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่มนุษย์เหมือนกับสัตว์กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ คือ มีลำไส้ยาวกว่าร่างกายถึง 10-12 เท่า เพราะพืชและผลไม้จะเน่าเสียช้ากว่า จึงผ่านการย่อยและดูดซึมเข้าผ่านลำไส้ได้ตามปกติไม่มีความจำเป็นต้องเร่งถ่ายออก

มนุษย์มีภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหารน้อยกว่าสัตว์กินเนื้อ และมีลำไส้ที่ยาวกว่าด้วย ดังนั้นเมื่อกินอาหารเนื้อสัตว์มากจึงย่อยสลายเนื้อสัตว์ได้ยาก และเนื้อสัตว์เหล่านั้นนอกจากจะมีสารพิษแล้วเมื่อเน่าเสียได้เร็วแต่ขับถ่ายออกผ่านลำไส้มนุษย์ได้ช้า คนที่กินเนื้อสัตว์มากจึงมักเป็นโรคท้องผูกเพราะเนื้อสัตว์ไม่ค่อยมีกากไฟเบอร์ทำให้การเคลื่อนไหวทางเดินอาหารเป็นไปอย่างช้ามาก เกิดความหมักหมมและก่อโรคมากในลำไส้ และก่อโรคอื่นๆตามมาในที่สุด

วารสารการแพทย์อเมริกัน (The Journal of The American Medical Association) ได้เคยรายงานว่า “การกินอาหารมังสวิรัติสามารถป้องกันโรคหัวใจได้ถึง 90% – 97%”

อีกทั้งยังปรากฏรายงานวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานอาหารในพืชและผักที่มีไฟเบอร์สูงและความเสี่ยงของมะเร็งในลำไส้ใหญ่และเต้านมโดย โดย Eur J Cancer Prev ปี พ.ศ. 2541 พบว่าพบว่าการรับประทานผักผลไม้ สามาถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอีกมากมาย รวมถึงผักและผลไม้ที่มีสารกากใยมากจะช่วยการลดมะเร็งลำไส้ใหญ่

นอกจากนี้ในทางการแพทย์ยังพบอีกด้วยว่าการกินเนื้อสัตว์มากจะสั่งสมก๊าซไนโตรเจนในรูปของกรดยูริคมากเกินไป ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคไต เมื่อไตไม่สามารถกำจัดกรดยูริคออกจาร่างกายตามข้อต่อ หรือตามกล้ามเนื้อ ก็จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามข้อ เป็นโรคเก๊าท์ และโรคไขข้ออักเสบ ยังไม่นับอีกหลายโรคที่มีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับกินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันอิ่มตัวอยู่มาก เช่น โรคไขมันคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคนิ่วในไต โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก, โรคเบาหวาน, โรคแผลในกระเพาะอาหาร, โรคนิ่วในถุงน้ำดี, โรคข้ออักเสบ, โรคเหงือก โรคสิว, โรคมะเร็งตับอ่อน, โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร, โรคกระดูกพรุน, โรคมะเร็งรังไข่, โรคริดสีดวง, โรคอ้วน, โรคหืดหอบ ฯลฯ

ชาวฮันซ่า คือกลุ่มชนที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย และปากีสถาน เผ่าโอโตมี่ (ชนพื้นเมืองของเม็กซิโก) และชนพื้นเมืองในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา มีสุขภาพแข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บน้อย และโดยเฉลี่ยจะมีอายุยืนถึง 110 ปี หรือมากกว่านั้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผู้กินอาหารมังสวิรัติ

ในขณะที่ชาวเอสกิโม ซึ่งกินเนื้อสัตว์และไขมันเป็นประจำ จะแก่เร็ว และมีอายุโดยเฉลี่ย 27 ปีครึ่ง และในบรรดาชาวเคอกิส คือชนชาติพเนจรในแถวตะวันออกของรัสเซีย ซึ่งกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก จะมีน้อยคนมากที่มีอายุเกิน 40 ปี

นักวิทยาศาสตร์สำคัญในโลกหลายคนก็รับประทานอาหารมังสวิรัติ เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, เบนจามิน แฟรงคลิน, ชาร์ลส์ ดาร์วิน, เลโอนาร์โด ดาวินชี, ปาสคาล, เซอร์ ไอแซค นิวตัน, ส่วนนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงและรับประทานอาหารมังสวิรัติ ก็คือ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่อีกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ ได้เคยพูดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารมังสวิรัติว่า

“ไม่มีอะไรที่จะได้ทำให้สุขภาพมนุษย์ได้รับประโยชน์และเพิ่มโอกาสสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกได้มากเท่ากับการวิวัฒนาการของการทานอาหารมังสิวิรัติ”

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นักวิทยาศาตร์ไทยผู้คิดค้นและออกแบบระบบการลงจอดยานอวกาศไว้กิ้ง 1 ไวกิ้ง 2 และไวกิ้ง 3 ลงบนพื้นผิวดาวอังคารให้กับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซ่า เป็นคนแรกและครั้งแรกของโลกโดยการหยั่งรู้จากการนั่งสมาธิ ได้ให้สัมภาษณ์ปรากฏในหนังสือ “แท้จริงแล้วมนุษย์เป็นสัตว์กินพืช” เขียนโดย คุณชนาธิป วงศ์ธิกุล และบรรณาธิการโดย คุณศิริวรรณ เต็มผาติ ความบางตอนจากการสัมภาษณ์น่าสนใจมีดังนี้:

“เราปลูกผักเยอะๆ มันก็ดูดเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมันก็ผลิตคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารให้กับเรา และเราก็รับประทานเข้าไป เพราะฉะนั้นเราทานผัก เราลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ถ้าเราทานเนื้อสัตว์ เราต้องเลี้ยงสัตว์ ซึ่งไม่เหมือนกันกับพืช สัตว์ไม่ได้เอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป แต่กลับเอาออกซิเจนไปใช้ แล้วคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แถมยังผลิตก๊าซมีเทนเยอะมาก ซึ่งไม่ได้ช่วยโลกของเราเลย แต่ทานผัก เราปลูกผักเยอๆ โลกก็เย็นลงด้วยครับ…

สัตว์ตอนโดนฆ่านี่ โอ้โฮ.. มันจะกลัว มันจะมีอารมณ์มันจะหลั่งสารเคมีต่างๆหลายอย่างซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพของเรานะครับ แล้วก็ไม่ได้ช่วยให้เกิดการยกระดับจิตใจ แต่ผักจะไม่มีปฏิกิริยาเหล่านี้ ตรงกันข้ามมันกลับมีความสุขครับ เพราะนี่คือวิธีการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติของมัน คือการที่เราไปเด็ดไปกินแล้วเราก็จะทิ้งเม็ด เม็ดก็คือเมล็ดที่งอกขึ้นใหม่ได้ นี่เป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ ต้นไม้ยินดีมากเลย เพราะเป็นวิธีการขยายพันธุ์ของเขา…ร่างกายของเราเจริญเติบโตก็ด้วยผัก ผักมันกลายเป็นเนื้อของเรา มันกลายเป็นอวัยวะของเรา มันได้กลายเป็นส่วนที่เป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นพวกผักมันจะรู้สึกดี ผักไม่มีปฏิกิริยาเชิงลบ ผักไม่รู้สึกว่ามันโดนฆ่าหรืออะไรทั้งสิ้น มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา ซึ่งมันเองก็มีความสุข ไม่เหมือนกับทานเนื้อสัตว์ ซึ่งจะมีปฏิกิริยาในทางลบแล้วก็สร้างความเสียหายให้กับเรา”

จากข้อมูลที่ได้รวบรวมมาข้างต้น มนุษย์จึงควรเป็นสัตว์กินพืช และมนุษย์ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ !!!!

โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000131186

Share